รถแทรกเตอร์
กลุ่มมหินทรา แทรกเตอร์ บริษัท มหินทรา&มหินทรา จำกัด ภายใต้ “มหินทรา กรุ๊ป” บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของประเทศอินเดีย ผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก เปิดตัวรถแทรกเตอร์รุ่น OJA ที่งาน AgriTechnica Asia 2024 พร้อมประกาศความพร้อมเตรียมบุกตลาดอาเซียน โดยมีประเทศไทยเป็นตลาดแรกในการเปิดตัวรถแทรกเตอร์รุ่น OJA ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในการเข้ามาขยายธุรกิจในอาเซียน นายเหมันต์ ซิกก้า ประธานส่วนธุรกิจอุปกรณ์ฟาร์ม บริษัท มหินทรา&มหินทรา จำกัด กล่าวว่า การผลิตรถแทรกเตอร์ระดับโลกอย่างมหินทรา OJA มีพื้นฐานมาจากแพลตฟอร์มรถแทรกเตอร์ตัวใหม่ล่าสุดที่มีคุณสมบัติ ขับเคลื่อนสี่ล้อ ขนาดเล็ก และมีน้ำหนักเบา โดยพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างทีมวิศวกรของมิตซูบิชิ, Mahindra Agriculture Machinery จากประเทศญี่ปุ่น และ Mahindra Research Valley จากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนามหินทรา โดยสายการผลิตของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ประกอบด้วยรถมากกว่า 40 รุ่น ตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 70 แรงม้า (กำลังเทียบเท่า 14.91 ถึง 52.19 กิโลวัตต์) มหินทรา OJA ได้รับการผลิตบนแพลตฟอร์มย่อยที่แตกต่างกัน 4 แบบ ตั้งแต่ขนาด
บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย ร่วมมือกับ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แทรกเตอร์ จำกัด (ITL) บริษัทชั้นนำในการผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “ยันม่าร์-โซลิส” ย้ำจุดยืนการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยและการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมเกษตรอัจฉริยะ ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ยันม่าร์มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ล้ำสมัย ส่งผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “ยันม่าร์” และ “โซลิส” รุกตลาดครอบคลุมทั้งงานไร่และงานนา ช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลา เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้การตอบรับจากเกษตรกรเป็นอย่างดี มร. เรียวสุเกะ ยามากุจิ ประธานกรรมการบริหารบริษัทยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด เปิดเผยว่า การประกาศจุดยืนความเป็นพันธมิตรในครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการขยายตลาดรถแทรกเตอร์ เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมต่อความต้องการของเกษตรกรในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้า “ยันม่าร์ โซลิส” ซึ่งมีรถแทรกเตอร์ตั้งแต่ขนาด 22-110 แรงม้า สามารถทำงานได้ทั้งงานไร่ และงานนา ประกอบไปด้วย Yanmar Solis 22 ,Yanmar Solis 26 และ
ครม. อนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ก.พาณิชย์ เปิดเสรีนำเข้ารถแทรกเตอร์ใช้แล้ว ช่วยลดต้นทุนพี่น้องเกษตรกรไทย (12 พ.ย.) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้าม หรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2562 เพื่อป้องกันปัญหามลพิษและการหลบเลี่ยงมาตรการควบคุม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 10 ธันวาคม 2562 แต่ด้วยมีเกษตรกร ชาวไร่อ้อย ได้รับความเดือดร้อนจากประกาศดังกล่าว เนื่องจากครอบคลุมการห้ามนำเข้ารถแทรกเตอร์ใช้แล้วเพื่อการเกษตร ซึ่งการห้ามนำเข้านี้ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องซื้อรถใหม่ที่ราคาแพงกว่ามาก ทางกระทรวงพาณิชย์จึงได้เสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติ แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับเดิม โดยกำหนดให้รถแทรกเตอร์ใช้แล้วเพื่อการเกษตรสำเร็จเต็มรูปคัน ตามพิกัดอัตราศุลกากร 87.01 เช่น รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบล้อยาง และรถแทรกเตอร์ล้อยางกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 18 กิโลวัตต์ เป็นสินค้าที่สามารถนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้อย่างเสรี เพื่อช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร เพิ่มทางเลือกในการซื้อ
กรุงเทพฯ, 31 มกราคม 2562 New Holland Agriculture เป็นหนึ่งในแบรนด์ของบริษัทระดับโลกอย่าง CNH Industrial เราเปิดตัวนิว ฮอลแลนด์ TT3.50 รถแทรกเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุดในประเทศไทย สำหรับรถแทรกเตอร์ในกลุ่ม 50 แรงม้า เพื่อสนองตอบความต้องการที่หลากหลายและเพิ่มขึ้นของเกษตรกรได้อย่างตรงใจ นิว ฮอลแลนด์ TT3.50 นี้มีทั้งความคุ้มค่าและความสามารถรอบด้านในการใช้งานหลากหลายประเภท โดยเราได้นำมาจัดแสดงต่อสื่อมวลชนในงานแถลงข่าววันนี้ที่โรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพฯ นิว ฮอลแลนด์ TT3.50 จะเป็นที่ชื่นชอบยอดนิยมของเกษตรกรในประเทศไทย เนื่องด้วย นิว ฮอลแลนด์ TT3.50 เป็นรถแทรกเตอร์อเนกประสงค์อย่างแท้จริง ซึ่งเหมาะสำหรับการทำงานทั้งในนาข้าวแบบแห้งและการใช้งานในพื้นที่งานไร่และสวน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ เนื่องจากนิว ฮอลแลนด์ TT3.50 มีแรงม้าและแรงบิดสูงที่เหมาะกับทั้งงานลากพ่วงและยกผลิตภัณฑ์การเกษตร นอกจากนี้ นิว ฮอลแลนด์ TT3.50 ยังเหมาะกับการทำงานปศุสัตว์ด้วยระบบการทำงาน PTO แบบอิสระ นายเอ็มเร่ คาลาซลี่ ผู้อำนวยการธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรของ CNH Industrial ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปากีสถ