ฤดูฝน
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ซึ่งจะมีฝนตกต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมิถุนายน กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำให้เกษตรกรวางแผนการปลูกและรักษาพืชผัก เนื่องจากในช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำมากและความชื้นในอากาศสูง อาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้ หากเกษตรกรวางแผนการผลิตและดูแลรักษาไม่ดี ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอแนะนำ 7 เทคนิคการปลูกพืชผักให้เหมาะกับช่วงฤดูฝน ดังนี้ 1.การเลือกชนิดพืชผักที่เหมาะสม เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ พืชผักที่เหมาะสมสำหรับปลูกในฤดูฝน ได้แก่ ผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นจำพวกผักใบ เช่น กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี คะน้า ผักเถาเลื้อย เช่น ตำลึง ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาวแตงร้าน ฟักทอง ฟัก แฟง มะระ ผักยืนต้น เช่น ชะอม พริก มะเขือ เป็นต้น การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเพื่อเป็นการป้องกันเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด ควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น ประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมากับเมล็ดผัก การเตรียมดิ
ในช่วงฤดูฝน ผึ้งออกไปหาอาหารได้น้อยลง ขณะเดียวกันอาหารในแหล่งธรรมชาติก็มีปริมาณน้อย ซึ่งแหล่งอาหารสำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ ข้าวโพด งา ปาล์มน้ำมัน ไมยราบ กระถินนา ฯลฯ กลุ่มพืชเหล่านี้จะให้เกสรเป็นส่วนใหญ่ เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญแก่ผึ้ง นอกจากนี้ ในช่วงหน้าฝน หากรังผึ้งใดมีประชากรหนาแน่น เสี่ยงต่อการเกิดโรคและศัตรูผึ้งเข้าทำลาย ได้แก่ ไรศัตรูผึ้ง ดังนั้น เกษตรกรควรสำรวจรังผึ้งหลังเก็บน้ำผึ้ง ว่าปริมาณประชากรผึ้งภายในรังมีมากน้อยเพียงใด นางพญาผึ้งมีความสมบูรณ์หรือไม่ หากพบว่าภายในรังไม่มีนางพญาผึ้ง หรือนางพญาผึ้งไม่สมบูรณ์ ประชากรผึ้งงานมีจำนวนน้อย ให้รวมรังผึ้งเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประชากรผึ้งให้เพียงพอสำหรับดูแลรัง หาอาหารป้อนนางพญาและตัวหนอนต่อไป กรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำแนะนำว่า รังผึ้งที่แข็งแรงต้องปราศจากศัตรูมารบกวน เกษตรกรควรหมั่นสำรวจรังผึ้งทุกสัปดาห์ หากพบไรศัตรูผึ้งให้ใช้วิธีกลกำจัด โดยการกระตุ้นให้ผึ้งสร้างหลอดรังที่มีตัวผู้จำนวนมาก ให้เกษตรกรตัดแผ่นรังผึ้งเทียมช่วงล่างออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้ผึ้งงานสร้างหลอดรังผึ้งใหม่ หลังจากนั้น ผึ้งนางพญาจะวางไข่เป็นผึ้งตัวผู้ในหลอดรังผึ้ง
ใครๆ ก็รู้ว่า ช่วงหน้าแล้ง มะนาว มีราคาแพงที่สุดในรอบปี หลายคนอาจเคยซื้อมะนาวในราคาแพงถึงผลละ 10-15 บาท กันมาแล้ว แต่พอถึงช่วงฤดูฝนอย่างเต็มต้ว ต้นมะนาวกลับมีผลผลิตออกมามากจนล้นตลาด ราคาขายลดฮวบ เหลือแค่ ผลละ 1- 2 บาท เท่านั้น ความจริงปัญหามะนาวถูกในช่วงฤดูฝน แก้ไขได้ไม่ยาก แค่สร้างมูลค่าเพิ่มมะนาว โดยนำมะนาวมาแปรรูปในลักษณะมะนาวดองน้ำปลา สามารถขายได้ราคาสูงถึงผลละ 10 บาท เลยทีเดียว คุณมณี จังพานิช เกษตรกรชาวสวนมะนาว ในพื้นที่ตำบลดอนยอ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งมีรายได้เสริมจากการแปรรูปมะนาวดองน้ำปลาตลอดทั้งปี เล่าว่า คุณพ่อของเธอเป็นชาวจีนอพยพที่ได้สอนลูกหลานให้รู้จักการทำมะนาวดองสูตรโบราณ เริ่มจากนำผลมะนาวมาล้างน้ำให้สะอาดแช่น้ำเกลือ 3 คืนก่อนจึงค่อยนำลูกมะนาวมาฝนเปลือกออก ด้วยกระดาษทรายน้ำเอามีดปาดบริเวณหัวจุกมะนาวเป็น 