รับมอบอาหารจากใจซีพีเอฟ
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบ อาหารพร้อมทานและน้ำดื่ม จาก นายสุรชัย ศิริจรรยา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เสริมเสบียงอาหารแก่แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย ในโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่และลดภาระการจัดเตรียมอาหารแก่บุคลากรทางการแพทย์ ทำให้สามารถทุ่มเทเวลาในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ และมั่นใจว่าอาหารที่รับประทานนั้นมีคุณภาพมาตรฐานอย่างแน่นอน
LATEST NEWS
สานฝันจนประสบความสำเร็จ จากคำถามที่อยู่ในใจมานาน การทำผักส่งออกมันยากขนาดไหนกันเชียว วันนี้กำนันบัญชาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่ยากอย่างที่คิด กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ได้ก็ผ่านอะไรมาไม่น้อย แต่ต้องกล้าและเปิดใจ ทำให้ทุกวันนี้กำนันบัญชาสามารถส่งผักสวนครัวของไทยไปไกลระดับโลกได้สำเร็จ คุณบัญชา พวงสวัสดิ์ หรือที่คนในชุมชนรู้จักกันในชื่อ “กำนันบัญชา” เริ่มต้นจากความข้องใจว่า “ผักสวนครัวที่ปลูกกันเองในบ้าน ทำไมถึงต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลางในราคาต่ำเพียงกิโลกรัมละ 3-5 บาท” คำถามนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้กำนันบัญชาลุกขึ้นมาคิดต่อยอดอย่างจริงจัง เขาเริ่มพัฒนาเกษตรบนพื้นที่ 10 ไร่ โดยเน้นปลูกพืชผักสวนครัวเกือบ 20 ชนิด และปรับรูปแบบการขายใหม่ หันมาเน้นการส่งออกไปยังตลาดยุโรป พร้อมระบบประกันราคา ที่ช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของตลาดอีกต่อไป ทุกวันนี้เราได้ยินคำว่า ‘ไร่นาสวนผสม’, ‘เกษตรทฤษฎีใหม่’, หรือ ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ กันบ่อยมาก แต่หลายคนก็ยังสงสัย ว่ามันต้องเริ่มยังไง ต้องทำแบบไหนกันแน่ กำนันบัญชา บอกว่า “สิ่งสำคัญคือ ต้องมองรอบตัวเราก่อน ว่าอะไรที่ ‘กินได้’ หรือ ‘ขายได้’ แล้วค่อยเอ
จะดีแค่ไหน ถ้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เราใช้กันทุกวัน จะไม่ไปจบที่หลุมฝังกลบ หรือลอยอยู่ในทะเล แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืนได้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มอบรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2562 แก่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “NU Bio Bags นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม” แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ และคณะ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้ผลงานจากนักวิจัยเป็นที่รู้จัก และได้รับการต่อยอดในภาคธุรกิจ และนำไปสู่การปรับใช้ในวงกว้างเพื่อแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้น NU Bio Bags นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม เริ่มจากความสนใจที่จะพัฒนาพลาสติกเพื่อการเกษตรที่สามารถย่อยสลายได้ 100% และไม่มีสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดังนั้น NU Bio Bags นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม จึงถูกพัฒนาขึ้นจาก แนวคิดเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยที่ผลิตจากไบโอคอมโพสิตฟิล์มของพอลิแลคติกแอซิดหรือ พีแอลเอ ผสมก
เนื่องจาก “ข้าวฮางงอก” เป็นภูมิปัญญาชาวอีสานมาแต่ดั้งเดิม โดยเป็นข้าวที่เพาะงอกจากข้าวเปลือก มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และมีกลิ่นหอมจากเปลือกมาเคลือบที่เมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น จึงทำให้ข้าวฮางมีสารอาหารมากและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและสมดุล ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยป้องกันเชื้อโรคหรือโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคได้ดี เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน ไขข้ออักเสบ โรคไต โรคเกี่ยวกับประสาทและสมอง ความจำเสื่อม การแก่เกินวัย โรคมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง หรือได้รับสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี สารเร่ง การเจริญเติบโต สารกันบูด สารสังเคราะห์ และอากาศที่เป็นพิษ กรรมวิธีการทำข้าวฮางงอก เริ่มจากการนำเอาข้าวเปลือกมาแช่น้ำไว้ เพื่อกระตุ้นการงอกของข้าวเปลือก ทำให้เกิดการทำงานของสารเอนไซม์และสารอาหารต่างๆ เมื่อข้าวเปลือกเริ่มงอกจะผลิตสารอาหารชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ สาร GABA (กาบา) ที่มีส่วนช่วยในเรื่องความจำ และเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วจึงนำข้าวเปลือกที่งอกแล้วไปนึ่ง เพื่อหยุดกระบวกการงอก ทำให้สารอาหารที่เพิ่
27 เมษายน 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมแลกเปลี่ยนและติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัย ภายใต้แผนงาน “งานวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนฝุ่นละออง PM 2.5 แบบมุ่งเป้าและบูรณาการ”และแผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเด็น ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับสภาลมหายใจในพื้นที่ภาคเหนือ โดย ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญ ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) เป็นประธานฯ พร้อมด้วย ดร.เจน ชาญณรงค์ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และนายประลอง ดำรงค์ไทย กรรมการส่งเสริมแผนงานเป้าหมายสำคัญดังกล่าว และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของ วช. และ สวก. ซึ่งมีผู้แทนจาก วช. ได้แก่ ดร.ยุพิน เลิศบุรุษ ผู้อำนวยการกลุ่มขั