ราชประชานุเคราะห์
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 จังหวัดแพร่ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ในเขตพื้นที่บริการจังหวัดแพร่และจังหวัดอุตรดิตถ์มีพื้นที่ทั้งหมด 289 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวาได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 โดยเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาประเภทอยู่ประจำ โรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้ทั้ง ทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิต ตลอดจนกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดของนักเรียน เช่น กิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ปี 2547 เด็กนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 ซึ่งตั้งอยู่หมู่ 4 ตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ รวมกลุ่มก่อตั้งกลุ่มยุวเกษตรกร เริ่มต้นด้วยสมาชิก 150 คน และครูที่ปรึกษา 3 คน โดยวางเป้าหมายหลักของกลุ่มยุวเกษตรกรในการทำกิจกรรมเกษตร บูรณาการกับ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โรงเรียนแห่งนี้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งตรงกับวันครองราชย์ครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง “โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 42 จังหวัดสตูล เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนสหศึกษา ประเภทอยู่ประจำ จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส 10 ประเภท ได้แก่ เด็กที่ถูกบังคับให้ขายแรงงาน หรือแรงงานเด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กที่อยู่ในธุรกิจบริการทางเพศ เด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ เด็กยากจนมาก เด็กในชนกลุ่มน้อย เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ โรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ และ 10. เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก เมื่อเป็นโรงเรียนประเภทอยู่ประจำ อาหารการกินสำหรับเด็กนักเรียนจึงมีความจำเป็น โรงเรียนจึงจัดให้มี
ปีที่ผ่านมา สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เข้าไปส่งเสริมการนำมาตรฐานไปใช้ในสถานศึกษาระดับมัธยมนำร่อง 6 แห่ง ในจังหวัดน่าน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา เป็นหนึ่งในโรงเรียนทั้ง 6 แห่ง แนวทางที่มกอช.เข้าไปส่งเสริม คือ การผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อการบริโภค โดยจัดให้มีแปลงเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเรื่องมาตรฐานอาหารปลอดภัย แต่เหตุที่ต้องเข้ามาส่งเสริมในโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ รับนักเรียนจากหลายอำเภอ โดยเฉพาะนักเรียนที่เป็นชนเผ่า ไร้สัญชาติ จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ทำการเกษตรภายในโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งป้อนอาหารให้กับนักเรียนที่ต้องกินนอนในโรงเรียนตลอดปีการศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 แห่งนี้ มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำ เด็กนักเรียนที่มาเรียนที่นี่ต้องกินอยู่หลับนอน เรียนหนังสือ และใช้ชีวิตประจำวันที่โรงเรียนตลอดปีการศึกษา มีช่วงปิดเทอมที่ผู้ปกครองมารับกลับไปบ้านได้ ดูเหมือนไม่น่ามีอะไรที่ติดขัด แต่แท้ที่จริง โรงเรียนแห่งนี้มีเพียงพื้นที่ที่กว้