ราคาโกโก้
คุณมนูญ ทนะวัง เจ้าของสวนโกโก้ ตั้งอยู่ เลขที่ 141 หมู่ที่ 4 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้นำโกโก้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไอเอ็ม 1 พันธุ์เอิร์ทเซฟ เนวี 1 และพันธุ์ชุมพร มาทดลองปลูกภายในสวนจนประสบผลสำเร็จ สามารถเก็บผลผลิตนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดเป็นรายได้ให้กับคุณมนูญได้เป็นอย่างดี คุณมนูญ ทนะวัง และภรรยา คุณมนูญ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานบริษัทเอกชน แต่รู้สึกว่าการทำงานยังไม่มีความสุขตรงกับที่ใจชอบ จึงได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดน่าน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ของคุณมนูญมีสวนไม้ผลที่ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้มานานแล้ว เมื่อมีโอกาสได้กลับมาอยู่บ้าน จึงมองหางานที่สามารถทำควบคู่ไปกับสวนไม้ผลของครอบครัว โดยประยุกต์เข้าด้วยกัน แต่มีรายได้เลี้ยงตนเองได้ จึงได้เริ่มลงมือทำสวนโกโก้ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เขาชื่นชอบ ต้นกล้าโกโก้ “พอคิดว่าต้องกลับมาอยู่บ้านแน่ๆ สิ่งที่ต้องยึดเป็นอาชีพ ก็มองเลยว่าเรารักเราชอบอะไร เพราะสิ่งที่เราชอบมันจะส่งผลให้ทำสิ่งนั้นออกมาได้ดี ก็เลยมองว่าเราชอบทานช็อกโกแลต หากได้ทำสวนโกโก้ สิ่งนี้ก็น่าจะอยู่กับเราไปได้นาน ในช่วงที่เราต้องมาอยู่บ้านเกิดอย่างเต็มตัว เพราะงาน
ราคาโกโก้ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 8,000 ดอลลาร์ต่อตันในตลาดโลก ทำให้เกษตรกรไทยผู้ปลูกโกโก้หลายคนตั้งความหวังว่า จะส่งผลดีต่อราคาโกโก้ไทย “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “กนกเกศ ละอองศรี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาร์ค ริณ ฟาร์ม จำกัด และบริษัท มาร์ค ริณ ช็อกโกแลต จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตและแปรรูปช็อกโกแลตรายใหญ่ สัญชาติไทยแบรนด์แรก MarkRin Chocolate มาสะท้อนภาพตลาดโลกและตลาดไทย รวมถึงการดำเนินธุรกิจของมาร์ค ริณ 30 ปีพัฒนาพันธุ์ส่งเสริมปลูก มาร์ค ริณได้ใช้เวลากว่า 30 ปีในการปรับปรุงและพัฒนาโกโก้สายพันธุ์ไทยขึ้นมาในชื่อพันธุ์ I.M.1 (ไอ.เอ็ม.1) ซึ่งเป็นโกโก้ที่จัดอยู่กลุ่มพันธุ์ Trinitario และได้เริ่มส่งเสริมการปลูกให้กับกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศมาเกือบ 20 ปี มีสมาชิกภายใต้เกษตรพันธสัญญา 3,000 กว่าราย รวมพื้นที่ปลูกประมาณ 6,000 กว่าไร่ โดยทำสัญญาระยะยาวครอบคลุมถึง 30 ปี เนื่องจากโกโก้มีอายุ 50-60 ปี จึงต้องมีสัญญารับซื้อชัดเจน และครอบคลุมไปถึงการควบคุมคุณภาพในการรับซื้อผลผลิต ดังนั้น เรื่องพันธุ์ตามสัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับการทำตลาดทั้งในปัจจุบันแ
