ราคาไข่
เกษตรกรกัดฟัน “ตรึงราคา” หมู-ไข่ สวนทางต้นทุนการเลี้ยง หน้าร้อนต้องเพิ่มต้นทุนซื้อน้ำแพง ไก่ให้ผลผลิตลด บางรายแบกไม่ไหวเบรกเลี้ยงชั่วคราว วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จะตรึงราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ในวันพระ 22 พฤษภาคม 2567 ไว้เท่ากับวันพระก่อนหน้า ที่ 15 พฤษภาคม 2567 ดังนี้ ภาคตะวันตก ราคา 72 บาทต่อกิโลกรัม ภาคตะวันออก ราคา 72-76 บาทต่อกิโลกรัม ภาคอีสาน ราคา 76 บาทต่อกิโลกรัม ภาคเหนือ ราคา 75-78 บาทต่อกิโลกรัม ภาคใต้ ราคา 76 บาทต่อกิโลกรัม ลูกสุกรขุนเล็ก 16 กิโลกรัม วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2567 : 1,900 บาท บวก/ลบ 74 บาท ทั้งสาเหตุที่ตรึงราคางวดก่อนหน้าเป็นผลจากสภาวะการค้าสุกรขุนหน้าฟาร์มยังคงทรงตัว ตัวเลขเข้าเชือด เดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ 1,949,234 ตัว หรือเฉลี่ย 64,974 ตัวต่อวัน เป็น New High Record ทำลายสถิติ มกราคม 2567 ที่เฉลี่ยต่อวัน 63,663 ตัว ส่วนโครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร (หมูหัน) เปิดรับสมัครฟาร์มขนาด 2,000 แม่พันธุ์ขึ้นไป โดยกำหนดจำนวนลูกสุกรที่จะตัดวงจรไว้ที่ 5
ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยนำมาเลี้ยงภายในบริเวณบ้านหรือพื้นที่ว่าง เพื่อเป็นการผลิตไข่ไว้ประกอบอาหารภายในครัวเรือน เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว เศษอาหารที่เหลือจากชีวิตประจำวันจากมื้ออาหารยังสามารถนำมาใช้สำหรับเป็นอาหารให้ไก่กินได้ ซึ่งไข่ที่ได้จากไก่ที่เลี้ยงหากกินไม่ทันจนมีมากพอ ยังนำไปจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้อีกหนึ่งช่องทาง คุณทรงพจน์ อ่อนแช่ม อยู่บ้านเลขที่ 33/1 หมู่ที่ 2 ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี โดยยึดการเลี้ยงให้ไก่มีพื้นที่ว่างสามารถเดินเล่นและคุ้ยเขี่ยได้ ที่สำคัญนำอาหารพวกธัญพืชที่ได้จากการปลูกแบบไม่ใช้สารเคมีมาให้ไก่กิน ทำให้ไข่ที่ได้มีคุณภาพสามารถจำหน่ายได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการจนสินค้ามีไม่พอจำหน่ายเลยทีเดียว คุณทรงพจน์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานอยู่บริษัทเอกชนและได้ใช้เวลาช่วงวันหยุดมาทำเกษตรในแบบที่ชอบ ช่วงนั้นยังไม่ได้ลงมาดูเต็มตัว เน้นจ้างคนอื่นช่วยดูแล เมื่อทำมาได้สักระยะหนึ่งเห็นถึงผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ จำหน่ายไม่ได้ราคา ส่งจำหน่ายก็เกิดสภาวะขาดทุน จึงได้ตัดสิ
ปัจจุบัน กระแสสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ใส่ใจในการดูแลตัวเอง โดยเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินอาหารคลีน หรืออาจจะเป็นอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบที่ปลูกแบบระบบอินทรีย์ก็เป็นความมั่นใจของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้นอกจากพืชที่ปลูกในระบบอินทรีย์แล้ว แม้แต่สัตว์บางชนิดก็สามารถนำมาเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อีกด้วย โดยปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติมีการเลี้ยงด้วยอาหารที่ได้จากพืช ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง จึงส่งผลให้สัตว์ที่เลี้ยงด้วยระบบนี้สามารถทำราคาทางด้านการตลาดที่สูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไปเป็นเท่าตัว อย่างเช่น ไข่ไก่ที่ผ่านการเลี้ยงในระบบอินทรีย์เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสามารถหาซื้อเองได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าที่ขายสินค้าอินทรีย์ หรือถ้าหากอยากมีกิจกรรมยามว่างก็สามารถหาไก่ไข่มาเลี้ยงแล้วเก็บไข่ไว้กินภายในครัวเรือนเองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประหยัดรายจ่าย คุณณธรา แย้มพิกุล อยู่ที่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 19 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรผู้มีความชอบการกินอาหารที่ปลูกในระบบอินทรีย์ โดยผลไม้และผักสวนครัวต่างๆ ที่ปลูกใ
สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้พอใจราคาคละหน้าฟาร์ม แตะ 3 บาท/ฟอง ชี้เกษตรกรอยู่ได้-ผู้บริโภครับได้ แนะบางกลุ่มรู้จักพอ ถ้าไม่อยากเจอวังวนราคาตกต่ำอีก นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกรในปัจจุบันอยู่ที่ฟองละ 3.00 บาท เป็นราคาที่เกษตรกรอยู่ได้ หลังจากเกษตรกรแบกรับภาวะขาดทุนมานานร่วม 2 ปี ขณะเดียวกัน ก็เป็นราคาที่ผู้บริโภครับได้ ถือเป็นจุดสมดุลของราคาไข่ที่ควรสร้างให้มีเสถียรภาพเช่นนี้ต่อไปอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจแก้ปัญหาของภาครัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ อย่างไรก็ตาม ในทุกวงการย่อมมีคนหลายประเภทปะปนกันอยู่ ขณะที่ราคาไข่มีความเหมาะสมแล้วก็ยังมีคนบางกลุ่มต้องการขอขยับราคาไข่ไก่ขึ้นอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว “ขอให้เอ้กบอร์ด กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ อย่าใจอ่อนกับคนกลุ่มเล็กๆ ผมเองก็เป็นเกษตรกร เข้าใจดีว่าใครๆ ก็อยากมีรายได้เพิ่มกันทั้งนั้น แต่การขอขึ้นราคาไข่ไปเรื่อยๆ อาจส่งผลกระทบในภาพรวม เช่น ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน และจะจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มจำนวนไก่ที่เลี้ยงกระทั่งส่งผลให้ปริมาณไข
คุณระเบียบรัตน์ มณีมัย หรือ พี่แดง อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 5 ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ทำการเกษตรหลากหลาย ทั้งปลูกผักกางมุ้ง เลี้ยงสุกรขุน ทำไร่นาสวนผสม มีรายได้หมุนเวียนจากกิจกรรมที่ทำตลอดทั้งปี และยังให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทำอาชีพเกษตรกรรม โดยสามารถเข้ามาชมที่สวนได้ตลอดเวลาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรอำเภอเขาพนม ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. ศูนย์เครือข่าย) ซึ่งจะมีทั้งเกษตรกรในพื้นที่และจากจังหวัดใกล้เคียงมาเยี่ยมชมไม่ขาด จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงไก่ดำนั้น พี่แดง เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนชอบการเกษตรและมักศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จนมาพบข้อมูลไก่ดำ เป็นไก่ที่เลี้ยงง่ายเหมือนไก่บ้านทั่วไป โตเร็ว แต่ขายได้ราคาสูง เนื่องจากยังมีไม่แพร่หลาย จึงทดลองสั่งไก่ดำจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ มาทดลองเลี้ยง 1 ชุด เป็นพ่อพันธุ์ 1 ตัว และแม่พันธุ์ 2 ตัว เลี้ยงไป 2 เดือน จึงเริ่มออกไข่และได้ลูกไก่ชุดแรก ก็มีเพื่อนบ้านมาขอซื้อจนหมด จำได้ว่าขายลูกไก่ไป 10 ตัว ได้เงินมา 1,500 บาท จึงมั่นใจว่าไก่ดำน่าจะเป็นที่ต้อง
แก้ไข่ไก่ราคาตกต่ำ – นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมกับผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ไข่รายใหญ่ 16 บริษัท ว่า ได้หารือถึงปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ เนื่องจากผลผลิตไข่ออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการของตลาด ที่ประชุมจึงเห็นชอบ 3 มาตรการเร่งด่วน เพื่อปรับลดปริมาณการผลิตไข่ ประกอบด้วย 1. ให้ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง จำนวน 1 ล้านตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งมีบริษัทให้ความร่วมมือ 15 บริษัท 2. ส่งออกไข่ไก่ 60 ล้านฟอง ภายใน 1 เดือน ซึ่งมีบริษัทให้ความร่วมมือ 13 บริษัท คือ ซีพี 40 ล้านฟอง เบทาโกร 10 ล้านฟอง อื่นๆ 10 ล้านฟอง และ 3. ปลดพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ (ps) อายุ 25-60 สัปดาห์ จำนวน 1 แสน ตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งมีบริษัทให้ความร่วมมือ 16 บริษัท นอกจากนี้ ได้สั่งให้กรมปศุสัตว์ติดตามตรวจสอบให้บริษัทดำเนินการตามมติ โดยติดตามการปลดแม่ไก่ยืนกรง ไก่ไข่พ่อ-แม่พันธุ์ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ อย่างช้าต้องไม่เกิน 30 พ.ย. นี้ ติดตามการส่งออกไข่ไก่ทุกสัปดาห์ และติดตามตรวจสอบห้องเย็น เก็บไข่ไก่รอการส่งออก ห้ามนำไข่ไก่ 60 ล้านฟอง มาจำหน่ายตลาดภายในประเทศ ซึ่งการดำเนินการตามมาตรการข้างต้น คาดว่าจะสามารถทำให้ราค
