มะรุม
มะรุม มีประโยชน์มากมาย ใช้บริโภคได้ตั้งแต่ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน และฝักแก่ หรือแม้แต่เมล็ดยังสามารถนำไปสกัดน้ำมันได้อีกด้วย นอกจากนี้ มะรุมยังปลูกง่าย เติบโตเร็ว และทนต่อโรค แม้แต่ปลูกในกระถางก็ให้ผลดีและอยู่ได้หลายปี วิธีปลูก คัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ และแก่เต็มที่ หากหาพันธุ์อินเดียได้จะยิ่งดี เพาะเมล็ดที่เตรียมไว้ลงในถุงเพาะชำสีดำ มีวัสดุปลูกที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี หลังเมล็ดงอกประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าจะเลื้อยและทอดยอดสูง หรือยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ให้ใช้มีดคมๆ และสะอาดตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือเพียง 12 เซนติเมตร ผูกกับหลักไม้ขนาดพอเหมาะ ให้ต้นตั้งตรง อีกไม่นานต้นกล้าจะแตกยอดใหม่ออกมาด้านข้างใต้รอยตัดลงมาเล็กน้อย บำรุงต่อไปอีก 2-3 เดือน ต้นกล้าจะแข็งแรง สมบูรณ์ ลำต้นมีขนาดใกล้เคียงกับแท่งดินสอดำ พร้อมนำลงปลูกในกระถางมังกร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-18 นิ้ว หรือใหญ่กว่าก็ได้ ใส่ดินผสมประกอบด้วยดินร่วนสะอาด และกาบมะพร้าวสับขนาดเล็ก หรือแกลบดิบอย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 3 : 1 พร้อมเติมปุ๋ยคอกเก่าเล็กน้อย คลุกเคล้าจนเข้ากันดีแล้วใส่เกือบเต็มกระถาง ฉีกถุงเพาะชำต้นกล้าที่เตรียมไว้ ระวังอย่าให้ระบบรากฉีก
ฤดูร้อนเมืองไทย ที่ร้อนแบบได้ใจ คนเรามักหงุดหงิดง่าย เวลาจะหาอะไรมากินสมองมันก็มึนตื้อ คิดไม่ค่อยออก บอกไม่ค่อยได้ จนไม่อยากคิด ไม่อยากหาอะไรมากิน บางวันเจอฝนตก ค่อยลดร้อนลงหน่อย วันส่วนใหญ่จะร้อน ร้อนรุมรุ่มร้อนไม่ใช่แต่กาย ใจก็พลอยร้อนรุ่มตาม อาหารการกินมีให้หาเยอะแยะ แต่เพราะมันร้อน ทำให้มองหาอะไรไม่เจอ นึกไม่ออกบอกไม่ถูก ยามตะวันรอนอ่อนแสง เริ่มแลเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีทรงพุ่มต้นสวยโปร่ง ใบพลิ้วสายลมอ่อนช้อยงดงาม ยอดอ่อนเป็นช่อสวยหวานอวบอิ่ม ฝักกลมยาวตรง ห้อยแกว่งไกว เป็นผักพื้นบ้านที่ยังหลุดรอดยืดอายุ ผ่านมาตั้งแต่ปลายหนาวเป็นที่น่าจดจำ พบเห็นแล้วหายร้อน น่ากินจังเลย “มะรุม” ผักประเภทไม้ยืนต้นสูง ทรงพุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ เป็นพืชพื้นบ้านที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไป เมื่อก่อนการจะปลูกต้นมะรุมไว้ที่บ้าน โบราณเขาถือ เชื่อว่าถ้าบ้านใครปลูกไว้ จะก่อปัญหาวุ่นวาย เกิดความยุ่งยากลำบาก มีภัยคุกคามตามมารุมมาตุ้มครอบครัว ซึ่งน่าจะเป็นกุศโลบายคนเก่าแก่ ที่แฝงซ่อนคำบอกเตือนถึงอันตรายของต้นมะรุม เตือนคนในบ้าน ที่ชอบปีนป่ายขึ้นต้นมะรุม มักจะเกิดอุบัติเหตุ ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งต้นมะรุมเป็นไม้ที่กิ่งเปราะหัก
ตามประสาชาวบ้านอย่างเราๆ ไม่ได้เห่อตามกระแสสังคม ในการเสาะหาของกินเพื่อสุขภาพ แต่เป็นอุปนิสัยพื้นเพเดิมของเราเองที่หาอะไรกินแบบบ้านๆ กระแสสังคมตามมาวิจัย ค้นคว้า และจัดให้อาหารพื้นบ้านว่า เป็นกลุ่มอาหารสุขภาพ เผยแพร่แนะนำให้คนทั่วไปรู้ถึงประโยชน์ และคุณค่าของอาหารพื้นบ้านของเรา จนเกิดเป็นกระแสนิยมขึ้นมา โดยเฉพาะอาหารที่มาจากพืช ที่นิยมเรียกกันว่าผัก ที่มีมากกว่า 200 ชนิด ที่เป็นผักพื้นบ้าน นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเคียงคู่กับอาหารหลัก คือ ข้าว บ้างเรียกว่า “กับข้าว” ถ้าจัดการปรุงแต่ง มีกับข้าวหลายๆ อย่าง ตั้งวงเพื่อร่วมกินกัน เรียก “สำรับกับข้าว” เช่นบรรยากาศเวลานี้ “แกงส้มมะรุม” เป็นหนึ่งในสำรับกับข้าวที่นิยมกันทั่วทุกภาคเลยเชียว “มะรุม” เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไป การปลูกมะรุมไว้ที่บ้าน เมื่อก่อนโบราณเขาถือ เชื่อว่าถ้าปลูกจะเกิดปัญหาวุ่นวาย ความยุ่งยากมารุมมาตุ้ม จึงนำไปปลูกไว้นอกรั้ว สมัยนี้เห็นมีปลูกกันในบ้านเยอะแยะ เป็นไม้ที่มีเสน่ห์มาก เพราะคนทั่วไปรู้คุณค่า คุณประโยชน์ที่มีมากมายในมะรุม บ้านเราตอนนี้ มีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่ชาวบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของพืชผ
