ยาฆ่าหญ้า
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ขณะนี้มีข่าวเกี่ยวกับการแบนสารเคมี 3 ชนิด อย่างเอาจริงเอาจัง บางฝ่ายบอกว่า แบนแล้วจะดี และอีกฝ่ายหนึ่งจะเกิดผลกระทบกับการทำอาชีพเกษตรกรรม ผมจึงเกิดความสงสัยว่าจะไปทางไหนดี ผมจึงขอรบกวนคุณหมอเกษตร ทองกวาว กรุณาให้ข้อมูลกับผม และจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านไปพร้อมกัน ผมถือโอกาสขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ และผมจะติดตามอ่านในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านต่อไป ขอแสดงความนับถืออย่างสูง นพดล ทวีชัยสกุล กรุงเทพฯ ตอบ คุณนพดล ทวีชัยสกุล ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นฝนตกชุก จึงเป็นประเทศที่พลเมืองส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร นำเงินตราเข้าประเทศปีละ 1.2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะข้าว สามารถทำเงินให้ประเทศปีละ 1.5 แสนล้านบาท หากมองลึกลงไปจะเห็นว่ามีการใช้พื้นที่เพื่อผลิตสินค้าเกษตรหลากชนิด โดยเฉพาะสาขาการผลิตพืช ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปาล์มน้ำมัน และสับปะรด ครอบครองพื้นที่การผลิต 6.7, 6.5, 7.8, 9.9, 4.7 ล้านไร่ และ 4.7 แสนไร่ ตามลำดับ ทั้งนี้ การผลิตสินค้าทางการเกษตรจำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตเข
(วันที่ 10 ต.ค.) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ “จดหมายเปิดผนึก” บนเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยตั้งค่าสาธารณะ ถึงนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรณีการยกเลิกสารเคมีเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต “ขออนุญาตพูดแบบตรงไปตรงมา ไม่เป็นทางการนะครับ ผมว่าคุณอนุทิน และรัฐมนตรีในสังกัด โดนหลอกให้เป็นเครื่องมือในการแบนสารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิดนี้ โดยที่คุณอนุทินได้รับข้อมูลความรู้ที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง สังเกตได้จากการให้คำสัมภาษณ์ของแต่ละท่าน ที่เห็นได้ชัดว่ายังมีความไม่เข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับเรื่องของสารเคมีทั้ง 3 ตัวนี้ โดยเฉพาะในการมองว่า สารทั้ง 3 ตัว เป็นสารพิษอันตรายเหมือนกันหมด ต้องแบนให้ได้โดยเร็วเหมือนกันหมด ทั้งๆ ที่ จริงๆ แล้ว สารทั้ง 3 ตัว เป็นสารคนละประเภทกัน ระดับความเป็นพิษก็แตกต่างกัน และวิธีการใช้ให้เหมาะสมนั้น ก็คนละเรื่องกันด้วย อย่างตัวแรกคือ “คลอร์ไพรีฟอส” ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลง ที่มีระดับความเป็นพิษปานกลาง และถ้าใช้ไม่เหมาะสม ก็อาจจะมาถ
รู้จัก พาราควอต สารพิษฆ่าหญ้า ยอดนิยมในไทย หลังรัฐบาลมีมติไม่แบน พาราควอต – หลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการวัตถุอันตราย ไม่แบนพาราควอต โดย กรรมการวัตถุอันตรายที่ลงมติแบนมีเพียง 5 คน ลงมติให้มีการใช้ต่อไปตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 16 คน และไม่ออกเสียง 6 คน หลังมติดังกล่างออกมา เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง 686 องค์กร ออกแถลงการณ์แสดงความรู้สึกผิดหวังและเศร้าสลดที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติไม่แบนพาราควอต สารพิษร้ายแรงที่มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลกห้ามใช้แล้ว สวนทางกับข้อเสนอของ (1) กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง (2) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (3) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข (4) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (6) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (7) สภาเกษตรกรแห่งชาติ (8) สภาเภสัชกรรม (9) แพทยสภา (10) เครือข่ายประชาคมวิชาการ (11) เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (12) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) เป็นต้น ที่เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการยกเลิ
กก.วัตถุอันตรายยื้ออีก! พิจารณาไม่เอาสารเคมี ‘พาราควอต’ เลื่อน 15 ก.พ. ไบโอไทยเตรียมเสนอพรรคการเมือง ใครให้ความสำคัญเลือกพรรคนั้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย กล่าวถึงกรณีที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้ทบทวนมติการแบนหรือไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชพาราควอตให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน หลังที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติให้ยกเลิกการใช้สารพิษร้ายแรงภายใน 1 ปี ว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา ในวาระแรกมีการพิจารณาทบทวนการแบนเฉพาะสารเคมีพาราควอต ภายใน 1 เดือน ซึ่งกรรมการในสัดส่วน 17 ต่อ 7 เสียง เห็นชอบให้มีการพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการฯ ซึ่งเคยมีมติอนุญาตให้มีการใช้พาราควอตต่อไปได้โดยการจำกัดการใช้ ทราบว่าการประชุมวาระดังกล่าวค่อนข้างมีความยืดเยื้อ เนื่องจากคณะกรรมการบางส่วนต้องการให้เป็นการลงมติลับ แต่ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิมีข้อเสนอให้มีการลงมติแบบเปิดเผย ซึ่งการที่มีมติให้พิจารณาพาราควอตเพียงสารเดียวก่อน เข้าใจว่าเป็นคำสั่งของผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีการพิจารณาไปทีละตัวจากสารที่มีผู้ใช้เยอะและมีผล
หญ้าคอมมิวนิสต์, หญ้าคา หรือ หญ้าขจรจบดอกเล็ก เป็นชื่อทางการที่ตั้งไว้อย่างไพเราะ แต่ทว่า หญ้าเหล่านี้เป็นวัชพืชสร้างความรำคาญให้แก่เกษตรกร ชาวสวนผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะสวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ หรือแม้กระทั่งพี่น้องชาวสวนยาง ยังต้องพบกับวัชพืชเหล่านี้ แม้ว่าจะพอมีประโยชน์ในการปกคลุมหน้าดิน สร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนดินได้อย่างดีก็ตาม ปัญหา หญ้าคอมมิวนิสต์ ปกคลุมพื้นที่ และด้วยลักษณะเฉพาะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมกับสาเหตุหลัก คือก่อผลกระทบต่อพืชหลักที่เกษตรกรหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือปัญหาที่แท้จริง “หญ้าคอมมิวนิสต์” วัชพืชตัวฉกาจ จะใช้รากฝอยที่แข็งแรงช่วยกันแย่งอาหารไม้ผล ทำให้เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในพื้นที่การเกษตร (ไม้ผล) ราว 30 ไร่ เลือกใช้การกำจัดหญ้าทางเคมีโดยใช้ยาฆ่าหญ้า หญ้าคอมมิวนิสต์ เป็นวัชพืชที่ทนแล้ง ตายยาก ตายแล้วเกิดใหม่ ด้วยรากที่แผ่กระจายอยู่ชั้นดิน โดยมีดอกและเมล็ด เมื่อต้นหญ้ามีอายุที่แก่จัด ดอกและเมล็ดปลายยอดหญ้าออกปลิวตามลมไปยังพื้นที่ใด แผ่นดินใดที่เหมาะสม ก็จะเกิดก่อเป็นต้นอ่อน ที่สำคัญคือ เติบโตขยายพันธุ์
