ราคาผัก
เกิดอุทกภัย น้ำท่วมแหล่งปลูกผักค้าส่งภาคเหนือเสียหาย ดันราคาผักขยับราคา พริก-มะเขือทะยานพุ่งสองเท่า พาณิชย์จังหวัด เร่งตรวจเข้มคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค หวั่นกระทบชาวบ้าน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แหล่งเพาะปลูกผักสดชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย ส่งผลให้ราคาผักสดชนิดต่างๆ ในตลาดสดเทศบาลสอง เทศบาลเมืองพิจิตร ปรับราคาคาเพิ่มสูงขึ้นหลายชนิด โดยผู้สื่อข่าวได้สำรวจราคาจากพ่อค้า-แม่ค้าขายส่ง ขายปลีก ผักสดหลายชนิดเริ่มปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น เช่นผักชี จาก กก.ละ 90 บาท ปรับขึ้นเป็น กก.ละ 150 บาท พริกขี้หนูจากเดิม กก.ละ 100 บาทปรับ ขึ้นเป็น กก.ละ 200 บาท มะเขือกรอบจากเดิม กก.ละ 20 บาท ปรับขึ้นเป็น 50 บาท มะเขือเทศจากเดิม กก.ละ 30 บาท ปรับขึ้นเป็น กก.ละ 60 บาท ผักกาดลุ้ย และกระหล่ำปลี จาก กก. 25 บาท ปรับขึ้นเป็น กก.ละ 40 บาท ทั้งนี้พ่อค้าแม่ค้าต่างบอกว่า ผักชนิดต่างๆ แต่ละวันผัก จะปรับขึ้นลงไม่เท่ากัน แล้วแต่ปริมาณจากแหล่งปลูก ค้าส่ง โดยปัจจัยที่ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากน้ำท่วมแหล่งปลูกค้าส่งทำให้หาวัตถุดิบมาจำหน่ายยาก ต้องมีก
พืชที่เรียกได้ว่าปลูกได้ทุกฤดูกาล ก็น่าจะเป็นพืชผักสวนครัว ที่ควรจะมีปลูกในทุกฤดูกาล แม้ว่าผักสวนครัวบางชนิดอาจไม่เหมาะกับฤดู แต่วิธีการปลูกก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยให้ผลผลิตมีได้ในทุกฤดูได้เช่นกัน ที่หมู่ 7 บ้านช่างแก้ว ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา พื้นที่ส่วนหนึ่งมีความเป็นชุมชนเมือง เพราะความเจริญที่เข้าถึง แต่ยังคงมีพื้นที่ส่วนที่เป็นสวนอยู่ ดังนั้น เกษตรกรที่นี่จึงต้องอยู่อย่างปรับตัว เช่น ทำสวนควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพเสริมอื่น หากการทำสวนไม่ได้มีรายได้หลักจุนเจือครอบครัว คุณธนพร คงบุญ หรือ พี่แตง ผู้หญิงที่มีความแคล่วคล่องว่องไวในการจัดการหลายๆ เรื่อง ภายในระยะเวลาจำกัดได้อย่างลงตัว เธอเป็นผู้หญิงที่มองเห็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เพราะที่ผ่านมาเมื่อเธอสำเร็จการศึกษามีครอบครัว ก็มุ่งมั่นทำงานเลี้ยงครอบครัว แต่ในที่สุดความห่างไกลกับสามีทำให้เธอพยายามมองหาอาชีพ เพื่อกลับมาอยู่ในถิ่นกำเนิดและอยู่กับครอบครัวอันเป็นที่รัก เมื่อคุณธนพร กลับมาที่บ้านช่างแก้ว อาชีพแรกที่มองเห็น เพราะไม่มีความถนัดในการเกษตร จึงเป็นการเปิดร้านซัก อบ รีด เพราะมีความเป็นชุมชน แต่
ความฝันของคนเราทุกวันนี้คือ การมีเงินทองร่ำรวยและตำแหน่งชื่อเสียงเกียรติยศ แต่สุขภาพร่างกายเป็นสิ่งรองลงไป จะได้จากการที่เราวิ่งเต้นไขว่คว้าในเงินและชื่อเสียงแทบล้มประดาตาย โดยไม่เคยห่วงใยสุขภาพของตัวเอง ซึ่งเราคิดว่านั่นคือสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต พอผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง เราต้องเอาเงินที่สะสมมาชั่วชีวิตไปรักษาสุขภาพซึ่งได้บ้างไม่ได้บ้าง อาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุกวัน เป็นอาหารที่ทำมาจากวัตถุดิบและเทคโนโลยีที่มุ่งแต่ความอร่อย สวยงามและรวดเร็ว จากกระบวนการผลิตที่พึ่งแต่สารเคมีสังเคราะห์ ทำให้สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ สะสมเข้าไปในร่างกาย ก่อผลร้ายต่อสุขภาพในตอนหลังอย่างช้าหรือเร็วขึ้นกับปริมาณที่สะสมเข้าไป จนร่างกายไม่สามารถขจัดพิษภัยจากสารเคมีเหล่านี้ได้อีกต่อไป สำหรับคนอายุ 35 ปีขึ้นไป เราได้รับคำเตือนให้หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ขนาดใหญ่ เพราะปัญหาระบบการย่อยและพิษภัยจากสารเคมีในกระบวนการเลี้ยง คนส่วนหนึ่งก็พยายามหลีกเลี่ยงไปรับประทานผัก แต่เหมือนหนีเสือปะจระเข้ เพราะในผักก็มีสารพิษสารพัดชนิดเช่นกัน สำหรับคนเมืองหลีกเลี่ยงยากที่จะมีผักปลอดภัยมาบริโภค ความฝันของการมีชีวิตอยู่ในไร่ในสวนมีโอกาสได้สัมผั
คุณสมพร โนนริบูรณ์ มีสวนอยู่ที่บ้านเลขที่ 122 หมู่ที่ 3 ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ยึดการทำเกษตรในรูปแบบของเกษตรผสมผสาน โดยมีการแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกพืชหมุนเวียนอย่างเป็นระบบบนพื้นที่กว่า 6 ไร่ และเน้นการปลูกเพื่อส่งขายแก่ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เธอได้เป็นอย่างดี คุณสมพร เล่าว่า ก่อนที่จะผันตัวมาทำเกษตรแบบผสมผสานนั้น เดิมเคยทำนาและมะเขือเทศมาก่อน แต่เนื่องจากเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ต้องประสบปัญหาเรื่องของราคาของผลผลิตที่ตกต่ำลงในบางครั้ง ทำให้รายได้ของครอบครัวลดน้อยลง ต่อมามีความสนใจเรื่องการทำเกษตรผสมผสานจึงได้เริ่มต้นปลูกมะเขือเทศและกะหล่ำปลีหมุนเวียนควบคู่ไปกับการทำนา บนพื้นที่กว่า 6 ไร่ โดยได้มีการแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักแต่ละชนิดอย่างเป็นระบบ มะเขือเทศที่ยังสุกไม่เต็มที่ “ในช่วงแรกที่ทำเกษตรผสมผสานได้เริ่มต้นจากการปลูกมะเขือเทศและกะหล่ำปลี ต่อมาจึงค่อยๆ ขยายและนำผักชนิดอื่นมาลงปลูกเพิ่ม ทำให้ในตอนนี้ผักที่ปลูกจึงมีทั้งมะเขือเทศลูกเล็ก มะเขือเทศลูกใหญ่ กะหล่ำปลี กำหล่ำดอก มะเขือเปราะ ข้าวโพด รวมถึงฟักทอ
