ยางแผ่น
ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง แก่เจ้าของสวนยางและคนกรีดยาง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้และบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยประกันราคายางพาราแผ่นดิบ 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด 57 บาท/โลกรัม และยางก้อนถ้วย 23 บาท/โลกรัม วงเงินกว่า 23,400 ล้านบาท ดีเดย์โอนเงินรอบแรก 1 พฤศจิกายนนี้ เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงกว่า 50,000 ราย เป็นเงินกว่า 170 ล้านบาท วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2562) ณ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคาร A) ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน Kick Off การจ่ายเงินประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรตาม “โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1” โดยมี นายศรายุทธ ยิ้มยวน รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และผู้แทนจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน นายศรายุทธ ยิ้มยวน รองผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 โ
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนิน 3 โครงการ คือ 1. โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ วงเงิน 3,000 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่เดือนม.ค.-ธ.ค. 2561 ภายใต้กรอบวงเงินโครงการ จำนวน 12,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณ 1,000 ล้านบาท ให้ใช้เงินกองทุนพัฒนายางพารา ตามมาตรา 49 (3) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 และหากไม่พอ ให้ขออนุมัติให้ใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อซื้อยางใช้ในประเทศ 2 แสนตัน 2. โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกร วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อรวบรวมยาง โดยปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์ทุกประเภท กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนที่มีการประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อยางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยางสหกรณ์ทุกประเภท กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนที่มีการประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา เพื่อกู้เงินจากธนาคารเพื่การเกษตรและสห
น.ส.อัจฉริยา จันทรวงศ์ กงสุล (ฝ่ายการเกษตร) ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครเซียงไฮ้ เปิดเผยว่า ราคายางพาราในตลาดยางเซียงไฮ้ ประเทศจีน ราคาเริ่มนิ่งและแนวโน้มลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลตรุษจีน หลายโรงงานเริ่มหยุด และชะลอการซื้อ-ขาย แต่สถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นช่วงสั้นๆ หลังจากผ่านเทศกาลไปแล้วคาดว่าแนวโน้มของราคา ซึ่งเป็นไปได้จะดีดตัวกลับขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์ยางพาราในจีน พบว่าแนวโน้มการใช้ยางธรรมชาติปรับตัวลดลง เนื่องจากการการนำเข้ายางธรรมชาติมีภาษีสูงกว่า ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนเริ่มปรับสูตรการผลิตใหม่หันไปใช้ยางสังเคราะห์มากขึ้น ซึ่งทางกงสุลฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป แต่ทั้งนี้ จากภาษีการนำเข้ายางธรรมชาติที่อยู่ในอัตราที่สูงกว่า ดังกล่าว ผู้ประกอบการจีนหลายรายหันมานำเข้ายาง คอมปาวด์ หรือยางที่มีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ ซึ่งเก็บภาษีต่ำกว่า หลังจากนั้นผู้ประกอบการจะสกัดสารเคมีออก ยังมีต้นทุนการนำเข้าที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการนำเข้ายางธรรมชาติโดยตรง “กรณีไทยส่งออกยางคอมปาวด์ จะไม่ถูกจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษจากการส่งออกยางหรือเซส ดังนั้นยางคอมปาวด์จึงเป็นที่นิยม
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจ ในเดือนธันวาคม 2560 จากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนภาคครัวเรือนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ 420 ตัวอย่าง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2560 โดยมาจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และรายได้จากการท่องเที่ยว ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โอกาสในการหางานทำ/ได้งานใหม่ รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า รายจ่ายที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาฯ และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เนื่องมาจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่เพิ่มขึ้น จากการจัดเลี้ยงฉลองปีใหม่ของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทห้างร้านและการท่องเที่ยวและเดินทางพักผ่อนกับครอบครัวในช่วงวันหยุดปีใหม่ “รายได้จากการทำงาน มีความเชื่อมั่นลดลง เนื่องจากรายได้จากภาคเกษตรลดลงราคาสินค้าเกษตร
ตลาดยางไทยยังไม่สิ้นหวัง กยท.อ้อนประธานใหญ่ไชน่า ไห่หนานฯ ช่วยรับซื้อยางหลายแสนตัน ทั้งในสต๊อกเก่าและลอตใหม่ หวังได้ราคา กก.ละ 60-70 บาท อีกครั้ง สร้างเสถียรภาพราคายางไม่ให้ผันผวนเกินไป ด้านเวทีประชุม ITRC และ IRCO ระบุทิศทางตลาดและราคาปรับตัวสูงขึ้น 3 ประเทศสมาชิกผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกเตรียมแผนระยะยาว มุ่งส่งเสริมใช้ยางในประเทศ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในกลางเดือนสิงหาคมนี้ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ป จำกัด ผู้นำเข้ายางรายใหญ่จากจีน จะเดินทางมาเจรจาซื้อยางพาราจาก กยท. หลังจากเมื่อ 2 เดือนก่อนตัวแทนของบริษัท และอีกหลายบริษัทจากจีนมาเจรจาซื้อยางพารากับ กยท.ในปริมาณหลายแสนตัน ซึ่งช่วงนั้น กยท.ได้ให้ไชน่า ไห่หนานฯ ไปทำข้อเสนอด้านราคาและเงื่อนไขการซื้อมาด้วย ทั้งนี้ ราคาที่จะเสนอซื้อยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ขอให้อยู่ในกรอบ 60-70 บาท/กก. เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากวงการยางพารา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเข้ามาเจรจากับ กยท.ของตัวแทนนำเข้ายางรายใหญ่ของจีนเมื่อ 2 เดือนก่อน เกิดขึ้นหลังจากราคาย
โรงรมยางแผ่นรมควันเมืองตรัง-นครศรีฯผ่านมาตรฐานการผลิตยางพรีเมี่ยม GMP 8 แห่ง ส่งออกฉลุยป้อนวัตถุดิบผลิตยางล้อเครื่องบิน-ยานยนต์ ด้าน กยท.เผยประโยชน์เพียบทั้งลดต้นทุน ขายได้ราคาสูงกว่าท้องตลาด 4-7 บาท/กก. ช่วยแก้ปัญหามลพิษ ไร้กลิ่น-น้ำเสีย ชี้เกษตรกรต้องใช้องค์ความรู้มาผลิตยาง ชูจุดแข็งเป็นข้อต่อรองทางการค้า ด้านสหกรณ์-วิสาหกิจชุมชนจ่อคิวพัฒนาอีก 145 แห่งทั่วประเทศ รองบฯสนับสนุนกว่าครึ่ง นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยาศาสตร์ 8 ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ภายหลังลงพื้นที่ไปส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มฐานเกษตรยางพารา จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เข้าสู่มาตรฐานการผลิตยางจีเอ็มพีว่า ขณะนี้การยางแห่งประเทศไทย โดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง ได้เดินหน้าส่งเสริมพัฒนาคุณภาพยางไห้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (Good Manufacturing Practices : GMP) และ GAP (Good Agricultural Practices) ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพยางแผ่นรมควันไห้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี หรือยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมี่ยม โดยปัจจุบันมีโรงรมยางแผ่นรมควันที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจีเอ็มพีไปแล้วจ