4 แฉก และนำผลมะนาวไปนึ่งในความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ประมาณ 15-20 นาที หลังจากนั้น ให้นำผลมะนาวออกมาตากแดดอีก 3 วัน จึงนำไปนึ่งด้วยความร้อนอีกครั้ง ระหว่างนี้ คุณมณี จะเตรียมน้ำดองมะนาว ที่ใช้น้ำปลายี่ห้อที่คิดว่าอร่อยที่สุด ต้มร่วมกับน้ำตาลทรายจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เตือนเกษตรกรชาวสวนยางการ์ดอย่าตก หมั่นดูแลสวนยางในช่วงฤดูฝน หวั่นโรคใบร่วงชนิดใหม่อาจกลับมาระบาดหนักเพราะอากาศที่มีความชื้นสูง ย้ำควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและไม่ควรกรีดหน้ายางหักโหม โดยเฉพาะในสวนยางที่สภาพต้นไม่สมบูรณ์เนื่องจากการเข้าทำลายของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในปีที่ผ่านมาต้องดูแลมากเป็นพิเศษ นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนพี่น้องเกษตรชาวสวนยางว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมขังและสวนยางพาราของเกษตรกรอาจได้รับความเสียหาย จึงต้องหมั่นเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งการดูแลสวนยางในช่วงฤดูฝนนั้น กยท. แนะนำให้ใส่ปุ๋ยบำรุง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำทั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของต้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำยางพาราของต้นยาง ช่วงฤดูฝนมีปริมาณฝนตกมากทำให้สวนยางมีความชื้นสูงเหมาะแก่การเข้าทำลายของเชื้อราต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคกับต้นยาง ดังนั้นหลังการกรีดยาง เกษตรกรควรใช้ยาทารักษาหน้ายางเป็นประจำเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อรา ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมขัง ควรจัดกา
ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง สัตว์เลี้ยงมักมีสุขภาพอ่อนแอ และอาจไวต่อการติดเชื้อโรคระบาดได้ง่าย กรมปศุสัตว์จึงมีคำแนะนำในการดูแลและป้องกันโรคให้แก่สัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝน เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียม น้ำ อาหาร พร้อมอาหารเสริมประเภทวิตามิน ให้สัตว์เลี้ยงกินรวมทั้งทำวัคซีนป้องกันโรคไว้อย่างสม่ำเสมอ เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงฤดูฝน สัตว์เลี้ยงมักมีปัญหาเรื่องโรคที่แตกต่างกันออกไป เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ แกะ มักมีปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องเสีย จากการกินหญ้าอ่อนที่เพิ่งแตกยอดเมื่อได้รับน้ำฝนเข้าไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสัตว์กลุ่มนี้จะกินแต่ฟาง หรือหญ้าแห้งตลอดในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ ยังเผชิญปัญหาโรคหวัด โรคปอดบวม โรคคอบวม โรคปากและเท้าเปื่อยอีกด้วย ส่วน สุกร ต้องระวังโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคพีอาร์อาร์เอส โดยมักแสดงอาการผิดปกติที่เกษตรกรสามารถสังเกตได้คือ ซึม เบื่ออาหาร หากเป็น โค-กระบือ จะมีขี้ตา หายใจลำบาก มีขี้มูก ไอหรือจาม หรือท้องเสีย และอาจมีอาการแท้งลูกได้ ส่วนสัตว์เคี้ยวเอื้องในเบื้องต้นมักจะไม่มีการเคี้ยวเอื้อง จมูกเปียกแฉะหรือแห้งผิดปกติ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หนังไม่สั่นไล่