คุณภิญโญ นัครมนตรี อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรอยู่แล้ว คือ การปลูกผัก ผลไม้ ต่อมาจึงอยากให้ภายในบริเวณบ้านมีการทำเกษตรที่หลากหลาย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของรายได้ เพื่อให้มีรายได้จากหลายๆ ทางเป็นตัวเลือกในการสร้างเงิน “เรามาคิดว่าถ้าปลูกพืชเพียงอย่างเดียว รายได้ที่มีบางครั้งอาจจะไม่แน่นอน เพราะพืชบางช่วงก็มีราคาขึ้นลง จึงได้ตัดสินใจนำการเลี้ยงสัตว์เข้ามาเสริม เพื่อให้รายได้มีมากขึ้นหลายทาง จึงได้ตัดสินใจเลี้ยงไก่ไข่ เพราะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย สามารถกินเศษพืชผักที่เราคัดออกได้ และที่สำคัญยังสามารถปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ ก็สามารถคุ้ยเขี่ยหากินเองได้อีกด้วย” คุณภิญโญ บอกถึงจุดประสงค์ของการเลี้ยง โดยไก่ไข่ที่นำมาเลี้ยงภายในพื้นที่บริเวณบ้าน คุณภิญโญ บอกว่า เป็นไก่ที่ได้รับจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และเขาได้หาซื้อบางส่วนเข้ามาเลี้ยงเองด้วย จากเริ่มแรกประมาณ 10 ตัว เลี้ยงไปเลี้ยงมาทำให้ตอนนี้มีไก่ไข่ที่เลี้ยงภายในบริเวณบ้านทั้งหมดถึง 200 ตัว ซึ่งเคล็ดลับการเลี้ยงไก่ไข่นั้นไม่มีขั้นตอนอะไรยุ่
นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เรียกนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร และนายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 2 คน เข้าหารือเพื่อติดตามงานในช่วง 2 เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง และได้สอบถามถึงการติดตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และได้สั่งการงานที่จะเดินหน้าจากนี้ต่อไปว่า ต้องดำเนินการในเรื่องที่กระทบปากท้องชาวบ้าน ทั้งเรื่องของราคาหมู ไข่ไก่ ยางพารา เป็นต้น เพราะเรื่องปากท้องชาวบ้านเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงเกษตรฯต้องเร่งจัดการ ส่วนงบประมาณรายจ่ายกลางปีจำนวน 150,000 ล้านบาท กระทรวงเกษตรฯ ได้งบประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่นายกฯ ได้ออกหลัก 9 ประการ และระบุว่าให้กระทรวงมหาดไทยเป็นคนรับผิดชอบประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวง โดยมีการสำรวจความต้องการของประชาชน ในส่วนของเกษตรฯ รับผิดชอบดูว่าเงิน 30,000 ล้านบาท ทำแผนอะไรบ้าง แต่ยืนยันไม่มีการแบ่งเงินจำนวน 15,000 ล้านบาท ไปดูแลชาวสวนหรือมุ่งไปดูแลราคายางพาราแต่อย่างใด เพราะรายละเอียด กระทรวงฯ ยังต้องหารือกันก่อน สำหรับเรื่องยางพาราที่ครม. มีมมีติแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำแล้ว ก็ให้ติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ดำเนินการรอะไรไปแล้วบ้าง ถึงไห
นายมาโนช ชูทับทิม อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์(เอ้กบอร์ด) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่และกลุ่มสหกรณ์ทั่วประเทศ ได้ประชุมฉุกเฉินเพื่อลดปัญหาปริมาณผลิตล้นตลาดและราคาไข่ไก่ตกต่ำ ซึ่งจะนำผลสรุปข้อเสนอของผู้เลี้ยงไปหารือกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน อาทิ กรมปศุสัตว์ กรมการค้าภายใน บริษัทผู้เลี้ยงและจำหน่ายรายใหญ่ เพื่อชี้แจงสถานการณ์และขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาทั้งระบบและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ขอสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำของเอ้กบอร์ด ด้วยการลดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ประมาณ 5-5.5 แสนตัวต่อปี จากเดิมนำเข้า 6.1 แสนตัวต่อปี เพื่อสร้างความสมดุลของการผลิตไข่ไก่และความต้องการบริโภค ส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพมากขึ้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำจากปริมาณผลผลิตล้นตลาดสะสมมาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งแนวทางบริหารจัดการความสมดุลระหว่างการผลิตไข่ไก่ให้เหมาะสมจะเห็นผลระยะยาว โดยต้องดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่นด้วย เช่น ความ