ฤดูหนาว
กรมหม่อนไหมแนะนำเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในฤดูหนาว ควรปลูกพืชคลุมดินให้ต้นหม่อนเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากดิน และเลี้ยงไหมให้เหมาะสมตามสภาพอากาศและความชื้น นายสันติ กลึงกลางดอน รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ในช่วงหลังจากหมดฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ที่ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น ซึ่งมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในบางพื้นที่ อาจจะประสบปัญหาต้นหม่อนขาดน้ำ เนื่องจากดินที่ปลูกหม่อนขาดความชื้น ต้นหม่อนมีการคายน้ำมาก ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ปริมาณใบหม่อนที่ได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงไหมและมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรจึงควรหมั่นดูแลแปลงหม่อนอย่างสม่ำเสมอ โดยใส่อินทรียวัตถุและปุ๋ยคอกในแปลงหม่อนเพื่อให้ดินร่วน น้ำสามารถซึมลงผิวดิน และซับน้ำไว้ได้ดี ใช้วัสดุคลุมผิวดินเพื่อรักษาความชื้น ป้องกันความร้อนจากแสงแดด อาทิ ฟางข้าว เปลือกถั่ว ซังข้าวโพด แกลบดิบ เป็นต้น ส่วนการให้น้ำ ควรให้น้ำต้นหม่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยวิธีเปิดร่องปล่อยน้ำเข้าแปลง หรือการใช้ระบบน้ำหยดในแปลงหม่อน ในกรณีที่เกษตรกรมีแหล่งน้ำและสามารถให้น้ำได้ ควรให้น้ำแปลงหม่อน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ควรทำแนวป้อ
นางสาวศิริพร บุญชู รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2561 นับตั้งแต่ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นั้น แม้ช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว (ตุลาคม-พฤศจิกายน) จะเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมในการเลี้ยงหนอนไหมมาก เนื่องจากใบหม่อนมีความอุดมสมบูรณ์ ใบไม่อวบน้ำ อุณหภูมิและความชื้นก็ไม่สูงหรือต่ำเกินไป โดยอุณหภูมิที่ไหมจะเจริญเติบโตได้ดีอยู่ที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม ช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเปลี่ยนแปลงและอาจมีอุณหภูมิลดต่ำลงบางช่วงในเวลากลางคืน ซึ่งอากาศที่หนาวเกินไปอาจทำให้หนอนไหมกินใบหม่อนน้อยลง เจริญเติบโตช้า ส่งผลทำให้ต้องใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าปกติ ดังนั้น การเลี้ยงไหมในช่วงฤดูหนาวนั้น เกษตรกรควรเฝ้าระวังเรื่องความชื้น และอุณหภูมิภายในโรงเลี้ยง ไม่ให้ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส โดยวิธีการต่างๆ เช่น การตั้งเตาไฟที่ปราศจากควันไว้ในห้องเลี้ยงไหมและวางกะละมังหรือถังบรรจุน้ำบนเตา เพื่อเพิ่มอุณหภูมิและความชื้น การปิดหน้าต่างและประตูโรงเลี้ยงไหมเพื่อเพิ่มอุณหภูมิภายใน การพ่นละอองน้ำลงบนใบหม่อนหรือใช้ผ้
วันที่ 28 ธ.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศพยากรณ์อากาศเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – 2 มกราคม พ.ศ. 2561 การคาดหมายลักษณะอากาศ วันที่ 30 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศเย็นถึงหนาวส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค.60 -2 ม.ค. 61 ประเทศไทย ตอนบนรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีอากาศหนาวเย็นลงโดยอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส สําหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตลอดชวง โดยในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 -2 ม.ค. 61 คลื่นลมบริเวณอาวไทยตอนลางมีกําลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร ลักษณะสําคัญทางอุตุนิยมวิทยา วันที่ 30 ธ.ค.บริเวณความกดอากาศสูงกําลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทําให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว สําหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและภาคใต้มีกําลังอ่อนลง ทําให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกําลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 31ธ.ค.60 -2 ม.ค. 61 บริเวณความ กดอากาศสูงกําลังคอนขางแรงจากประเทศจีนอีกระลอกจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย ทําให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง และอุณหภูมิจะลดลง โดยจะเริ่มในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือก
