ราคาตลาดโลก
น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ภาวะราคาสุกรทั่วโลกมีการขยับสูงขึ้น หลังการระบาดของโรค ASF ในสุกร เนื่องจากมีการทำลายสุกรเป็นจำนวนมากในหลายประเทศ ส่งผลกระทบถึงปริมาณสุกรในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ที่ปกติจะมีผลผลิตอยู่ราวๆ ปีละ 500 ล้านตัว แต่ในปีนี้ปริมาณสุกรหายไปถึง 300 ล้านตัว ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอย่างหนัก ระดับราคาสุกรขุนในจีนจึงพุ่งสูงขึ้นจาก 60 บาท ต่อกิโลกรัมในเดือนมกราคม 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 140 บาท ต่อกิโลกรัมในเดือนตุลาคม 2562 และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ข้อมูลของกระทรวงเกษตรจีน ระบุว่า ราคาขายปลีกเนื้อสุกรก็สูงขึ้นกว่า 170% นับตั้งแต่ปีที่แล้ว ไม่เพียงเท่านั้นทวีปยุโรปยังได้รับผลกระทบจากปริมาณสุกรที่ขาดแคลนด้วยโดยราคาสุกรเป็นนั้นสูงขึ้นถึง 31% และราคาลูกสุกรสูงขึ้นถึง 56% ด้วย “หมูไทยจะได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์นี้อย่างเต็มที่ด้วยเป็นประเทศเดียวที่ยังคงป้องกัน ASF ได้และมีอาณาเขตใกล้เคียงกับประเทศจีน โดยมีการนำเข้าหมูไทยไปจีนวันละหลายพันตัว ขณะที่จีนยังคงต้องใช้เวลานับปีกว่าจะฟื้นระบบวงจรการเลี้ยงหมูให้เข้าสู่
นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า หากภาครัฐมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล อาทิ ลอยตัวราคาน้ำตาลทรายวันที่ 1 มกราคม 2561 น่าจะเป็นแนวทางเหมาะสม เพราะการอิงราคาตลาดโลกราคาจะเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด สุดท้ายก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ส่วนเรื่องราคาจำหน่ายสินค้าที่มีน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลัก หากลอยตัวและราคาน้ำตาลถูกลง ผู้ผลิตจะแข่งขันด้านราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายเอง เพราะปัจจุบันเป็นการแข่งขันระบบเสรี ไม่ได้ผูกขาด คงไม่มีผู้ประกอบการฮั้วกันเพื่อตรึงราคาทั้งที่ต้นทุนถูกลง ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน