มันแกว
ว่าที่ร้อยตรีสันธาน แก้วสุวรรณ หรือ ครูเอ ข้าราชการหนุ่ม และเกษตรกรผู้ปลูกมันแกวในพื้นที่บ้านน้อยลำภู ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ที่ใช้ช่วงเวลาว่างของการทำงานประจำ ผันตัวเป็นเกษตรกรในการสานต่อธุรกิจของครอบครัว หลังครอบครัวประสบปัญหาขาดทุนจากมันสำปะหลังและอ้อยที่ปลูกไว้ ก่อนจะมองเห็นโอกาสและช่องทางการปลูกมันแกวจากพื้นที่ใกล้เคียงและชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจการปลูกมันแกวส่งขาย ครูเอ เล่าว่า การปลูกมันแกว เกิดขึ้นเมื่อปี 2559 ในขณะนั้นทางครอบครัวปลูกมันสำปะหลังกับอ้อย แต่ต้องเจอกับปัญหาราคาขาดทุน จึงต้องหาทางออกที่จะประคับประคองให้ธุรกิจเดินหน้าและอยู่รอดได้ ก่อนจะเห็นโอกาสใหม่ๆ จากการปลูกมันแกวในพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย จากนั้นจึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลอย่างจริงจัง อีกทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันนั้นปลูกมันแกวแบบระยะสั้นอยู่แล้ว ในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม จนในปี 2560 หลังครูเอเรียนจบ จึงลงมือทดลองปลูกมาเรื่อยๆ และมองหาตลาดในการส่งออกผลผลิต จนสามารถกลายเป็นธุรกิจภายในครอบครัวมาจนถึงปัจจุบัน “หลัง
มันแกว (yam bean หรือ jicama) เป็นพืชผักตระกูลถั่ว ประเภทรากสะสมอาหาร มีถิ่นกำเนิดจาก Mexican peninsula มันแกว เป็นพืชอาหารที่สำคัญของผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แถบแคริบเบียน และหลายพื้นที่ของทวีปเอเชียมาเป็นเวลาหลายพันปี หัวมันแกวสดมีความฉ่ำ กรอบ สดชื่นเหมือนเนื้อผลไม้ ทั้งช่วยดับร้อนในร่างกายได้เป็นอย่างดี เพราะในเนื้อมันแกว 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำถึง 90.5 กรัม สำหรับในประเทศไทย มันแกว เป็นพืชที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับหัวแก่นตะวัน ตลอดจนรูปแบบการนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคยังมีน้อย ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่รู้จักบริโภคหัวมันแกวแบบสดมากกว่า คือนำมาประกอบเป็นอาหาร และนิยมบริโภคหัวมันแกวสดเช่นเดียวกับการบริโภคผลไม้อื่นๆ โดยหัวมันแกวประกอบไปด้วย ความชื้น 82.38% โปรตีน 1.47% ไขมัน 0.09% แป้ง 9.72% น้ำตาล 2.17% วิตามิน บี1 0.5 มิลลิกรัม วิตามิน บี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 1.13 มิลลิกรัม (ต่อ 100 กรัม) จากประโยชน์ของมันแกวจะเห็นได้ว่า มันแกว เป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ ในประเทศไทยการบริโภคมันแกวในลักษณะของเครื่องดื่มยังน้อย
เมื่อวันที่ 2 ม.ค. ที่จังหวัดนครพนม บรรยากาศการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ยังคงคึกคัก มีประชาชนและนักท่องเที่ยว ออกเดินทางไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงการจับจ่ายซื้อหาของใช้และอาหารรับประทาน ทำให้พ่อค้าแม่ค้าพลอยมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะพ่อค้า แม่ค้าที่ตั้งร้านค้าอยู่ตามริมทาง เส้นทางที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต้องเดินทางผ่าน เพื่อไปกราบไหว้องค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่ประชาชนสองฝั่งโขงให้ความเคารพศรัทธามานานนับหลายพันปี นางสาวศรินญา วงศ์อุดดี แม่ค้าขายปลาเผาริมทาง เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้มีประชาชนและนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ และมักแวะซื้อติดมือกลับไปทานที่บ้านหรือตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ไป โดยปกติตนเองจะเตรียมปลานิล ขนาดประมาณกิโลครึ่งมาย่างขายให้ลูกค้าที่ผ่านไปมาพร้อมกับน้ำจิ้ม 3 อย่าง รวมกับขนมจีนและผักที่เป็นเครื่องเคียง ประมาณวันละ 50 – 100 กิโลกรัม แต่ช่วงนี้ขายดีขึ้นจนต้องเพิ่มปริมาณปลานิลอีกเป็นวันละเกือบ 300 กิโลกรัมเลยทีเดียว ส่วนเพื่อนพ่อค้า แม่ค้าที่นำเอาสินค้าเกษตรอย่างมันแกวหวานมาจำหน่าย ก็ขายดีไม่แพ้กัน ขนมาทีเต็มคัน
ที่ จ.นครพนม บรรยากาศช่วงวันหยุดวันพ่อแห่งชาติ พบว่าที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ซึ่งเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนั้น ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาคึกคักไปด้วยประชาชน นักท่องเที่ยว ต่างพาครอบครัวมาเที่ยวพักผ่อน ทำบุญ กราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุพนม เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องจากเป็นสถานที่สำคัญ ในช่วงวันสำคัญต่างๆ ประชาชน นักท่องเที่ยว จะถือโอกาสพาครอบครัวมาท่องเที่ยวทำบุญ ส่งผลดี ต่อเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะเดียวกันยังส่งผลดีกับเกษตรกรริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มีอาชีพปลูกมันแกวหวานขาย เนื่องจากในช่วงนี้เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมาวางขายตามจุดขายสองฟากริมถนน ทำให้ในช่วงนี้ มีประชาชน นักท่องเที่ยว แวะซื้อมันแกวหวานไปรับประทาน เป็นของฝากขึ้นชื่อ เพราะเป็นมันแกวหวาน ที่รสชาติอร่อย กรอบหวาน ที่เดียวในภาคอีสาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรวันละกว่า 10,000 บาท ส่วนมันแกวหวาน ถือเป็นสินค้าโอท็อปขึ้นชื่อ ของอำเภอธาตุพนม จ.นครพนม ที่สร้างเงินหมุนเวียนสะพัดปีละกว่า 100 ล้านบาท โดยในช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ จะมีประชาชน มาท่อง