ราคาเห็ด
“คุณจุ๊บ–นัยนา ยังเกิด” เปลี่ยนชีวิตหลังเกษียณให้ยิ่งใหญ่ ด้วยการเพาะเห็ดแบบครบวงจรขายดีทั้งตลาดสด ห้างหรู และต่อยอดถึงระดับแบรนด์เครื่องสำอาง “Roselon” ด้วยสารสกัดจากเห็ดสีชมพู ที่ค้นพบว่ามี “โพลีฟีนอล” ช่วยผิวใสได้จริง จนกลายเป็นเซรั่มเห็ดแบรนด์ไทยแบรนด์แรกในประเทศ✨ 🍄“กระท่อมเห็ด ฟาร์ม@ไทรน้อย” กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ที่เปิดรับทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้เกษียณ เรียนรู้ตั้งแต่แยกเนื้อเยื่อเห็ดในห้องแล็บ จนถึงต่อยอดสร้างธุรกิจสุขภาพครบวงจร เพราะเธอเชื่อว่าความรู้ที่ดี คือวัคซีนชีวิต และเห็ดคือคำตอบของทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ และอนาคตของเกษตรไทย ✨ .
Young Smart Farmer เป็นคนหนุ่มสาวที่มีความรู้ มีความคิดก้าวไกล ทันสมัย และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี หากสนับสนุนให้คนเหล่านี้ประสบผลสำเร็จ จะขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียงได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น คุณปรีชา วงค์พิมณ อายุ 42 ปี Young Smart Farmer จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 4 บ้านหนองบัวคำแสน ตำบลด่านช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โทรศัพท์ 086-090-3818 คุณปรีชา ให้ข้อมูลว่า หลังจากจบการศึกษาระดับ ม.6 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ คือทำงานโรงงานผลิตทองคำ ได้เงินเดือน เดือนละ 6,000 บาท และยังมีค่าโอทีเดือนละประมาณ 4,000 บาท ทำงานอยู่ประมาณ 2 ปี ก็เลยมีแนวความคิดอยากจะกลับมาทำการเกษตรที่บ้านของตนเอง ในระยะแรกได้ทำนาและปลูกดาวเรือง แต่ในการทำการเกษตรนั้นยังมีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง ดังนั้น จึงได้ขุดสระน้ำประจำไร่นา ต่อมามีการเจาะบ่อบาดาลเพื่ออาศัยน้ำมาทำการเกษตร ได้ทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรผสมผสาน ปัจจุบัน ทำการเกษตรหลายอย่าง ได้แก่ ทำนา 8 ไร่ เพื่อบริโภคในครัวเรือน ที่เหลือขายเป็นรายได้ การทำสวนดาวเรือง ตัดดอกขายส่งให้พ่อค้าที่จังหวัดอุดรธานี เลย ตลาดไท มีรายได้ปีละร่วม 250,000 บาท ต่อปี
คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ หรือ คุณเขม อยู่บ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 10 ตำบลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รู้จักกันในนาม “บ้านสวนเห็ดคุณยาย” โดยก่อนหน้าที่จะมาเพาะเห็ด คุณเขม เล่าให้ฟังว่า ตนได้ผ่านมาหลายอาชีพ ตั้งแต่ทำงานเสริมความงามที่กรุงเทพฯ แต่มีเหตุที่ต้องกลับต่างจังหวัด เพราะแม่ไม่สบาย พอกลับมาอยู่กับแม่ก็เริ่มมองหาอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเอง ตอนนั้นมองว่าอาชีพขายหมูปิ้งนมสดน่าจะดี จึงลองทำดู ช่วงแรกๆ ก็ขายดี อยู่ไปสักพักเหมือนคนตกงานใครก็อยากมาขายหมูปิ้ง เราจึงหยุดการขายหมูปิ้ง หลังจากเลิกขายหมูปิ้งก็ยังไม่หยุดความพยายามแค่นี้ คุณเขมมองเห็นว่าคนในตลาดใครเดินผ่านไปผ่านมา ก็มีถุงเห็ดอยู่ในมือ จึงเกิดไอเดียเพาะเห็ดขายเป็นอาชีพเสริม คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ ด้วยความคิดว่ากลุ่มคนต้องการบริโภคเห็ดยังเยอะ ตนจึงไปรับก้อนเห็ดเอามาขายในหมู่บ้าน โดยเห็ดที่เริ่มเพาะอย่างแรกคือ เห็ดขอน รับมารอบแรกได้กำไร รอบที่ 2 เกิดปัญหาเห็ดติดเชื้อ ไรไข่ป่า ไรไข่ป่าก็คือตัวที่กินเชื้อเห็ดมันจะขยายได้เร็วมาก ถ้าโดนอากาศร้อนๆ ก็ขาดทุนหมดเลย จึงตัดสินใจไปเรียนที่โครงการลูกพระดาบส ใช้เวลาเรียนเพียง 7 วัน ได้ทั
ชาวบ้านพันดอน หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีที่ดินเป็นของตนเองน้อย รายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้จ้าง บางรายจึงเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย โดยใช้ที่ของเพื่อนบ้าน ย้ายที่เพาะไปเรื่อยๆ แต่เมื่อมีโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการเปิดโอกาสให้ชุมชนเสนอโครงการตามความต้องการ ทำให้ชาวบ้านพันดอนแห่งนี้ได้มีอาชีพที่มั่นคง ทำรายได้ในระดับน่าพอใจ คุณสมเดช ศิริวงศ์ (ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9) โทร. (087) 214-6499 ประธานกลุ่มเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนบ้านพันดอน เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านพันดอน มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประกอบอาชีพทำไร่อ้อยและนาข้าว อีกราว 65 เปอร์เซ็นต์ มีอาชีพรับจ้าง (ผู้สูงวัยเลี้ยงหลาน วัยแรงงานรับจ้างต่างจังหวัด บางส่วนรับจ้างในพื้นที่) ต่อมาเมื่อประมาณ 5 ปี ที่ผ่านมา ได้เริ่มนำเห็ดฟางแบบกองเตี้ยมาเพาะในหมู่บ้าน จึงมีชาวบ้านให้ความสนใจเพาะ เนื่องจากอายุสั้น ให้ผลผลิตเร็ว ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ทำเงินได้แล้ว แต่มีปัญหาคือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ต้องย้ายที่ใหม่ไปเรื่อยๆ