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานโรคหัดในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 พฤศจิกายน 2560 พบผู้ป่วย 2,637 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ แรกเกิด-4 ปี อายุ 10-14 ปี และอายุ 5-9 ปี ตามลำดับ โดยเป็นสัญชาติไทย ร้อยละ 88.6 ต่างชาติ ร้อยละ 11.4 ในรอบสัปดาห์มีรายงานผู้ป่วยโรคหัดเป็นกลุ่มก้อน 1 เหตุการณ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ พบผู้ป่วย 48 ราย เป็นชาวพม่า 40 ราย หรือ ร้อยละ 83 โดยพบว่า 44 ราย ไม่เคยได้รับวัคซีน อีก 3 ราย ไม่ทราบประวัติวัคซีน และ 1 ราย ได้รับวัคซีนเพียง 1 เข็ม “คาดว่ามีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งอากาศที่เย็นลงทำให้เสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น โรคนี้พบได้ทุกวัย แต่ที่พบบ่อยคือในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งสามารถพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิดแล้วเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ อาการคล้ายกับไข้หวัด คือมีไข้ จากนั้นเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้นที่หลังหูแล้วลามไปยังหน้า กระจายตามลำตัว แขนและขา
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. เวลา 07.00 น. ที่จ.บึงกาฬ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เข้าชมความงดงามของดอกกระถินทุ่ง(หรือดอกขี้กลาก)ที่เบ่งบานสีเหลืองอร่ามเต็มบริเวณท้องทุ่งนา รับกับอากาศที่กำลังเย็นสบาย บนเนื้อที่กว่า 4 ไร่ ของนายสุดใจ แสงโพธิ์ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีที่บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 1 ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ นักท่องเที่ยวต่างตื่นตาตื่นใจพากันชื่นชมความงดงาม และถ่ายรูปเซลฟี่เก็บไว้เป็นที่ระลึก นายสุดใจ เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ตนเองมีที่นาทั้งหมดเกือบ 10 ไร่ ในทุกๆปีที่นาประมาณ 4 – 5 ไร่จะถูกน้ำท่วมในฤดูฝนไม่สามารถทำนาได้จึงปล่อยทิ้งร้างว่างเปล่า ซึ่งหลังจากน้ำแห้งทุกปีจะมีดอกขี้กลากที่ภาษาพื้นถิ่นเรียกกัน(หรือดอกกระถินทุ่ง) ขึ้นมาตลอด โดยเฉพาะช่วงเดือนปลายเดือน ต.ค – ธ.ค.หรือช่วงฤดูหนาวซึ่งในปีนี้ดอกขี้กลากจะขึ้นเยอะมาก อาจเป็นเพราะมีอากาศที่หนาวเย็นพอดี ทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาเห็นต้องแวะถ่ายภาพเซลฟี่เก็บไว้เป็นที่ระลึก เพราะความสวยงาม และบอกต่อๆกันปากต่อปากให้มาชมความสวยงาม ในทุกวันจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมวันหนึ่งเป็นร้อยๆคน สำหรับดอกกระถินทุ่ง หรื
นายเอกกฤต จิตตางกูร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จ.เชียงราย เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงนี้ ทำให้นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เล็งเห็นความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าว จึงให้แต่ละอำเภอของ จ.เชียงราย ทั้ง 18 อำเภอ สำรวจและเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากในภาพรวมแล้วพบว่าประชาชนยังคงมีความต้องการเครื่องกันหนาวจำนวนมาก โดยเฉลี่ยจะมีความต้องการรวมกันประมาณ 210,000-341,000 ผืน โดยคำนวณจากสถิติความต้องการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2559 มีตัวเลขความต้องการได้รับความช่วยเหลือจำนวน 341,666 ผืน ดังนั้น ทางจังหวัดยังคงเปิดรับบริจาค เพื่อจะได้นำไปมอบให้ผู้ที่ขาดแคลนตามการสำรวจของแต่ละอำเภอดังกล่าาวต่อไป นายเอกกฤตกล่าวว่า ล่าสุดพบว่ามีองค์กรหน่วยงานต่างๆ แสดงความจำนงบริจาคผ้าห่มกันหนาวกันแล้วหลายราย เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) แจ้งความประสงค์จะบริจาคเครื่องกันหนาวให้จำนวน 15,000 ชุด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ จำนวน 4,000 ชุด มูลนิธิสัจธรรมสี่ตี่ตึ้ง-ตระกูลหยาง จำนวน 3,000 ชุด แขวงการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 ชุด เป็นต้น ซึ