ปัญหาภัยธรรมชาติในโลกมนุษย์ขณะนี้รุนแรงขึ้นทุกวัน เราคงไม่สามารถไปต่อสู้กับสารพัดภัยธรรมชาติที่ประเดประดังเข้ามาได้ แต่เราสามารถเตรียมรับมือได้ หากตั้งอยู่บนความไม่ประมาท หลายครั้งหลายหน ความสูญเสียเกิดจากความประมาท ความมักง่ายของมนุษย์ เราจึงได้ยิน คำว่า “วัวหายล้อมคอก” กันอยู่เรื่อยๆ แม้ภัยธรรมชาติทุกครั้งจะสร้างความเสียใจให้กับเราอย่างมากมาย แต่ในระยะเวลาไม่นานก็มักจะเกิดเหตุการณ์เดิมๆ ซ้ำซากขึ้นมาอีก สถานการณ์เรื่องน้ำก็เช่นกัน หลายครั้งหลายหน เรียกได้ว่าบ่อยมาก หรือแทบจะทุกปี ประเทศเราสะบักสะบอมกับเรื่องน้ำ โดยเฉพาะ เมื่อ ปี 2554 ทุกคนคงจะจำเหตุการณ์นั้นได้เป็นอย่างดี หากมองย้อนกลับไป จะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่ง ความสูญเสียเกิดจากความประมาท การคาดการณ์ผิด และการส่งสัญญาณเตือนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สำหรับปีนี้ หน่วยงานด้านบริหารจัดการน้ำ ต่างยืนยันว่า ปริมาณน้ำไม่มากเหมือน ปี 2554 แต่เมื่อมาถึง ณ วันนี้ เพิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนได้ไม่นานนัก ปรากฏว่า ปริมาณน้ำในหลายเขื่อนเริ่มอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง ล่าสุด กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ จากสถานการณ์ฝ
เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว ฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้หลายพื้นที่มีสภาพอากาศที่เย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคหลายชนิด นำไปสู่การเจ็บป่วยได้ง่ายและรวดเร็ว หน้าฝนนี้มีหลายโรคสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค มีความเป็นห่วงสุขภาพของประชาชน จึงออกมาเตือนให้ระมัดระวัง 7 โรคฮิตที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว สภาพอากาศที่เริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคได้ง่ายและรวดเร็ว จึงขอเตือนประชาชนหากใครไม่อยากเจ็บป่วยก็ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และให้ระมัดระวังป้องกันตัวเองจาก 7 โรคฮิตที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนได้แก่ 1. โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบวกกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศชื้นช่วงฤดูฝนจะเป็นพาหะของโรคระบบทางเดินหายใจ มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคง่ายและเร็ว เพียงแค่ไอ จาม
วันที่ 17 ส.ค.60 เวลา 08.30 น. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี ประกาศแจ้งเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ให้ทำการเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาดในสัตว์ปีกที่อาจติดต่อสู่คนในช่วงที่มีพายุฝน หลังจากในพื้นที่เริ่มกลับมามีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพสัตว์ปีกทำให้อ่อนแอ เน้นย้ำให้เกษตรกรจัดเตรียมโรงเรือน วัสดุปูรองและอาหารสัตว์ให้เพียงพอ รวมถึงการเฝ้าระวังดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยนายอภิชาติ สุวรรณชัยรบ ปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี เปิดเผยว่า เนื่องจากขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เริ่มกลับมามีฝนตกทุกติดต่อกันอย่างทั่วถึง จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ปีก ทำให้สัตว์ปีกอ่อนแอแะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย อีกทั้งยังมีรายงานข่าวว่า พบสัตว์ปีกป่วยตายในหลายจังหวัด ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคระบาดในสัตว์ปีกที่อาจติดต่อสู่คนได้ ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี จึงได้ทำการแจ้งเตือนไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและประชาชนให้ได้ทราบและปฏิบัติ ดังนี้ 1. หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ซึม ไอ จาม หายใจลำบาก หงอนเหนียงคล้ำ ท้องเสีย ชัก ตายกะทันหันไม่แสดงอาการชัดเจน หรือพบอาการตายผิดป