มีด
ฝิ่น บางถิ่นเรียกว่า “แม่ทองดำ” ประเทศไทยมีถิ่นปลูกที่สามเหลี่ยมทองคำ เขตจังหวัดเชียงราย บริเวณติดต่อกับพม่าและลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2520 ย้อนขึ้นไป ชาวเขาเผ่าต่างๆ นิยมปลูกฝิ่นกันเป็นล่ำเป็นสัน เพราะเจ้าหน้าที่ยังเข้าไปดูแลไม่ทั่วถึง ประกอบกับชาวบ้านลำบากยากจน นอกจากทำไร่เลื่อนลอยแล้ว ก็ไม่มีรายได้อื่นๆ ที่จะดีไปกว่าปลูกฝิ่น นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ฝิ่น มี 23 สายพันธุ์ แยกย่อยๆ ได้ถึง 250 ชนิด แต่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่กรีดยางมาทำฝิ่นได้ นั่นคือ Papaver somniferum สรรพคุณของฝิ่นมีคุณอนันต์ คนโบราณใช้ทำยาแก้ท้องร่วง ยาแก้ปวด และส่วนประกอบยาอีกหลายชนิด แต่ก็มีโทษมหันต์ เมื่อผลิตเป็นยาเสพติด และยังเป็นสารตั้งต้นยาเสพติดชนิดร้ายแรงอื่นๆ ถ้าแม่ทองดำเป็นสาว ถ้าแต่งมาแล้วดูแลเธอในทางถูกต้อง เธอจะเป็นสุดยอดกุลสตรี ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ดูแลให้ดีเธอย่อมแสดงฤทธิ์เดชร้ายกาจ นำภัยมาสู่ครอบครัวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง กว่าจะได้แม่ทองดำมา ชาวบ้านต้องเก็บยางฝิ่นมาก่อน การเก็บ “ยางฝิ่น” ในประเทศไทยมีเครื่องมือกรีด เรียกว่า มีดกรีดฝิ่น เป็นมีดขนาดเล็ก งอเหมือนเคียวเกี่ยวข้าว แต่ขนาดเล็กกว่ามาก ด้านปลาย
วันที่ 6 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเลขที่ 31/5 หมู่ 5 ต.หางน้ำสาคร อ.มโนรมย์ บริเวณหน้าวัดหางน้ำสาคร ได้พบกับ ‘ช่างแกะ’ หรือนายบุญธรรม ภูมิเมือง วัย 63 ปี และลูกชาย ช่างตีมีด ที่นำวัสดุเหลือใช้มีทำเป็นมีดและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นอาชีพที่แทบจะสูญหายไปจากชุมชน นายบุญธรรม กล่าวว่า เดิมพ่อประกอบอาชีพตีมีดอยู่ที่ตลาดมโนรมย์ ตนได้ช่วยเป็นลูกมือมาโดยตลอด และเรียนรู้เทคนิคต่างๆ จากพ่อทีละเล็กละน้อย ต่อมามีคนชักชวนให้ย้ายมาทำที่ต.หางน้ำสาคร และเมื่อปี 2532 พ่อได้เสียชีวิตลง ขณะที่ตนอายุประมาณ 20 ปี จึงตัดสินใจสานต่ออาชีพตีมีดเป็นอาชีพหลัก จนถึงปัจจุบันโดย รับทำมีด เหรียญหวดหญ้า เคียว จอบ เสียม และรับซ่อมด้วย สำหรับเหล็กที่ใช้ ได้ไปรับซื้อจากร้านรับซื้อของเก่า เช่นแหนบรถยนต์ ผานเก่า เหล็กเหล่านี้ต้องเป็นเหล็กที่สามารถชุบแข็งได้ ตอนนี้มีลูกชายช่วยทำงาน และตั้งใจจะให้สานต่ออาชีพตีมีดนี้ สำหรับรายได้ตอนนี้ไม่แน่นอน บางช่วงที่ชาวนามีรายได้ดี ข้าวราคาดี ก็จะขายได้จำนวนมาก ส่วนงานซ่อมมีด จอบ เสียม ก็มีเรื่อยๆ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 500-600 บาท คิดราคาค่าซ่อมมีดเล่มละ 40 บาท ถ้าเป็นมีดตีใหม่ใส่ด้ามเ
คำว่า “ปง” ตรงกับภาษาท้องถิ่นว่า “ป๋ง” และตรงกับภาษาไทยว่า “ปลง” หมายถึง การปล่อยหรือเปลื้องให้หมด ตามตำนานพระธาตุดอยหยวก กล่าวไว้ว่า การสมาโทษของพญานาค ซึ่งได้ป๋งลงอุโมงค์รูถ้ำลึก (หลบซ่อนอยู่ในอุโมงค์) เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จพระธาตุดอยหยวก โดยพระองค์ก็ได้ให้อภัยโทษ และถือเอานิมิตที่พญานาคป๋งอุโมงค์ ใช้เป็นนามเมืองที่สร้างขึ้นมาว่า “เมืองป๋ง” ตามประวัติการปกครอง อำเภอปง มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2449 ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ต่อมา พ.ศ. 2456 ได้รับประกาศยกฐานะเป็นอำเภอ แต่โอนไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2463 เปลี่ยนชื่อจากอำเภอปง เป็นอำเภอบ้านม่วง ต่อมา พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทย ได้ปรับปรุงท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ อำเภอปง จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอบ้านม่วงมาเป็นอำเภอปงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับตำบลอันเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อีก 10 ปีต่อมา กระทรวงมหาดไทย ได้โอนพื้นที่เขตการปกครองของอำเภอปงจากจังหวัดน่าน กลับขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย และในที่สุด ปี พ.ศ. 2520 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนข
ความเงียบสงัดยามเช้าของหมู่บ้านชื่อบ้านใหม่ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็ยังเหมือนหมู่บ้านอื่นๆ ทั่วไป มีควันไฟของเตาถ่านลอยกรุ่นมากับสายลมบางเบา ผู้คนกำลังทำกับข้าวมื้อแรกของวัน กลิ่นของควันถ่านมันบ่งบอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมานับร้อยปี อากาศพอให้ผมได้สัมผัสความชุ่มชื่นที่ฝนตกเมื่อคืน สักอึดใจเสียงเหล็กกระทบกันดังกังวานไปทั่วบริเวณ คนจำนวน 4 คน ยืนกันคนละมุมทั้ง 4 ทิศ และยังมีคนกลางที่ถือคีบจับ ปลายคีบยาวจับยังแท่งเหล็กที่ร้อนฉาน ดุจดั่งก้อนไฟ วางบนทั่งเหล็กที่ดูไม่ใหญ่มากนัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางสัก 3 นิ้ว เห็นจะได้ เขากำลังทำอะไรกัน? ผมอยากจะพาท่านผู้อ่านได้มาสัมผัส หมู่บ้านชื่อบ้านใหม่ แห่งเมืองมะขามหวานเพชรบูรณ์ วิถีชีวิตคนตีเหล็ก ที่ยังเป็นตำนานอันมีชีวิต ที่หลายคนยังไม่เคยได้รู้ว่า การทำมีด ไม่ใช่มีเฉพาะอรัญญิกชาวกรุงเก่า อยุธยาเท่านั้น ยังมีหมู่บ้านแห่งนี้ด้วย ที่ยังคงสืบสานวิธีการผลิตมีดที่ต่อทอดมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น จวบจนปัจจุบันถือได้ว่าเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว วัฒนธรรมการตีมีดถูกถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องมากเกิน 200 ปี หากจะถามว่ารวมทั้งหม