กลายเป็นประเด็นร้อนสำหรับวงการเกษตรไทย กับกรณี “พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส” เมื่อคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีตัวแทนจาก 5 กระทรวงหลักเข้าร่วมได้มีมติให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 2 ชนิดนี้ โดยไม่ให้กรมวิชาการเกษตรรับขึ้นทะเบียน ไม่ต่ออายุทะเบียน และห้ามนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยอีก ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2560 และเลิกใช้อย่างสิ้นเชิงภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 โดยระบุว่า พาราควอตจัดเป็นยาพิษที่มีความรุนแรง ไม่สามารถหายาถอนพิษได้ ที่ผ่านมา 47 ประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้แล้ว ทำเอาบริษัทขายยาและเกษตรกรที่นิยมใช้ออกมาคัดค้าน โดยล่าสุดสมาพันธ์เกษตรปลอดภัยได้จัดเวทีเสวนาเชิงวิชาการ ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมศกนี้ วันถัดมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 60 “กรมวิชาการเกษตร” ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งเกษตรกรและกลุ่ม NGOs เอกชนมาช่วยกันเสนอไอเดียเพื่อหาทางออก จี้ “ฉัตรชัย” ไขคำตอบ นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัยกล่าวว่า เกษตรกรล
ครึ่งปีแห่นำเข้ายาฆ่าหญ้าพาราควอตสูง 2 พันล้านบาท ขณะที่สารเคมีฆ่าแมลง-เชื้อราพุ่ง 1.3 หมื่นล้าน เผยผู้นำเข้าเป็นบริษัทยักษ์ข้ามชาติและไทย กรณีคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง วันที่ 5 เมษายน 2560 มีมติให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 2 ชนิด คือพาราควอต สารเคมีฆ่าหญ้า และคลอร์ไพริฟอส สารเคมีฆ่าแมลง โดยไม่ให้ขึ้นทะเบียนเพิ่ม ไม่ต่ออายุทะเบียน และให้ยุติการนำเข้าในวันที่ 1 ธันวาคม 60 และยุติการใช้วันที่ 1 ธันวาคม 2562 นั้น ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ได้รวบรวมปริมาณและมูลค่านำเข้าสารเคมี 2 กลุ่มในครึ่งปีแรก 2560 พบพาราควอตคลอไรด์มีปริมาณนำเข้า 24,446,055 กก. คิดเป็นมูลค่า 2,055 ล้านบาท หรือ 58.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่นำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย บริษัทผู้นำเข้า 5 รายใหญ่ คือ 1. บจก.ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น 2. บจก.เอส แอนด์ พี ฟอร์มูเลเตอร์ 3. กลุ่มวินทาโฟน 4. บจก.โปรเจ็คฟิลด์ 5. บจก. ไทย อะโกรเทรด ขณะที่พาราควอตมีปริมาณนำเข้า 2,055,610 กิโลกรัม มูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (160.8 ล้านบาท) ซึ่งพาราควอต กรมศุลกากรไม่ระบุผู้นำเข้ารายใหญ่ เพราะมีปริมาณ
“ซินเจนทา” ดิ้นหลังรัฐสั่งยกเลิกใช้ยาฆ่าหญ้า “สารพาราควอต” มูลค่านับพันล้านบาท สาธารณสุขแจงชัดเป็นยาพิษที่มีความรุนแรง 47 ประเทศทั่วโลกยกเลิกใช้นานแล้ว ด้าน “ไบโอไทย” เผยบริษัทยักษ์ใหญ่รายหนึ่งเตรียมล็อบบี้กระทรวงเกษตรฯ ก่อนกฎหมายประกาศบังคับใช้ปี 2562 สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ครั้งที่ 4/2560 ซึ่งมีหน่วยงาน 5 กระทรวงหลักเข้าร่วม ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 2 ชนิด คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งถูกกำหนดเป็นวัตถุอันตรายชนิด 4 ที่ไม่อนุญาตให้มีการใช้ โดยระหว่างนี้จะไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนเพิ่ม ไม่ต่ออายุทะเบียน และต้องยุติการนำเข้าภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2560 และยุติการใช้สารเคมีทั้ง 2 ตัว ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการและเกษตรกร มีเวลาเตรียมตัว โดยระบุว่า พาราควอตจัดเป็นยาพิษที่มีความรุนแรง ไม่สามารถหายาถอนพิษได้ ที่ผ่านมา 47 ประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้แล้ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่ามีการนำเข้าพาราควอตมากถึง 128 บริษัท และคลอร์ไพริฟอสถึง 81 บริษัทนั้น นา