มะเขือเสียบยอด
พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ดีนั้น ปัจจัยแรกขึ้นอยู่กับ “เมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์” ที่นำมาปลูก หากเลือกใช้เมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์คุณภาพดี มีการบำรุงดิน ดูแลให้น้ำ ใส่ปุ๋ยอย่างเหมาะสม การเพาะปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จ ก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม “โรคเหี่ยวเขียว หรือ โรคเหี่ยว” นับเป็นโรคพืชสำคัญที่เป็นภัยคุกคามสร้างความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจมากกว่า 200 ชนิด เช่น มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว พริก มันฝรั่ง ขิง ขมิ้น ไพล ปทุมา ฯลฯ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย ต้นเหตุโรคเหี่ยวอาศัยอยู่ในดินได้นาน เข้าทำลายพืชทางราก ตามรอยแผลที่เกิดจากการทำลายของแมลง ไส้เดือนฝอย รอยฉีกขาดของรากหรือแผลที่เกิดในธรรมชาติ สามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำได้ดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก จึงพบการแพร่ระบาดของโรคเหี่ยวเขียวรุนแรงและรวดเร็ว เชื้อแบคทีเรียต้นเหตุโรคเหี่ยวเขียวอาศัยแอบแฝงอยู่ในหัวพันธุ์ เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมและปริมาณของเชื้อโรคมากพอ จึงแสดงอาการของโรคออกมา เมื่อนำหัวพันธุ์ไปปลูกต่อ เสี่ยงเกิดโรคระบาดซ้ำได้อีก ดังนั้น ปัญหาโรคเหี่ยวเขียวจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการลงทุนปลูกพืชเชิงการค้า เพราะ