มูซังคิง
ราว 3-4 ปีก่อน ทุเรียนมูซังคิง หรือ เหมาซานหวัง ขึ้นชื่อลือชาอย่างที่สุด เพราะความนิยมบริโภคของชาวเอเชีย ส่งผลให้ราคาทุเรียนสายพันธุ์นี้พุ่งขึ้นสูงไปถึง กิโลกรัมละ 500-1,000 บาท ด้วยตัวเลขราคาซื้อขายเช่นนี้ ทำให้ชาวไทยหลายคนที่มีพื้นที่ทำสวนและมีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงสามารถปลูกทุเรียนได้ โค่นพืชบางชนิดที่ไม่ทำกำไร หันมาปลูกทุเรียนมูซังคิง หรือเริ่มต้นลงแปลงปลูกใหม่ โดยไม่คิดหน้าคิดหลัง ถึงวันนี้ ผลผลิตออกสู่ตลาดในจำนวนที่มากขึ้น แต่ไม่ถึงกับล้นตลาด และไม่ทำให้ราคาทุเรียนมูซังคิงตกลงถึงขั้นน่าเป็นห่วง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขา สภาพอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิต่ำ มีความใกล้เคียงกับสภาพภูมิประเทศของมาเลเซีย ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นกำเนิดของทุเรียนราคาแพงอย่างมูซังคิง คุณศักดิ์ศรี สง่าราศรี เกษตรกรรุ่นใหม่ในเบตง ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำสวนยางพารามาปลูกไม้ผล เป็นทุเรียนหมอนทอง พวงมณี และก้านยาว มาตั้งแต่ 12 ปี ที่ผ่านมา และทำสวนส้มอีกจำนวนหนึ่ง แต่สวนส้มเกิดภาวะโรคระบาด ประกอบกับเพื่อนของคุณพ่อที่อยู่มาเลเซีย บอกว่า ทุเรียนพันธุ์มูซังคิง เป็นพันธุ์ที่มีราคาขายดีมากในมาเลเ
อาชีพเกษตรกรรมยุคนี้ ไม่มีอะไรร้อนแรงเท่าการทำสวนทุเรียน 2-3 ปี มานี้ ต่างชาติโดยเฉพาะจีน นำเข้าทุเรียนจากไทย ทำให้ผลผลิตในประเทศมีบริโภคน้อยลง ราคาที่เกษตรกรขายได้จากสวนจึงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เดิมทีมีความเข้าใจว่าทุเรียนปลูกได้ดีเฉพาะแห่ง เช่น ภาคใต้ ภาคกลางบางจังหวัด รวมทั้งภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการสื่อสารทันสมัย เทคโนโลยีก้าวหน้า ทุเรียนได้กระจายไปหลายๆ จังหวัด เมื่อก่อนอาจจะมีคำถามว่า “จังหวัดไหนปลูกทุเรียนได้บ้าง” แต่ทุกวันนี้ คำถาม อาจจะเปลี่ยนเป็น “จังหวัดไหนไม่ปลูกทุเรียนบ้าง” อีสานที่ว่าแล้งปลูกทุเรียนได้ดีที่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา จังหวัดอื่นๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะปลูกได้ แต่ก็ปลูกมีผลผลิต เช่น สุรินทร์ กาฬสินธุ์ เลย เหมาซานหวาง ทุเรียนมาแรง ทุเรียนยอดฮิต ที่นิยมปลูกกันในบ้านเรา เห็นจะได้แก่ หมอนทอง อื่นๆ มี ชะนี ก้านยาว กระดุม พวงมณี ราว 3-4 ปี มานี้ วงการทุเรียนฮือฮามาก เพราะมีทุเรียนเชื้อชาติมาเลเซีย ปลูกได้ดีแถบอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทางมาเลเซียเขาปลูกแล้วส่งผลผลิตไปจีนขายได้ราคาสูงมาก ทุเรียนของมาเลเซีย ถูกนำมาปลูกที่จันทบุรี ได้ผลดีเช่นกัน
คุณสัญชัย ปุรณะชัยคีรี อดีตนายกสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกผลไม้ไทย เปิดเผยถึงทิศทางการส่งออกผลไม้ไทยไปต่างประเทศ ว่า มังคุด ทุเรียน และมะพร้าวน้ำหอม จะเป็นไม้ผลที่มีอนาคตโดยเฉพาะตลาดการค้ากับต่างประเทศ เนื่องจากผลไม้เหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มที่คนจีนชอบรับประทาน เพราะตลาดจีนกว้างมากและมีอัตราการเติบโตสูง รวมถึงประเทศไทยมีทักษะในการพัฒนาไม้ผลดีกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน เพราะมีพื้นฐานการเกษตรและระบบชลประทานดีกว่ามาก ทั้งนี้จีนเป็นประเทศที่บริโภคทุเรียนที่นำเข้าจากประเทศไทย ประมาณ 80% สอดคล้องกับตัวเลขส่งออกทุเรียนของประเทศไทย วันละประมาณ 6,000 ตัน “สำหรับทุเรียนมูซังคิง ของมาเลเซีย เป็นทุเรียนพื้นบ้านของมาเลเซีย จัดอยู่ในทุเรียนพันธุ์เบา ปัจจุบันทุเรียนพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่างมากในมาเลเซียเอง รวมถึงประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สำหรับส่งออกทุเรียน แม้ว่าทุเรียนมูซังคิงจะเป็นทุเรียนที่ได้รับความนิยมของมาเลเซีย แต่ปัจจุบันมีปลูกในประเทศไทย โดยเฉพาะในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งผลผลิตที่ได้ส่งออกไปยังประเทศจีนเกือบทั้งหมด” คุณสัญชัย มองอนาคตของทุเรียนพันธุ์มูซังคิง ว่า หากนำมาปลูกในประเทศไทย น่าจะ