ราคาแพะ
“แพะ” ขาดแคลนหนัก และบูมสูงสุดในรอบ 10 ปี จากราคากิโลกรัมละ 60 บาท ราคาทะยาน 180 – 190 บาท สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้กวาดซื้อเกลี้ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาพุ่ง คุณสุวรรณดี ซันสะมัน เจ้าของกาเซ็มฟาร์ม ผู้เลี้ยงแพะรายใหญ่ หมู่ 3 บ้านด่านโลด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง บอกว่า ภาวะตลาดเนื้อแพะขณะนี้เป็นช่วงขาขึ้นราคาขยับสูงขึ้นดังไม่เคยปรากฏมาก่อน ขณะนี้ราคาได้ขยับสูงขึ้นโดยแพะมีชีวิต ซื้อขายกันอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 170 – 190 บาท หากเป็นแพะชำแหละแล้วประมาณ 250 – 260 บาท / กิโลกรัม ทั้งนี้เนื่องจากแพะต้องนำเข้าสู่โครงการการเลี้ยงแพะในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะแพะขาดแคลน จนมีการแข่งขันกันซื้อ “ตลาดแพะส่วนใหญ่จะเป็นตลาดของชาวมุสลิมที่ต้องใช้แพะเพื่อกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณีซึ่งความต้องการของตลาดมีทุกวัน ทำให้ปัจจุบันไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของตลาดได้ทันท่วงที ส่วนร้านอาหารที่สามารถผลิตส่งขายได้ก็ไม่กล้าผลิตส่ง เพราะวิตกว่าจะนำสินค้าตอบสนองไม่ได้ดังความต้องการ เนื่องจากการผลิตส่งร้านอาหาร ภัตตาคารจะต้องมีการทำสัญญา การส่งตามนัดหมาย รวมถึงจ
เขตทุ่งครุหรือที่คนรุ่นเก่าจะคุ้นเคยในชื่อบางมด นอกจากจะมีส้มบางมดที่เลื่องชื่อ เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในย่านนี้แล้ว ใครจะรู้บ้างว่าเขตทุ่งครุนั้นยังมีของดีที่ขึ้นชื่อไม่แพ้ส้มบางมดอีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือ “แพะ” ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ชาวชุมชนทุ่งครุนิยมเลี้ยง เนื่องจากบริเวณนี้ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ซึ่งตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม ถ้าเด็กเกิดมาใหม่จะต้องรับขวัญเด็กโดยการแจกทานเนื้อแพะ ชาวบ้านจึงนิยมเลี้ยงทั้งแพะนมและแพะเนื้อ และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนนี้อย่างมาก “แพะ” จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับเกษตรกรในเขตทุ่งครุ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในซอยพุทธบูชา 36 เขตทุ่งครุได้รวมตัวกันตั้งเป็น “กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ทุ่งครุ” มีบทบาทสำคัญและเป็นศูนย์กลางในการนำเสนอข่าวสาร รวมถึงให้ความรู้สำหรับผู้สนใจด้านการเลี้ยงแพะ สายพันธุ์ รวมถึงการจัดจำหน่าย ต่อมาในปี 2554 ได้มีการรวมกลุ่มสมาชิก 35 คนในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ พัฒนาและต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมแพะอีกหลายชนิด เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ โลชั่นบำรุงผิว น
คุณดิเรก มะหะหมัด อยู่บ้านเลขที่ 10 ไมตรีจิต 7/1 แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ มีอาชีพการเกษตรกรรมหลายอย่าง ทั้งการทำนา รับจ้างทั่วไปทางเกษตร เลี้ยงวัว และเลี้ยงแพะเนื้อหรือแพะขุน คุณดิเรก มะหะหมัด(เสื้อขาว)กับเพื่อนสมาชิก คุณดิเรกชี้ว่า เลี้ยงแพะได้ประโยชน์มากกว่าวัว เพราะมีข้อดีหลายอย่าง ทั้งการมีลูกเร็ว ลงทุนน้อย ขายได้เร็ว และตลาดยังมีความต้องการตลอดเวลา เพียงแต่การเลี้ยงแพะมีความยุ่งยากกว่า เพราะต้องเลี้ยงหลายตัว ดังนั้น