มะพร้าวผลแก่
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิต มะพร้าวผลแก่ ปี 2568 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ พฤศจิกายน 2567) ซึ่งคาดว่า มีเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศ 0.828 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีเนื้อที่ 0.821 ล้านไร่ (เพิ่มขึ้น 7,368 ไร่ หรือร้อยละ 0.90) ปริมาณผลผลิตทั้งปี 633.25 ล้านผล เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 600.52 ล้านผล (เพิ่มขึ้น 32.731 ล้านผล หรือร้อยละ 5.45) เนื่องจากในช่วงปลายฤดูฝนของปี 2567 มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น และหากในปี 2568 สภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการของมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวมีการสะสมอาหารและต้นมะพร้าวสมบูรณ์ขึ้น จะส่งผลให้การออกดอกและการติดผลต่อทะลายเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากคาดว่า ต้นมะพร้าวจะยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2567 จากการระบาดของหนอนและแมลงศัตรูมะพร้าว เช่น แมลงดำหนาม หนอนหัวดำ และด้วงแรด ทำให้ในปี 2568 ต้นมะพร้าวอาจไม่สมบูรณ์เต็มที่ การติดจั่นและจำนวนผลมะพร้าวต่อทะลายในช่วงปี 2567 ที่จะให้ผลผลิตได้ในปี 2568 ลดลง โดยเฉพาะในจังหวัดประจวบคีรีขัน
สายพันธุ์มะพร้าว ที่เกษตรกรนิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์สวีลูกผสม 1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 2 ผลผลิตมะพร้าวแก่ ส่วนใหญ่ถูกใช้ทำน้ำตาล มะพร้าวกะทิ เป็นต้น มะพร้าวผลแห้งคละ 100 ผล แปลงเป็นเนื้อมะพร้าวแห้งได้ 25 กิโลกรัม หรือมะพร้าวผลแห้งคละ 100 กิโลกรัม แปลงเป็นนํ้ามันมะพร้าวดิบได้ 12.83 กิโลกรัม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในประเทศปี 2562 ว่า มีปริมาณ 874,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.51 แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมมะพร้าวในประเทศ ที่มีความต้องการใช้มะพร้าวผลแก่ถึง 1.04 ล้านตัน