การสร้างและพัฒนาการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สังคม ประเทศ และนานาชาติ เป็นอีกหนึ่งภารกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ ที่จะสร้างสรรค์ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชน สังคม ให้เข้มแข็งมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยจึงไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาและบริการวิชาการในรูปแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ขั้นสูง อันนำไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการและเพิ่มศักยภาพงานวิจัย โดยสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ชุมชน สังคม ด้วยการบริการวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อน ไทยแลนด์ 4.0 ผศ.ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี มทร.สุวรรณภูมิ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาต่อยอดวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัย สร้างความมั่นคงด้านอาชีพให้กับชุมชน โดยเร่งเดินหน้าเข้าไปพัฒนาส่งเสริมชุมชนในเขตพื้นที่รอบนอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนนทบุรี สำหรับในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เข้าไปส่งเสริมบริการวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาอาช
คุณปราณี เพชรสวัสดิ์ แห่งปราณีฟาร์มเห็ดเยื่อไผ่ เลขที่ 119 หมู่ที่ 14 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (095) 462-8982 เล่าให้ฟังว่า ทำฟาร์มเห็ดเยื่อไผ่มาหลายปีแล้ว โดยได้ไปศึกษาหาความรู้จาก ดร.อานนท์ ปรมาจารย์ด้านเห็ด การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ขั้นแรกต้องทำเชื้อก่อน สูตรที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อ เป็นสูตร RDA คือ ใช้มันฝรั่ง 200 กรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร กลูโคส 20 กรัม ผสมกันแล้วต้มให้มันฝรั่งเปื่อย แล้วใส่ขวดแก้วทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำหมวกเห็ดมาเขี่ยสปอร์เชื้อเห็ดใส่ นำมาวางไว้ในที่ร่ม ประมาณ 30 วัน อุณหภูมิที่ดีคือ ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศหนาวเกินกว่านี้เชื้อจะเดินค่อนข้างช้ากว่าปกติ เมื่อเชื้อเดินดีแล้ว จึงนำมาเขี่ยใส่ขวดเพาะเชื้อ โดยใช้สูตร ข้าวฟ่างนึ่ง จนสุกดีแล้วนำมาผึ่งให้คลายร้อน แล้วบรรจุขวดเพียงครึ่งขวด รอให้เชื้อเดินจนเต็มที่ สูตรก้อนเห็ด ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 94 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียด 5 เปอร์เซ็นต์ ปูนขาว 0.8 เปอร์เซ็นต์ ดีเกลือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาบรรจุถุง ขนาดของถุงที่บรรจุเชื้อเห็ดปกติแต่ใส่ในปริมาณแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 500-600 กรัม ซึ่
คุณรัศมี สงฆ์เจริญ เจ้าของฟาร์มเห็ดตายาย ตั้งอยู่ข้างในสนามกอล์ฟบางปะกงริเวอร์ไซด์ ซอย 6 FR36 หมู่ที่ 1 ตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตเห็ดขอนขาวมากที่สุดคนหนึ่ง คุณรัศมี สงฆ์เจริญ เจ้าของฟาร์มเห็ดตายาย เดิมทีคุณรัศมีจบการศึกษาคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่สนใจการเพาะเห็ด จึงได้เริ่มศึกษาวิธีการเพาะเห็ด และผลิตก้อนเชื้อเห็ดมาเป็นเวลา 8 ปี ซึ่งในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ได้ลองผิดลองถูกมาหลายวิธี ล้มลุกคลุกคลานมาแล้วหลายครั้ง แต่ด้วยความที่ไม่ย่อท้อ จึงเริ่มคิดวางแผนที่จะเพาะเห็ดให้สำเร็จให้ได้ “เริ่มจากเรานำเห็ดที่เราเพาะได้ไปแจกเพื่อนบ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเปิดตลาดให้ชาวบ้านรู้ว่าเห็ดชนิดนี้คือ เห็ดอะไร รสชาติเป็นอย่างไร สามารถนำไปประกอบอาหารอะไรได้บ้าง หลังจากเอาไปแจกให้ชาวบ้านได้ลองทำอาหาร ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านำเห็ดขอนไปทำต้มยำ ลาบ แกงลาว อร่อยมาก พอได้ยินแบบนี้แล้วเราก็เกิดกำลังใจมากขึ้น จึงเริ่มนำเห็ดขอนไปขายที่ตลาดนัด และตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงของจังหวัดฉะเชิงเทรา ก็ขายดีอีก ทีนี้เราก็มาคิดว่าจะทำอย่างไร