ราคาโกโก้พุ่งทะลุเพดานตลาดโลกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคาขายในตลาดล่วงหน้า (Cocoa Continuous Contract หรือ CCOO) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าตัว จากราคา 4,275 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในช่วงวันที่ 2 มกราคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2567 เป็น 11,516 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งยังเป็นสถิติราคาที่สูงที่สุดในรอบ 47 ปี หลายคนมองว่าราคาพุ่งสูงขนาดนี้เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในประเทศไทยที่ล้มลุกคลุกคลานมาเนิ่นนาน น่าจะสามารถลุกขึ้นลืมตาอ้าปากได้ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สำรวจมุมมองของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในภาคเหนือ ภาคใต้ รวมถึงผู้ประกอบการและตัวแทนภาครัฐ ว่าความร้อนแรงของทิศทางราคาโกโก้ในตลาดโลกจะมีผลสะท้อนต่อราคาโกโก้ไทยอย่างไร และจะผลักดันโกโก้ไทยไปสู่เวทีโลกได้หรือไม่ คุณภาพเทียบชั้นตลาดโลก นายภูริชญ์ ฐานะวุฑฒ์ เจ้าของร้าน “ภราดัย คราฟต์ ช็อกโกแลต & คาเฟ่” (PARADAi – Crafted Chocolate & Cafe) ซึ่งได้รับรางวัล “Overall Winner” Best Dark Chocolate 2022 จากงาน International Chocolate Awards – WORLD FINAL 2022 ด้วยคะแนนสูงถึง 91.80 คะแนน ถือเป็นรางวัลในการผลิต Craft choco
บริษัท เอกณรงค์ฯ ประกาศรับซื้อผลผลิตโกโก้ทั่วภาคใต้ไม่จำกัดจำนวน หลังได้ลูกค้ารายใหญ่ “โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ” และยักษ์ “อาลีบาบา” รับซื้อ ส่งผลราคา “โกโก้” ไซซ์ใหญ่ ราคาพุ่งเป็น 10-12 บาทต่อกิโลกรัม ผลแห้ง 250 บาทต่อกิโลกรัม ชี้ผลผลิตราคาดีต้องได้มาตรฐานที่กำหนด นายจีระวัฒน์ ภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกณรงค์ หมากไทย จำกัด ผู้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้เปิดรับซื้อโกโก้ทั่วพื้นที่ภาคใต้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อส่งเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ และบริษัทอาลีบาบา (Alibaba) ประเทศจีน ซึ่งมีความต้องการผลผลิตโกโก้ที่มีคุณภาพจำนวนมาก โดยมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนดต้องมีน้ำหนักลูกละ 500 กรัมขึ้นไป เพราะจะมีเมล็ดข้างในที่ได้ขนาดมาตรฐาน โดยโกโก้สดจะรับซื้อราคาประมาณ 10-12 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนโกโก้แห้งรับซื้อราคา 250 บาทต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมามีตัวเลขการขายพันธุ์โกโก้ให้เกษตรกรเป็นหลักแสนต้นในแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดพัทลุง สตูล ตรัง และนครศรีธรรมราช แต่เมื่อผลผลิตออกจำนวนมากกลับไม่มีตลาดรองรับ ทำให้มีปล่อยทิ้งต้นโกโก้ไม่มีการดูแล บางรายโค่นต
สองพ่อลูก นายดาบตำรวจเฉลิมพล บุญทาหมั้น วัย 52 ปี ปัจจุบันรับราชการตำรวจ และลูกชาย คุณนิติภูมิ บุญทาหมั้น จบวิศวะเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยชื่อดังจากกรุงเทพฯ ในวัย 25 ปี แต่สนใจที่จะปลูกโกโก้ เพราะมองเห็นว่าเป็นพืชต่างถิ่นที่เจริญงอกงามได้ค่อนข้างดีที่เมืองไทย โดยใช้เวลาหลังเลิกงานและวันหยุด “เดิมทีผมได้ยินแต่ว่า โกโก้ นั้นปลูกได้แต่แถบทางภาคใต้ เพราะเป็นพืชเขตร้อนชื้นที่ต้องการน้ำมากและความชื้นสูง แต่โกโก้พันธุ์ไทยที่เจริญเติบโตได้ดีในแถบภาคใต้กลับเติบโตได้ดีในภาคเหนือเช่นกัน ปัจจุบันมีการปลูกแพร่หลายมากมาย ด้วยเหตุผลที่ว่าปลูกโกโก้นั้น