ราคาผลไม้
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ลองกอง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี แต่ทุกครั้งที่ซื้อมารับประทาน มักเกิดความรำคาญใจก่อนจะพบกับความอร่อย เพราะผลลองกองเต็มไปด้วยราสีเขียวๆ ผสมผสานกับมดดำ ผมจึงอยากจะขอคำแนะนำจากคุณหมอเกษตรผ่านไปยังชาวสวน ว่าจะมีวิธีทำอย่างไรเพื่อพัฒนาคุณภาพของลองกองให้น่ารับประทานมากกว่าที่ผ่านมา หากแก้ปัญหาได้ผมเองก็จะได้รับประทานลองกองที่สวยงาม สะอาดตา ขอขอบคุณมาในโอกาสนี้ครับ ขอแสดงความนับถือ สุชาติ วิทยานุรักษ์ กรุงเทพฯ ตอบ คุณสุชาติ วิทยานุรักษ์ ลองกอง เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดีในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 2,000-3,000 มิลลิเมตร และพื้นที่ปลูกสูงไม่เกิน 600 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการอุณหภูมิที่ 20-30 องศาเซลเซียส ลองกองจึงได้ผลดีในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย การขยายพันธุ์ทำได้ทั้งเมล็ด การเสียบยอด ติดตา และทาบกิ่ง แต่การปลูกจากเมล็ดมีข้อด้อยคือ ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4-5 ปี ส่วนต้นพันธุ์ที่ได้จากวิธีอื่นๆ จะให้ผลผลิตได้ภายใน 2-3 ปีเท่านั้น อีกทั้งได้ต้นลองกองเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ การทำสวนลองกองทำได้ทั้งปลูกแซม
อากาศแปรปรวนหนักทำผลไม้ใต้ออกน้อย ทุเรียน มังคุด เงาะ ผลผลิตหายกว่า 30% คาดสูญรายได้ 7,000 ล้านบาท ลองกองหนักสุดผลผลิตฮวบ 80% เหตุลดพื้นที่ปลูก ชี้ราคาผลไม้อาจสูงขึ้นชดเชยผลผลิตลด ราคาหน้าสวนล่าสุด ทุเรียน 70-80 บาท/กิโลกรัม มังคุด 30-40 บาท นายหวน ทนงาน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักส่งเสริมและพัฒนาเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา (สสก.ที่ 5) เปิดเผยว่า คณะกรรมการจัดทำข้อมูลบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ สรุปผลการประชุมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ถึงสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้หลัก ๆ 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ว่าช่วงเดือนสิงหาคมถือเป็นช่วงที่ผลไม้ คือ ทุเรียน มังคุด และเงาะ ผลผลิตออกมามาก และจะหมดประมาณปลายเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ขณะที่ลองกองที่ออกมากเดือนกันยายน และจะไปสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน โดยภาพรวมเก็บเกี่ยวแล้ว 42 เปอร์เซ็นต์ ลองกองเก็บเกี่ยวแล้ว 1.2 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในปี 2560 นี้ การประมาณการผลไม้ทั้ง 4 ตัวหลัก ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง แบ่งเป็น ผลผลิตทุเรียนกว่า 170,000 ตัน มังคุดกว่า 50,000 ตัน เงาะ จำนวน 46,000 ตัน ลองกองเหลือประมาณ 14,000 ตัน โดยภาพรวมได้หดหายไปปร
ปีทองผลไม้ภาคตะวันออกสะดุด มังคุดปลายฤดูชนมังคุดใต้ ทำผลผลิตล้นตลาด ฝนตกหนักซ้ำทำผลผลิตเสียหาย ฉุดราคาดิ่งเหวทั้ง 2 ภาค เหลือ กิโลกรัมละ 5-10 บาท ซ้ำเติมต่อด้วยปัญหาแรงงานขาด ชะงักทั้งห่วงโซ่ ด้านเกษตรจังหวัดเมืองจันท์เผยผู้ว่าฯเรียกล้งช่วยรับซื้อตรงเกษตรกร คาดปัญหาคลี่คลายเร็วเพราะมังคุดรุ่นท้ายเหลือไม่เกิน 30% เตรียมเสนอผู้ว่าฯวิธีแก้ไข 3 ข้อ ด้านล้งบ่นอุบแรงงานขาด รับซื้อมากไม่ไหว ชี้รัฐต้องวางแผนล่วงหน้า ขณะที่เกษตรกรภาคใต้โอดราคาขายดิ่งสุดรอบ 20 ปี สวนทางต้นทุน ทยอยโค่นทิ้งหันปลูกมะพร้าว ปาล์มแทน นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร เกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ราคามังคุดตกต่ำเวลานี้ มีปัญหาสำคัญคือชาวสวนขาดแคลนแรงงานคัดเกรดส่งให้ล้ง ทำให้ต้องขายคละราคาเดียว ขณะที่ล้งส่งตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องคัดเกรด แต่แรงงานไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถรับซื้อเพิ่มขึ้นได้มาก อย่างไรก็ตาม ปัญหามังคุดล้นตลาดน่าจะคลี่คลายภายใน 7-8 วัน เพราะผลผลิตมังคุดเมืองจันท์เหลือไม่เกิน 30% หรือ 35,000 ตัน ดังนั้น ภาคเกษตรต้องชะลอการเก็บเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมากระจุกตัวตามล้ง แล้วกลไกราคาจะปรับขึ้นเอง นายอาชว์ชัยชาญกล่าวอีกว่
สศก.เผยปีทองผลไม้ไทย สินค้าเกษตรไตรมาส 2 พุ่ง ส่งออก 4 เดือน ทะลุ 4.34 แสนล้าน ทุเรียนสด เพิ่มเป็น 25,000 ล้าน มังคุด 5,000 ล้าน พร้อมชูแผนงบ 9,000 ล้าน พัฒนาศักยภาพภาคเกษตรทฤษฎีใหม่ นางสาวจริยา ศรีสุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคเกษตรซึ่งมีสัดส่วน 9% ของจีดีพีทั้งหมด ในไตรมาส 2 ปี 2560 จะขยายตัวได้มากกว่า 2% เนื่องจากช่วงเมษายน-มิถุนายนนี้ เป็นช่วงผลผลิตสินค้าเกษตรออกสู่ตลาด สำหรับภาพรวมมูลค่าการส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2560 อยู่ที่ 4.34 แสนล้านบาท สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกัน ปี 2559 ที่ 8.5% ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มูลค่า 1.6 แสนล้านบาท ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตร 2.73 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.8% สินค้าส่งออกที่สำคัญช่วงนี้ ได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง เนื้อไก่ ผลไม้ เช่น ลำไย ทุเรียน มะม่วง และมังคุด อาหารแปรรูปต่างๆ โดยส่งออกไปตลาดคู่ค้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และตลาดอาเซียน นางสาวจริยา กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ยังคงเป็นปีทองของผลไม้ไทย อาทิ ทุเรียน มังคุด ส่งผลให้การส่งออกผลไม้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ
นายจอมศักดิ์ ภูติรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี เผยว่า ปีนี้ผลไม้ของจันทบุรีดีมาก คาดว่ามี 4 แสนตัน ขณะเดียวกันหอการค้าได้ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และผลักดันยุทธศาสตร์ จันทบุรีมหานครผลไม้ ตั้งแต่ปี 2558 ปีนี้ปีที่ 3 ทำให้ราคาผลไม้สูงขึ้นเป็นปรากฏการณ์ทั้ง 3 ปี อย่างปี 2558 ก่อนประกาศจัดงานมหานครผลไม้ ทุเรียน เฉลี่ยกิโลกรัมหนึ่ง 50 บาท พอประกาศเป็นมหานครผลไม้ เมื่อปี 2559 ขึ้นมาเป็นกิโลกรัมละ 100 บาท และปี 2560 ทุเรียนต้นฤดูกิโลกรัมละ 140-150 บาท ตอนนี้กิโลกรัมละ 120-130 บาท ซึ่งสูงกว่าทุกปี อีกทั้งผู้บริโภคทั่วโลกนิยม ทำให้กำลังซื้อมาก “จริงๆ แล้วผลไม้ในภาคตะวันออกและทั้งประเทศส่งออกไปจีนยังไม่ถึง 40% ตลาดยังต้องการอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นตลาดในเอเชีย ใน CLMV รวมถึงในยุโรปและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งในอดีตชาวสวนผลไม้ถูกกดราคาไม่มีอำนาจต่อรอง วันนี้หมดยุคผลไม้ราคาถูก หมดยุคการเอาเปรียบชาวสวนแล้ว” “วันนี้เป็นการรณรงค์แค่ต้นทางเท่านั้น ซึ่งในยุทธศาสตร์การเป็นมหานครผลไม้ ภายใน 5 ปี จากมูลค่าขายประมาณ 3 หมื่นกว่าล้าน จะขึ้นเป็น 1 แสนล้าน แต่ปรากฏว่าในปี 2559 แค่ปีเดียวจาก 3 หมื่
นายหร้อเฉด ขุนจันทร์ พ่อค้าผลไม้รายใหญ่จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ผลไม้ปีนี้ราคาผันผวน ทำให้พ่อค้าท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุงบางส่วนประสบภาวะขาดทุน เช่น โค้งแรกมังคุด ประมาณปลายเดือนกรกฎาคม 2559 ราคาลูกจัมโบ้ 50 บาท และบางราย 60 บาท/กก. ส่วนลูกมังคุดรวมที่ยังไม่คัดเกรด ราคา 35 บาท/กก. แต่เมื่อถึงมือพ่อค้าปลายทางราคากลับลดลง ทำให้พ่อค้าที่รับซื้อไว้ประสบภาวะขาดทุน “สาเหตุที่มังคุดราคาร่วงเมื่อถึงพ่อค้าปลายทาง พบว่าคุณภาพมังคุดด้อย โดยมีน้ำยางอยู่มาก ปัจจัยจากภัยแล้ง จึงได้ราคาไม่ดี โดยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ราคาลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาท พอมาวันที่ 7 สิงหาคม ทางผู้รับซื้อปลายทางเปิดราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 20 บาทแล้ว”นายหร้อเฉดยังกล่าวอีกว่า สำหรับทุเรียนต้นฤดูราคาหน้าสวนอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท พอวันที่ 7 สิงหาคม ราคาได้ขยับลงมาที่กิโลกรัมละ 40 บาท เนื่องจากทุเรียนจากจันทบุรีออกมาในตลาดแล้ว หลังจากว่างเว้นอยู่ประมาณ 1 เดือน ส่วนเงาะขณะนี้ใกล้เก็บเกี่ยวแล้ว จะต้องหาพ่อค้าปลายทางที่ชัดเจน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้กระป๋อง บรรจุกระป๋องได้ พ่อค้าท้องถิ่นจึงจะไม่เ