“มะรุม” เป็นพืชผักพื้นบ้านที่ปลูกกันแพร่หลายทั่วไป การปลูกมะรุมไว้ที่บ้านเมื่อก่อนโบราณเขาถือ เชื่อว่าถ้าปลูกจะเกิดปัญหาวุ่นวาย ความยุ่งยากมารุมมาตุ้ม จึงนำไปปลูกไว้ริมรั้ว สมัยนี้เห็นมีปลูกกันในบ้านเยอะแยะ เป็นไม้ที่มีเสน่ห์มาก เพราะคนทั่วไปรู้คุณค่า คุณประโยชน์ที่มีมากมายในมะรุม บ้านเราตอนนี้ มีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่ชาวบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของพืชผักต่างๆ มาอย่างแท้จริง มีการใช้ประโยชน์จากผักมากมายหลายมิติทั้งทางนิเวศและวัฒนธรรม ด้านอาหาร ด้านยารักษาโรค ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านประเพณีพิธีกรรมความเชื่อและด้านเศรษฐกิจ สิ่งแรกที่มนุษย์ให้ความสำคัญคงหนีไม่พ้นเรื่อง อาหารการกิน เรื่องกินเรื่องใหญ่ มนุษย์อยู่รอดทุกวันนี้เจริญเติบใหญ่ก็เพราะกินอาหาร พืชผักถูกใช้ปรุงเป็นอาหารหรือกินสดๆ เมื่อกินเข้าไปในร่างกายก็จะเกิดประโยชน์ทางโภชนาการเป็นยาสมุนไพร ให้ใยอาหาร เป็นต้น ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นผัก ตามวัฒนธรรมการบริโภคของท้องถิ่นมีอยู่ในแหล่งธรรมชาติป่าเขา ริมน้ำ ริมห้วย หนอง คลอง บึง ในสวนนาไร่ หรือนำมาปลูกไว้ใกล้บ้านและ
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมสนใจอยากปลูกมะรุมไว้บริโภคในครอบครัว แต่ผมไม่มีพื้นที่มากพอ จึงอยากทราบว่า ผมจะปลูกนกระถางจะได้หรือไม่ ถ้าหากปลูกได้ต้องปฏิบัติอย่างไร คุณหมอเกษตรโปรดอธิบายให้เข้าใจด้วย แล้วผมจะติดตามอ่านในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านต่อไปครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง วิรัตน์ วีระโชติ นนทบุรี ตอบ คุณวิรัตน์ วีระโชติ มะรุม มีประโยชน์มากมาย ใช้บริโภคได้ตั้งแต่ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน และฝักแก่ หรือแม้แต่เมล็ดยังสามารถนำไปสกัดน้ำมันได้อีกด้วย นอกจากนี้ มะรุมยังปลูกง่าย เติบโตเร็ว และทนต่อโรค แม้แต่ปลูกในกระถางก็ให้ผลดีและอยู่ได้หลายปี วิธีปลูก คัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ และแก่เต็มที่ หากหาพันธุ์อินเดียจะยิ่งดี เพาะเมล็ดที่เตรียมไว้ลงในถุงเพาะชำ สีดำ มีวัสดุปลูกที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี หลังเมล็ดงอกประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าจะเลื้อยและทอดยอดสูง หรือยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ให้ใช้มีดคมและสะอาดตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือเพียง 12 เซนติเมตร ผูกกับหลักไม้ขนาดพอเหมาะ ให้ต้นตั้งตรง อีกไม่นานต้นกล้าจะแตกยอดใหม่ออกมาด้านข้างใต้รอยตัดลงมาเล็กน้อย บำรุงต่อไปอีก 2-3 เดือน ต้นกล้าจะแข็งแรง สมบูรณ์ ลำต้นม
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้บริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่น ต้นมะรุม พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ทางอีสานเรียก ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม ภาคเหนือเรียก มะค้อมก้อน ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรี เรียก กาแน้งเดิง ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอน เรียก ผักเนื้อไก่ คนเฒ่าคนแก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาว เพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อย เพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดทั่วไป คนที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอก นำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแกล้มลาบ ก้อย แจ่ว ได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้ ต่างประเทศใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสาน จังหวัดสกลนคร ใช้ใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุน