ราคาปลา
“อาหารทะเล” จังหวัดตราด เมืองชายทะเลภาคตะวันออก พื้นที่ติดทะเลยาว 165 กิโลเมตร ไม่รวมกับชายทะเลรอบเกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และเกาะเล็กเกาะน้อยอีกกว่า 50 เกาะ ทำให้พื้นที่ทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติสัตว์น้ำนานาชนิด กุ้ง หอย ปู ปลา หมึก กั้ง อำเภอคลองใหญ่เป็นอำเภอที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งทำประมงมากที่สุดของจังหวัดตราด ทั้งเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงชายฝั่ง มีชุมชนประมงพื้นบ้านตามชายหาดต่างๆ ตลอดแนวชายฝั่ง เป็นที่ซื้อ-ขายอาหารทะเลสดๆ เช้าตรู่จะมีเรือประมงพื้นบ้านที่ออกไปจับปลานำเรือเข้าฝั่ง และมีแม่ค้าพ่อค้ามารอรับซื้อปลา ทำให้อาชีพประมงพื้นบ้านที่รับสืบทอดต่อๆ กันมายังคงอยู่เห็นในวันนี้ วิถีชีวิตชาวประมงร่วม 30 ปี คุณสุบิน บุญลอย ชาวประมงพื้นบ้านวัย 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 1/8 หมู่ที่ 3 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เล่าว่า ได้ทำอาชีพประมงมากับพ่อตั้งแต่อายุ 15-16 ปี ถึงปัจจุบันทำเป็นอาชีพหลักให้กับครอบครัว ร่วม 30 ปีแล้ว โดยหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 มีชุมชนชาวประมงอยู่ใกล้กัน 3 แห่ง คือ ชุมชนสะพานปลา หาดศาลเจ้า และหาดทรายแดง จำนวนเกือบ 200 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้านใช้เรือขนา
คุณชุมนุม ยงสืบชาติ อยู่ที่บ้านเลขที่ 199 หมู่ที่ 13 ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ที่ยึดการทำเกษตรหลากหลาย แต่ที่โดดเด่นและเกิดเป็นรายได้เป็นเรื่องของการทำประมงและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพื้นที่ทำการเกษตร 100 เปอร์เซ็นต์ เขาได้แบ่งมาทำประมงอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 60 เปอร์เซ็นต์ก็ทำการเกษตรด้านอื่นๆ เช่น ปศุสัตว์ นาข้าว และพืชไร่บางชนิด เพื่อเสริมรายได้อีกหนึ่งช่องทาง คุณชุมนุม เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เริ่มประกอบอาชีพมาได้ยึดการทำเกษตรเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยการเลี้ยงปลาในช่วงแรกจะเน้นเลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ในช่วงเวลาที่ราคาตกลงปลานิลที่เลี้ยงจำหน่ายได้ราคาที่ลดลงไปด้วย จึงได้ทำการปรับเปลี่ยนเลี้ยงปลาให้หลากหลายชนิดมากขึ้น เป็นแบบบ่อรวม ภายใน 1 บ่อมีปลามากกว่า 1 ชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลานิล และปลากินพืชอื่นๆ “บ่อปลาที่เลี้ยง ผมก็จะแยกบ่อการเลี้ยงอย่างชัดเจน อย่างบ่อที่ใช้สำหรับสร้างลูกพันธุ์ ก็จะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกอย่างเดียว ส่วนบ่อไหนที่เลี้ยงสำหรับสร้างเป็นปลาเนื้อ ก็จะเลี้ยงผลิตเป็นปลาเพื่อส่งขายให้กับตลาด ต่อมาได้
คุณจิม ครุฑฉ่ำ อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 2 ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาแบบบ่อรวมมาหลายสิบปี ซึ่งการเลี้ยงด้วยวิธีนี้ทำให้เธอสามารถจำหน่ายปลาได้หลากหลายชนิด จึงทำให้การเลี้ยงปลาแบบบ่อรวมเป็นงานที่สร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี คุณจิม เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดอื่น ต่อมาเมื่อย้ายมาอยู่ที่จังหวัดนครนายก จึงได้บุกเบิกมาปลูกบ้านอยู่ที่นี่และขุดบ่อเพื่อเลี้ยงปลาทันที โดยในช่วงแรกที่มาทำก็ไม่ได้เลี้ยงปลาแบบเชิงเดี่ยว แต่เลี้ยงแบบบ่อรวม ซึ่งใน 1 บ่อ จะประกอบด้วย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ และปลาจีน “เนื้อที่ทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 7 ไร่ เราก็แบ่งทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา 6 ไร่ และอีก 1 ไร่ ก็แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกบ้าน ซึ่งเท่านี้ก็ถือว่าพอเหมาะ เพราะบริเวณบ้านไม่ต้องมีพื้นที่มาก เอาตรงอื่นมาทำบ่อเลี้ยงปลา ส่วนคันบ่อและบริเวณบ้านที่เหลือ ก็แบ่งเป็นเนื้อที่ปลูกพืชผักสวนครัว ก็ทำให้มีรายได้อีกทางในช่วงที่รอปลาโตจนกว่าจะขายได้” คุณจิม เล่าถึงที่มา บ่อเลี้ยงปลา ขนาด 6 ไร่ เน้นเลี้ยงแบบประหยัดต้นทุน ในช่วงแรกก่อนที่จะนำปลามาปล่อยลงบ่อ คุณจิม บอกว่
คุณเดชา ฤทธิเดช ชาวมีนบุรี ก็เข้าใจเช่นนั้นมาตลอด ต่อเมื่อมาเริ่มลงมือเลี้ยงเอง และตั้งเป้าขยายพันธุ์ปลาหางนกยูงขาย ถึงได้รู้แจ่มแจ้งว่า การเลี้ยงปลาหางนกยูงที่ว่าง่าย ต้องเข้าใจวิธีการเลี้ยงด้วย จึงจะเรียกได้ว่าง่าย ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็ไม่รอดเหมือนกัน แม้จะมีประสบการณ์จากการเลี้ยงปลามาก่อน ก็ไม่ได้ช่วยให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในระยะเริ่มแรกดำเนินไปด้วยดี เพราะเป็นการเลี้ยงปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย ซึ่งครอบครัวของคุณเดชาทำมานานก็จริง แต่ไม่ประสบความสำเร็จกับการเลี้ยงปลากินเนื้อกลุ่มนี้ การเลี้ยงปลาหางนกยูง จึงเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับคุณเดชา แรงกระตุ้นให้เริ่มเลี้ยงปลาหางนกยูง อยู่ที่การเห็นปลาหางนกยูงวางขายที่ตลาดปลาในตลาดนัดจตุจักร นั่นหมายถึง ปลาหางนกยูงยังคงขายได้อยู่ตลอด แม้ว่าราคาขายค่อนข้างแพง “เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หางนกยูงสายพันธุ์จากต่างประเทศสวยๆ คู่ละ 1,500 บาท ถือว่าแพงมาก เพราะเป็นปลานำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ไม่มีในประเทศไทย ถึงราคาจะแพง แต่ผมก็ตัดสินใจซื้อมา เพราะคิดว่า การเลี้ยงไม่น่าจะแตกต่างไปจากการเลี้ยงปลาหางนกยูงทั่วไปที่ใส่ในกะละมัง กระป๋อง ก็เลี้ยงได้ สุ