ปลูกง่าย ดูแลง่าย และให้ผลผลิตตามที่ต้องการหลายปี เป็นไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตค่อนข้างดีในเมืองไทย ผมชอบทำเกษตรอินทรีย์ และเห็นว่าต้นโกโก้ไม่ชอบสารเคมี จึงเหมาะกับผมมาก…งานปัจจุบันนี้หายาก บริษัทต่างๆ ก็มีแต่จะปิดตัวลง ปัญหาเศรษฐกิจโลกและโรคระบาดนั้น ผมเลยเป็นเด็กยุคนิวนอร์มอลครับ ผมสนใจเกษตรตามคุณพ่อ เห็นคุณพ่อและคุณปู่ทำการเกษตรมาตั้งแต่เด็ก ผมภูมิใจในตัวท่านมาก ผมมุ่งมั่นที่จะเจริญรอยตามคุณพ่อ หันมาทำการเกษตรอย่างเต็มตัวและอย่างภาคภูมิใจ และพร้อมจะ
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดโครงการนำสื่อมวลชนศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้เขียนได้ติดตามชมผลงานของศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในส่วนความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน กรมวิชาการเกษตร โดยมี คุณมณเทียน แสนดะหมื่น นักวิชาการเกษตร รักษาการหัวหน้าศูนย์ให้คำบรรยายและนำชมแปลงปลูกโกโก้ สรุปได้ว่า โกโก้ มีการพัฒนาพันธุ์มาจาก 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์คริโอโล ลักษณะผลใหญ่มีสีแดงหรือเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เปลือกบางนิ่ม ผิวขรุขระ ก้นแหลม เมล็ดใหญ่สีขาวหรือม่วงอ่อน กลิ่นหอม รสชาติดี ผลผลิตต่ำ ไม่ต้านทานโรค สายพันธุ์ฟอรัสเทอร์โร่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เวสต์แอฟริกัน อมีโลนาโด และอับเปอร์อะเมซอน สายพันธุ์ตรินิทาริโอ นอกจากนี้ จะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม คือ พันธุ์ลูกผสมชุมพร 1 รับรองโดยกรมวิชาการ เมื่อ 17 มิถุนายน 2537 ลักษณะผลป้อม ร่องค่อนข้างตื้น ผิวเรียบ ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อในเมล็ดสีม่วง เริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูก 2 ปี ลักษณะเด่นคือ ออกผลเร็ว ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โกโก้เป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจากการติดตามของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 (สศท.10) พบว่า เกษตรกรหันมาปลูกต้นโกโก้เป็นพืชเสริมในสวนปาล์มน้ำมัน และสวนมะพร้าว เนื่องจากโกโก้เป็นพืชที่ต้องการร่มเงา นับเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งแก่เกษตรกร โดยโกโก้ปลูกได้ทั้งเชิงเดี่ยว และแซมในพืชอื่น หากปลูกในสวนมะพร้าว 1 ไร่ สามารถแซมโกโก้ได้ประมาณ 84 ต้น และในสวนปาล์ม 1 ไร่ สามารถปลูกแซมโกโก้ได้ประมาณ 54 ต้น สำหรับ โกโก้ เป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 3 ปี เมื่อต้นยิ่งมีอายุมาก ยิ่งให้ผลผลิตสูง ช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากโกโก้ที่ปลูกมานาน จะมีเศษใบไม้ทับถมเน่าเปื่อยผุพังตามธรรมชาติกลายเป็นอินทรียวัตถุอย่างดี ประกอบกับโกโก้เป็นไม้ใบใหญ่มีใบมากและร่มเงาทึบ บริเวณใต้ต้นจึงไม่มีวัชพืช จึงมีส่วนช่วยให้ไม่ต้องคอยกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มและสวนมะพร้าวนั่นเอง คุณนิตย์ ตั่นอนุพันธ์ หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ ตำบลทองมงคล อำเภอบ