หากเทียบการลงทุนระหว่างเลี้ยงแพะกับวัวด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันแล้วจะพบว่าการเลี้ยงแพะคุ้มค่ากว่า แนวทางการเลี้ยงแพะเนื้อของชาวบ้านรายนี้จะซื้อแพะที่มีความเด่นของแต่ละสายพันธุ์มาผสมกันเพื่อให้ได้แพะที่ตรงตามความต้องการของตลาด อย่างเช่น ใช้แพะนมผสมกับแพะเนื้อเพื่อต้องการให้ตัวโต มีเนื้อมาก โดยใช้พันธุ์บอร์ผสมกับแพะนม หรือพันธุ์แองโกลนูเบียน โดยมีเจตนาเพื่อให้ลูกที่ออกมาเป็นลูกผสมบอร์ซึ่งจะทำให้ได้น้ำนมมากแล้วช่วยให้ลูกแพะมีนมกินอย่างเพียงพอ พร้อมกับมีขนาดตัวโตและอัตราเนื้อที่ดี โรงเรือนเลี้ยงแพะของคุณดิเรกมีขนาดยาว 10 เมตร กว้าง 7.50 เมตร สามารถเลี้ยงแพะได้
คุณรัชดา นุ่มหอม อยู่บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 12 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้แบ่งพื้นที่นาของเธอบางส่วนมาทำเกษตรผสมผสานควบคู่ไปกับการเลี้ยงแพะ ซึ่งเธอบอกว่า ณ เวลานี้ พอใจกับการเลือกแนวทางนี้ เพราะทำให้เธอได้มีรายได้หลายทางมากกว่าสมัยก่อน เมื่อเทียบกับการทำอะไรแบบเดิมๆ หรือแบบเชิงเดี่ยวมากเกินไป คุณรัชดา นุ่มหอม และสามี คุณรัชดา สาวที่มากด้วยรอยยิ้ม เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพรับจ้างเป็นสาวโรงงาน เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่งรู้สึกว่าอาชีพนี้ไม่เหมาะกับเธอ จึงได้กลับมาอยู่บ้านเพื่อทำเกษตรกรรม คือ การทำนา ซึ่งก่อนที่จะลงมือทำนานั้นเธอบอกว่าก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องมีเงินทุนสำรองเพื่อใช้จ่ายจนกว่าข้าวที่ปลูกจะเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ จึงทำให้เธอต้องไปกู้เงินจากแหล่งกู้ต่างๆ เพื่อนำเงินมาหมุนเวียน “พอเรากู้เงินมา พอถึงหน้าเก็บเกี่ยวผลผลิต เราก็ขายข้าวไป พอได้เงินมาเราก็นำไปใช้คืน เสร็จแล้วก็กู้คืนมาใหม่ ทำไปทำมาเหมือนจะไม่มีเงินเก็บ หนี้สินกลับมากขึ้นกว่าเดิม ทีนี้มาย้อนคิดดูแล้วว่า เราจะทำแต่นาอย่างเดียวไม่น่าจะไปได้ดี ต้องหาอะไรมาช่วยเสริม คือการทำเกษตรผ
การเลี้ยงแพะกำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน เพราะขั้นตอนการเลี้ยงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่มากเหมือนอย่างเช่นสมัยก่อน และที่สำคัญในเรื่องการทำตลาดแพะสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง เช่น แพะสวยงาม นำไปประกอบอาหาร และผลิตลูกพันธุ์ดีให้กับผู้ที่สนใจเลี้ยงต่อไป เพราะแพะสามารถให้ลูกได้ไว โดย 2 ปี อาจผลิตลูกได้เฉลี่ย 3-4 คอก จึงได้ผลตอบแทนและคืนทุนให้กับผู้เลี้ยงได้ไม่ยาก คุณวสันต์ กลิ่นสุข สัตวแพทย์ชำนาญงาน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ให้ข้อมูลว่า การทำปศุสัตว์ในอำเภอบางเลน นอกจากการเลี้ยงไก่ไข่ที่โดดเด่นแล้ว การเลี้ยงแพะกำลังได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน โดยทางสำนักงานมีความรับผิดชอบในเรื่องของการทำวัคซีนให้กับเกษตรกร เพื่อให้ฟาร์มเป็นแหล่งเลี้ยงที่มีความปลอดโรคและได้มาตรฐาน ดังนั้น ทางสำนักงานจึงมีการให้ความรู้ต่างๆ ของการเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงอยู่เสมอ คุณพัชรีภรณ์ ภิรมนตรี อยู่บ้านเลขที่ 161 หมู่ที่ 6 ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ยึดอาชีพการเลี้ยงแพะหลังจากลาออกจากงานประจำ จนสามารถประสบความสำเร็จทำการตลาดหลากหลาย เช่น การผลิตลูกพันธุ์ การเลี้ยงแพะสวยงาม ตล