มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพมาแรง ทั่วโลกต่างต้องการบริโภคพืชผักผลไม้อินทรีย์ที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทั้งตัวผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สินค้าพืชผักผลไม้อินทรีย์สามารถขายได้ราคาดีกว่าพืชที่ปลูกด้วยเคมี ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงหันมาสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชผักผลไม้อินทรีย์กันมากขึ้น หัวใจการผลิตผักอินทรีย์ อยู่ที่การจัดการธาตุอาหารและศัตรูพืชที่เหมาะสม 1.การจัดการธาตุอาหาร แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกผักกวางตุ้งและหอมแบ่ง หากมีอินทรียวัตถุในดินน้อยกว่า 1.5% ต้องใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพอัตรา 2.8 ตัน ต่อไร่ ส่วนแปลงปลูกกะหล่ำปลี คะน้า และกวางตุ้ง ที่มีอินทรียวัตถุในดินต่ำ ควรทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศในอัตรา 2 ตัน ต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังย้ายปลูก 10 และ 30 วัน 2.การจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมปุ๋ยหมักคลุกดิน หรือรองก้นหลุมพร้อมปลูก เช่น – โรคเน่า โคนเน่า ในกะหล่ำปลี กวางตุ้ง และคะน้า สามารถควบคุมได้โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา รองก้นหลุมในอัตรา 10 กรัม ต่อวัน – โรครากเน่า โคนเน่า ของหอมแบ่ง สามารถดูแลป้องกัน
“นราพัฒน์” กระทุ้งเกษตรกร-ล้งผลไม้ภาคตะวันออก เร่งยื่นขอรับรองมาตรฐาน GAP และ GMP สู้ศึกมาตรการคุมเข้มนำเข้าผลไม้จากไทยของ”จีน” ด้านสวพ.6 มั่นใจส่งออกลำไยนอกฤดูปีนี้ฉลุย เกษตรกรรายย่อยตื่นตัวเข้าสู่มาตรฐาน นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน”รวมพลังชาวสวนภาคตะวันออกเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานการผลิตพืช GAP” ณ ลานขนถ่ายสินค้า องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรีว่า ปัจจุบันภาคตะวันออกมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญกับระบบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชGAP เป็นจำนวนมาก นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตร เน้นการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน สร้างการชื่อมโยงผลผลิตที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานจากกิจกรรมแปลงใหญ่ เกษตรทฤษฎีใหม่ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามออกมาตรการแก้ปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำและปริมาณผลผลิตล้นตลาดมาอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาระบบการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพ จนทำให้ผลไม้ไทยเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และลำไยซึ่งภาคตะวันออกเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของประเทศแนวทาง
“คุณออน” หรือ คุณนวลลออ เทอดเกียรติกุล อดีตมนุษย์เงินเดือน ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อก้าวเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมตามความใฝ่ฝัน แม้เธอไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องการทำเกษตรมาก่อน แต่เธอตั้งใจเรียนรู้การทำเกษตรจากหนังสือตำรา สืบค้นข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ต และเข้าร่วมกิจกรรมด้านเกษตรต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จัดการสวนมะพร้าวด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ คุณออน หรือ คุณนวลลออ เทอดเกียรติกุล ในฐานะผู้ก่อตั้งแบรนด์ “Aromatic Farm” ผู้ผลิตมะพร้าวน้ำหอมปลอดสารพิษ ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเกษตรแบบครบวงจร บริหารจัดการสวนมะพร้าวด้วยผังการปลูกอัจฉริยะจัดสรรพื้นที่ 24 แปลง รวมเป็น 469 ต้น โดยแบ่งเป็น Zoning สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง เพื่อความสะดวกในการดูแลจัดการ ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตแต่ละต้น ในแต่ละแปลง หากพบปัญหาสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ง่าย จุดเด่นที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครของสวนมะพร้าวน้ำหอม “Aromatic Farm” ได้แก่ 1. ติดเครื่องหมาย QR CODE บนมะพร้าวทุกต้นในสวน เก็บข้อมูลมะพร้าวทุกต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลต้นมะพร้าวอย่างเหมาะสม 2. ทำวิจัย ร่วมกับ
เกษตรกร 70 ราย เข้าสู่มาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ จำหน่ายผลผลิต 4,000-5,000 กิโลกรัม/เดือน “ปั้นดินดำ น้ำชุ่ม นนทบุรีเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์” ดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชูผัก-ผลไม้อินทรีย์ ที่เป็นมิตรต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่เกษตรกรผู้ผ่านการอบรม ภายใต้ โครงการ “การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่เกษตรกรผู้ผ่านการอบรม โครงการ “การพัฒนาการผลิตและการตลาดพืชปลอดภัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”ของสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี โดยการจ้างที่ปรึกษา (บริษัท ไบโอ-อะกริ จำกัด) จัดทำและดำเนินโครงการติดตามการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรจากการผลิตสู่การตลาด ด้วยนวัตกรรมระบบ ICM สำหรับการผลิตพืชอินทรีย์ อย่างต่อเนื่องให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 100 ราย ในพื้นที่นำร่อง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ และตำบลราษฎรนิยม อำเภอไทรน้อย โครงการนี้สามารถสร้างเกษตรกร 70 ราย ที่มีความพร้อมในการยื่นขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) แปลงผลิต และส่งมอบผลผลิตให้ก
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรได้มีการจัดเวทีแนวทางการจัดทำระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของไทย (Thai PGS) เพื่อทำความเข้าใจสร้างกลไก กระบวนการในการขับเคลื่อนการรับรองเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นระบบที่เกษตรกรรวมกันเป็นเครือข่าย ติดตามตรวจสอบซึ่งกันและกันเอง โดยสภาเกษตรกรฯเป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ในการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนกำกับให้ข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ ระบบนี้จะทำให้เกษตรกรทั้งองค์กรยกระดับการผลิตตัวเองขึ้นมา และมีการช่วยกันดูแล สอดส่องสมาชิกในองค์กรของตนเอง ทำการผลิตการเกษตรให้อยู่ในมาตรฐานที่ตรงกัน หากเกษตรกรรายใดไม่ทำตามมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ก็จะถูกตำหนิหรือแม้กระทั่งถูกไล่ออกจากกลุ่มได้ โดยคาดหวังว่าระบบเกษตรอินทรีย์ Thai PGS นี้จะสามารถเป็นระบบหลักอีกหนึ่งระบบในประเทศควบคู่กับระบบเกษตรอินทรีย์ของราชการและมกอช. ด้านนายธีระ วงษ์เจริญ ประธานคณะกรรมการด้านเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ PGS เป็นการรับรองโดยชุมชนทำหน้าที่รับรองกันเอง กำหนดกฎ กติกาของตัวเองไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐานอื่นที่มีอยู