ราชาผลไม้
(ซินหัว) ปัจจุบันทุเรียนสดจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังทยอยเข้าสู่ตลาดจีนอย่างต่อเนื่องตามการมาถึงของฤดูเก็บเกี่ยวและจำหน่ายทุเรียน โดยเมื่อไม่นานนี้ มีการขนส่งทุเรียนไทยสู่จีน 6 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักรวม 96 ตัน ซึ่งเป็นการขนส่งผ่านเวียดนามและผ่านพิธีการศุลกากรอันรวดเร็ว ณ ด่านหลงปังในเมืองจิ้งซี เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน โดยทุเรียนชุดนี้ถูกขนส่งต่อไปยังเมืองหนานหนิงและกระจายสู่ตลาดทั่วจีน ราชาแห่งผลไม้อย่าง “ทุเรียน” ที่มีรสและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวจีนมากขึ้นและกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกประจำบน “จานผลไม้” ของชาวจีนหลายครอบครัว ซึ่งทุเรียนเนื้อสีเหลืองทองพูอวบอ้วนที่ข้ามทะเลข้ามภูเขาข้ามพรมแดนประเทศ เดินทางไกลจากปลายกิ่งก้านสู่ปลายลิ้นผู้บริโภคชาวจีนนี้ ได้บอกเล่าเรื่องราวมิตรภาพทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับไทยที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ณ ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งในเขตหย่งหนิงของเมืองหนานหนิง มีบรรดาลูกค้าเลือกซื้อทุเรียนหมอนทองจากไทยกันอย่างคึกคัก ซึ่งหญิงแซ่หวังคนหนึ่งเผยว่าซื้อทุเรียนหมอนทองจากไทยมารับป
ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีแหล่งดั้งเดิมในคาบสมุทรมลายู ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยคาดว่า ได้รับสายพันธุ์ทุเรียนมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จังหวัดนนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ต้นทุเรียนสาลิกา ในอดีตไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้า ประมาณ 60-80 พันธุ์ เท่านั้น ในปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลง และหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่นๆ ทุเรียนสายพันธุ์โบราณโดดเด่นเรื่องความทนทานโรค-แมลง และการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เพราะถูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์มาจากเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอดีต ช่วงที่นักวิชาการไปเก็บรวบรวมพันธุ์ทุเรียนโบราณจากแหล่งผลิตที่มีอายุการปลูก 40-50 ปี ขณะที่บางสวนมีทุเรียนต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก 100-200 ปี ก็เคยเจอมาแล้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชา
ผมเป็นคนชอบรับประทานทุเรียนเป็นที่สุดคนหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าทุเรียนมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไหน ฟังชื่อแล้วคงไม่ใช่ที่ประเทศไทยแน่นอน นอกจากนี้ ทุเรียนบ้านเรามีหลายสายพันธุ์ ทางวิชาการเขาจัดแยกกันอย่างไร ขอคำตอบด้วย ทุเรียน หรือ Durian เป็นภาษามาลายู ทั้งที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย ออกเสียงเหมือนกัน โดยมีรากศัพท์ของภาษามาลายูว่า ดูรี แปลว่า หนาม จากบันทึกของนายลาลูแบร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พบว่าประเทศไทยมีการปลูกทุเรียนกันแล้ว โดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออก ด้วยหลักฐานทางภาษาศาสตร์ ทุเรียนน่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินโดนีเซียและมาเลเซีย เนื่องจากทุเรียนของไทยมีหลากหลายพันธุ์ จึงมีการจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มกบ มีทั้งชนิดผลกลม ผลรี และกลมแป้น มีหนามโค้งงอ พันธุ์เด่นมีกบสุวรรณ ติดผลดก น้ำหนักผลประมาณ 2.0-2.5 กิโลกรัม เนื้อละเอียด กลิ่นแรง รสชาติหวานมันพอดี กลุ่มลวง พันธุ์ที่รู้จักกันดีคือ ย่ำมะหวาด พบมากที่จันทบุรี และปราจีนบุรี ผลขนาดใหญ่ ผลป้าน ปลายหนามตรง เนื้อผลสีเหลือง น้ำหนักผล เฉลี่ย 3 กิโลกรัม กลุ่มก้านยาว มีผลกลม ลักษณะเด่นคือมีก้านผลยาว เนื้อนุ่ม สีเหลืองนวล รสชาติหวานกลม
ทุเรียน ได้รับขนานนามว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ ในบ้านเรามีปลูกกระจายทั่วไป เช่น จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง ในภาคใต้หลายจังหวัด ทางภาคเหนือที่ จังหวัดอุตรดิตถ์ แต่ละพื้นที่ก็ปลูกสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไป ทั้งสายพันธุ์ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก และสายพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมปลูกและรับประทาน ในจังหวัดภาคเหนือได้มีเกษตรกรปลูกทุเรียนกันมากเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่สูง เช่น อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอแม่แตง เชียงดาว ไชยปราการ และฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่มีนักธุรกิจรายหนึ่งที่มีสายเลือดเกษตรกรจากบรรพบุรุษ ทดลองปลูกทุเรียนในพื้นที่ราบร่วมกับลำไย ไม้ผล พืชผักอื่นๆ ใช้เวลา 5 ปี ได้รับผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมี คุณพัชราภรณ์ พิลาศลักษณ์ หรือ คุณหน่อย สาวใหญ่วัย 54 ปี เล่าให้ฟังว่า ตนเองพื้นเดิมเป็นคนบ้านน้ำโท้ง หมู่ที่ 2 ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ คุณพ่อมีศักดิ์เป็นน้องชายของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ ปี 2439 ชาวจีนนำต้นลำไยรุ่นลูกจากต้นแม่ที่เป็นลำไยต้นแรกของไทย จำนวน 5 ต้น มาถวาย คุณพ่อนำมาปลูก