ระบายข้าว
“อดุลย์” อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เผย นบข. เห็นชอบให้ส่งเรื่องให้กับ สตง. ตรวจสอบปริมาณข้าวส่วนต่าง 9.4 แสนตันแล้ว หากพบถ้าหายจริงต้องหาคนรับผิดชอบ เบื้องต้นกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบ 1 เดือนให้สรุปผล ยันที่ผ่านมารัฐบาลทำงานอย่างโปร่งใส ส่วนการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลล่าสุดเหลือ 7 หมื่นตันพร้อมเร่งระบายให้เร็วนี้ นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่มีการเรียกร้องหาผู้รับผิดชอบกรณีข้าวในสต็อกรัฐบาลที่ยังติดค้างอยู่ในคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ไม่สามารถนำออกมาระบายได้เพราะมีข้าวหายไปจากบัญชีการตรวจนับเป็นจำนวนมากนั้น ว่า เบื้องต้น ในกรณีนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่ามีข้าวหายไปในสต็อกรัฐบาลปริมาณ 0.94 ล้านตัน หรือ 9.4 แสนตัน แต่ตัวเลขที่เกิดขึ้นเป็นส่วนต่างระหว่างตัวเลขทางบัญชีที่มีการรายงานครั้งแรกว่ามีปริมาณข้าวในสต็อกรัฐบาลที่มาจากโครงการรับจำนำข้าวปริมาณ 18.7 ล้านตัน แต่เมื่อมีการตรวจสอบจริงกลับพบว่ามีปริมาณข้าวอยู่ในสต็อกปริมาณ 17.76 ล้านตัน ดังนั้น ตัวเลขดังกล่าวจึงเป็นตัวเลขส่วนต่างที่เกิดขึ้น ดังนั้น กรมฯในฐานะอ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 6/2560 ว่า สถานการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2560 จาก 483.8 ล้านตัน ลดลง 3.3 ล้านตัน สถานการณ์การส่งออกข้าวโลก จาก 40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเป็น 44 ล้านตัน สำหรับการส่งออกของไทยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคมส่งออกไปแล้ว 9.22 ล้านตัน นับเป็นการปริมาณการส่งออกที่ดีที่สุดในโลก โดยมีอินเดียเป็นอันดับ 2 คาดว่า Quarter ที่ 4 ปริมาณและราคาการส่งออกจะไปได้ดีต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มการส่งออกในตลาดโลกปีนี้ดีขึ้นกว่าปีที่แล้วทุกรายการ ยกเว้นข้าวเหนียว โดยข้าวหอมมะลิไทยจากราคาเฉลี่ยต่อปี 715 เหรียญต่อตันเพิ่มขึ้นเป็น 953 เหรียญต่อตัน สาเหตุเพราะความต้องการสูงและได้ตลาดกลับมาเพิ่มขึ้น ขณะที่ข้าวหอมมะลิเวียดนามราคาเพียง 950 เหรียญต่อตัน สำหรับสัญญาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศจีน (ข้าวขาว 100%) ประมาณ 1 แสนตัน และบังคลาเทศ (ข้าวนึ่ง 5%) ประมาณ 1.5 แสนตัน ญี่ปุ่น (ข้าวสู่อุตสาหกรรม) 2.5 หมื่นตัน นอกจากนี้ยังมี MOU ของเอกชนไทยกับฟิลิปปินส์และฮ่องกง (ข้าวหอมมะลิ) ประมาณ 8 หมื่นตัน แ
นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลวิจัย โครงการการระบายข้าวในคลังของรัฐ พบว่าในช่วงสิงหาคม 2557 ถึง มิถุนายน 2559 รัฐบาลระบายข้าวได้เพียง 7.5 ล้านตัน จากข้าวในสต็อกของรัฐที่มีอยู่ทั้งหมด 17.28 ล้านตัน ซึ่งถือว่าระบายข้าวได้ช้า เนื่องจากมีข้าวผลิตออกมาใหม่ทุกปี สาเหตุมาจากวิธีการรอจังหวะให้ราคาข้าวสูงขึ้นจึงค่อยระบาย ทำให้ข้าวยิ่งเสื่อมคุณภาพ รวมถึงมีภาระต้นทุนการเก็บรักษาและค่าดอกเบี้ยสูงถึงปีละ 18,300 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลควรเปิดระบายข้าวอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้ข้าวในสต็อกหมดภายใน 2 ปี ทั้งยกโกดังและแยกกอง แต่หากไม่จำเป็นไม่ควรขายข้าวสู่เกรดอาหารสัตว์และทำเชื้อเพลิง เพราะได้ราคาถูกทำให้ขาดทุนมาก ส่วนข้าวในโกดังที่มีข้าวเสื่อมคุณภาพ หรือข้าวเกรดซี ที่คุณภาพข้าวต่ำมาก ควรใช้มาตรา 44 ขายข้าวในสต็อกเป็นเกรดอุตสาหกรรมเป็นรายกรณี เพื่อระบายข้าวได้เร็วและลดค่าใช้จ่าย โดยต้องพิสูจน์ถึงคุณภาพข้าวว่าเสื่อมมากแล้วจริง ๆ โดยปัจจุบันข้าวเกรดซีในสต็อกมีประมาณ 4.59 ล้านตัน จากข้าวในสต็อกทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนี้ 9.7 ล้านตัน นายนิพนธ์ กล่าวว่า การระบายข้าวได้ช้าไป