มะหลอด
เอ่ยถึงผลไม้พื้นบ้านเมื่อไร มักจะอยู่ในความสนใจของเพื่อนพ้องพี่น้องคนบ้านเรา ทั้งบ้านฉันบ้านเอง มักคิดถึงสีสันและรสชาติที่บาดใจ แม้ว่าผลไม้บางอย่างได้หายไปจากบ้านเรา แต่ภาพจำยังลอยวนเวียนมิได้ลืมเลือน ผลไม้บางอย่างที่เย้ายวน ชวนให้เสาะหามาปลูกไว้ เพื่อให้ภาพเก่าก่อนย้อนกลับมาสู่อ้อมฝัน ดังเช่นผลไม้ชนิดนี้ ที่ยังพอจะเสาะหามาได้บ้าง เขาคือ “มะหลอด” ผลไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทย มะหลอด มีหลายคนเห็นรูปแล้ว นึกว่าเป็นผลไม้ต่างถิ่น ผลไม้นำเข้า หรืออาจจะไม่คุ้นตา จะว่าเชอร์รี่ ก็ไม่ใช่ จะว่ามะเขือเทศราชินี ก็ไม่ใช่อีก ที่จริงแล้ว มะหลอดเป็นผลไม้ไทยเราเอง ผลไม้ป่าเขตร้อนแบบเอเชีย แพร่กระจายอยู่ทั่วทวีปเอเชีย ไทย ลาว เขมร เวียดนาม เมียนมา มาเลเซีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ แพร่ไปถึงยุโรป อเมริกา เป็นผลไม้ที่ปรับตัวกับท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีมาก ทนร้อน ทนแล้ง ทนฝน ทนหนาว เชื่อได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีสมรรถนะ ในการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาก มะหลอดเป็นไม้ยืนต้นที่มีลำต้นเหนียวมาก ทอดเลื้อยไปตามรั้ว ตามนั่งร้าน ตามต้นไม้ใหญ่ ขึ้นซุ้มนั่งเล่น เรียกว่าเป็นไม้เถาก็ว่าได้ ดังที่บอกมาข้างต้นว่า มะห
บักหลอด หมากหลอด บะหลอด ฯลฯ เป็นชื่อเรียกผลไม้พื้นบ้านชนิดหนึ่งในแต่ละท้องถิ่น ที่เมื่อใครได้ประสบพบเห็นก็ต้องเกิดอาการน้ำลายไหล เปรี้ยวปากได้เลยทีเดียว หากคนที่เคยสัมผัสลิ้มลองด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง จะเห็นได้จากสังคมสมัยนี้เป็นสังคมของโซเชียลมีเดียที่มีการส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วทันใจ เพียงแค่การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่เป็นช่วงหน้าฤดูกาลของผลไม้ชนิดนี้ผลิดอกออกผลจนสุกงอมเต็มต้นลงบนโซเชียลมีเดีย ก็จะเกิดความรู้สึกโหยหา คิดถึงวันวานกับผลไม้ชนิดนี้ได้อย่างมากเลยทีเดียว ยิ่งคนที่ต้องออกไปทำงานต่างจังหวัดด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าจะมีปฏิกิริยาอาการอย่างไร จะหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไปก็คงไม่ได้ เพราะเป็นผลไม้เฉพาะถิ่นที่เกิดตามสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมเท่านั้น บักหลอด มีลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยเกาะเกี่ยวเรียงตัวยาวไปตามกระแสโดยรอบตามความเหมาะสมของพื้นที่ ก่อเป็นทรงพุ่มสูง 3-6 เมตร พบตามพื้นที่ที่มีภูเขาล้อมรอบ บริเวณที่มีความชื้นสูง แถบทางภาคอีสานตอนบนและภาคเหนือ ซึ่งจังหวัดเลยก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่พบบักหลอดเกิดขึ้น ทั้งการเกิดเองตามธรรมชาติและการปลูกเพื่อการบริโภคในแต่ละคร