ระบบราก
ผอ.เขตแจง ตัดต้นจามจุรีใหญ่ อายุ 50 ปี ขึ้นหลังป้ายรถเมล์ ริมถนนประชานิเวศน์ 1 เหตุมีผู้ร้อง รากกระทบโครงสร้างตึก หวั่นสร้างความเสียหาย เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี เมื่อวันที่ 11 ส.ค. สำนักงานเขตจตุจักร ได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและดูแลสวนสาธารณะ เข้าทำการตัดต้นจามจุรีอายุกว่า 50 ปี เส้นรอบวง 312 ซ.ม. บริเวณป้ายรถประจำทาง หน้าอาคารพาณิชย์ เลขที่ 19/8 ถนนเทศบาลสงเคราะห์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. (ถนนเส้นที่ผ่านวัดเสมียนนารีไปออกคลองประปา) เนื่องจากทางเจ้าของอาคารทำหนังสือขออนุญาตสำนักงานเขตจตุจักร ตัดโค่นออกเพราะระบบรากของต้นไม้ทำให้พื้นบ้านแตกเสียหาย เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อโครงสร้างของตัวอาคาร อ่านข่าว : โวยโค่นต้นจามจุรีอายุ 50 ปี จนท.เขตตัดเหลือแต่ตอ ชาวบ้านเสียดาย ล่าสุดนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า เตรียมนำเรื่องดังกล่าว ฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ในวันอังคารที่ 14 ส.ค. เวลา 10.30 น. ณ ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนชาวประชานิเวศน์ 1 ที่รักและหวงแหนต้นจามจุรีดังกล่าว หากเห็นว่าตนเองเป็นผู้
พืชบนโลกของเรามีมากหมายหลายชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์แบ่งพืชตามธรรมชาติของการลำเลียงน้ำและอาหารได้ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1.พืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular plant) 2.พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง (Non-vascular plants) พืชที่เราเห็นรอบตัวส่วนมากแล้วเป็นพืชที่มีระบบท่อลำเลียงน้ำและอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของมัน แต่พืชในยุคแรกๆ นั้นไม่มีท่อลำเลียง ได้แก่ มอส ข้าวตอกฤๅษี ลิเวอร์เวิร์ต (liverworts) และฮอร์นเวิร์ต Hornwort พืชเหล่านี้จะรับน้ำและสารอาหารจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์แต่ละเซลล์โดยตรง ดังนั้น พืชประเภทนี้จึงมีขนาดไม่ใหญ่และอยู่ในบริเวณที่อากาศชื้น (เช่น น้ำตก หรือบนภูเขาที่อากาศชื้น) ก่อนจะทำความเข้าใจเรื่องท่อลำเลียงน้ำและอาหาร มาทำความรู้จักกับราก (Root) กันก่อนดีกว่า รากเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหารให้กับพืช รวมทั้งช่วยให้พืชยึดเกาะกับดินได้ดี เมื่อพืชวิวัฒนาการรากและระบบลำเลียงขึ้นมา มันย่อมสามารถยืนต้นสูงได้เต็มที่ รากของพืชหลายชนิดเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่อื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น รากต้นแสมทะเลที่แทงขึ้นมาจากดินทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ และ รากสะสมอาหารของพืชพวกแครอตหรือต้นบีทรูท (beetroot)