เกษตรกรรม เป็นกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง แต่การเลือกทำเพียงกิจกรรมเดียว จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะไม่ได้รับผลผลิตเมื่อต้องประสบกับภัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แต่ถ้าเลือกทำ “เกษตรผสมผสาน” คือมีตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป มีการวางแผนการผลิต ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความเสี่ยงก็ลดลง ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี มาบอกเล่าสู่กัน คุณยศพนธ์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่การเกษตร 418,781 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 377,826 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 11,002 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชสวน เช่น ปลูกไม้ผล พืชผัก 26,895 ไร่ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ 1,189 ไร่ และพื้นที่ประมง 1,869 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เป็นงานเกษตรที่ทำตั้งแต่ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยง โดยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้วางแผนการปลูกและ
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จากการสำรวจราคาพืชผักใบเขียว และเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในช่วงเทศกาลกินเจ พบว่ามีการปรับขึ้นราคาสูงขึ้น ขณะที่ประชาชนเริ่มแห่ซื้อกันคึกคัก แม้ราคาผักเพิ่มขึ้นขานรับเทศกาลกินเจ นางเกษมสุข รัตนวงษา แม่ค้าขายผักสดในตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า พืชผักปีนี้มีการปรับขึ้นราคาสูงขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมและเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากพืชผัก รวมถึงเห็ดชนิดต่าง ๆ ปีนี้ ต้นทางคือเกษตรกรในหลายพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำชีปลูกผักพื้นบ้าน ต่างได้รับผลกระทบหนักจากน้ำท่วม จนไม่มีผลผลิตส่งเข้ามาขาย เมื่อพืชผักมีน้อยราคาจึงปรับสูงขึ้นจนบางชนิดราคาพุ่งเป็นเท่าตัว ทั้งนี้แม้ผักหลายชนิดจะปรับราคาเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อยอดขาย เพราะผู้บริโภคยังนิยมซื้อผักไปประกอบอาหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ราคาเห็ดนางฟ้าจากเดิม กิโลกรัมละ 60 บาท ปรับขึ้นเป็น 80 บาท คื่นช่าย จากเดิม กิโลกรัมละ 120 บาท ปรับขึ้นเป็น 150 บาท ผักกาดขาว จากเดิมกิโลกรัม
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่โรงแรมริชมอนด์ น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai PAN) เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างผัก10 ชนิด ได้แก่ พริกแดง กะเพรา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี แตงกวา มะเขือเปราะ และมะเขือเทศ ผลไม้ 6 ชนิด คือ ส้มสายน้ำผึ้ง มะละกอ แตงโม แคนตาลูป ฝรั่ง และแก้วมังกร รวมทั้งผักผลไม้ทั้งหมด 158 ตัวอย่าง ซึ่งมีทั้งที่มีฉลากรับรองมาตรฐาน อาทิ มาตรฐานปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ ฉลากออร์แกนิกส์ ฉลากมาตรฐานคิว จีเอพี (Q GAP) คิวจีเอ็มพี (Q GMP) และที่ไม่มีฉลากรับรองมาตรฐาน โดยเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ 23-29 สิงหาคมที่ผ่านมา จากห้างโมเดิร์นเทรด 3 ห้างหลัก และเก็บจากตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ 3 แห่ง ที่รังสิต จ.ปทุมธานี จ.นครปฐม และ จ.ราชบุรี จากนั้นก็นำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ประเทศอังกฤษ ผลการตรวจพบผักผลไม้มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานถึงร้อยละ 56 โดยส่วนที่จำหน่ายในห้างโมเดิร์นเทรดมีสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 70.2 ส่วนตลาดค้าส่งมีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานร้อยละ 54.2 น.ส.ปรกชล กล่าวว่า ทั้งนี้ ผลการตรวจทั้งที่มีฉลากรับ