ลดก๊าซเรือนกระจก
บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชูกลยุทธ์ธุรกิจ 3S : Strength-Synergy-Sustainability ขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยธุรกิจผลิตไฟฟ้าและพลังงาน ยังคงเป็นเป้าหมายหลักที่จะสร้างรายได้เสริมหนุนองค์กร ในปี 2566 บริษัทจะมีการรับรู้กำลังการผลิตเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นอีก 1,207.13 เมกะวัตต์ ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการลงทุนในปี 2566 จำนวน 35,000 ล้านบาท โดยจะใช้ขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจำนวน 29,000 ล้านบาท และธุรกิจนอกภาคไฟฟ้า (Non-Power Business) อีก 6,000 ล้านบาท บริษัทคาดว่า ผลการดำเนินงานในปี 2566 จะเติบโตดีขึ้น โดยบริษัทมีเป้าหมาย EBITDA ไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท คุณชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนกลยุทธ์ธุรกิจของบริษัท ปี 2566-2570 มุ่งเน้นเป้าหมาย 4 ด้าน ได้แก่ 1. การเติบโตของผลตอบแทน โดยตั้งเป้าหมาย EBITDA เติบโตจาก 12,000 ล้านบาทในปีนี้ เป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2570 2. การขยายธุรกิจ Non-Power กำหนดเงินลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ในปีนี้ และปี 2570 ธุรกิจนี้
16 กันยายน 2563 – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าตามเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่องในหลายกิจกรรมสู่การเป็น “องค์กรคาร์บอนต่ำ” เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิตลงตามเป้าหมาย 25% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558 สร้างความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ตลอดจนรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมของมวลมนุษยชาติและโลกใบนี้อย่างยั่งยืน วันนี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. จัดงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2563 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ และการมอบประกาศนียบัตรและโล่เกียรติยศให้กับภาคเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนจกในรูปแบบต่างๆ เช่น กิจกรรมชดเชยคาร์บอน เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และฉลากลดโลกร้อน โดยซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ร่วมกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ในงานนี้ ซีพีเอฟ ได้รับมอบประกาศนียบัตรจาก อบก. จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ฉลากลดโลกร้อน อาหารไก่เนื้อ 6 รายการ ฉลากคาร์บ
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อํานวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ TGO เปิดเผย ผลการดำเนินงานส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนเครดิตของ TGO ในปีงบประมาณ 2563 มีผู้ที่มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศและขึ้นรับเกียรติบัตรทั้งสิ้น 323 ราย โดยคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 3,923,930.14 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งมาจากกลไกและเครื่องมือที่ อบก. พัฒนาและส่งเสริม ดังนี้ กิจกรรมชดเชยคาร์บอน มีปริมาณการชดเชยคาร์บอนประเภทองค์กร ผลิตภัณฑ์ การจัดงานอีเว้นท์ และกิจกรรมส่วนบุคคล รวมทั้งสิ้น 166,136 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งกระตุ้นให้เกิดตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศโดยมีมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกว่า 33 ล้านบาท ฉลากคาร์บอน โดย อบก. ได้พัฒนาฉลากคาร์บอนขึ้น 3 รูปแบบ ได้แก่ เครื่องหมายคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์หรือฉลาก ลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction: CFR) และฉลากคูลโหมด (CoolMode) ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกและประเ
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นวาระที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยในส่วนของภาคเกษตร แม้จะยังไม่มีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก แต่กลับเป็นภาคที่มีความเสี่ยงสูงต่อสถานการณ์ภาวะโลกร้อน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2562 ที่กระทบพื้นที่เกษตรประสบภัยแล้ง ต่อมาเพียง 2 สัปดาห์ เกิดพายุโซนร้อนฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันในภาคอีสานตอนล่าง มีพื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 3.36 ล้านไร่ (ข้อมูลศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ ณ วันที่ 20 กันยายน 2562) ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศอย่างเห็นได้ชัด โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ประเมินไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 11 ปีหลังจากนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลอย่างรุนแรงต่อภาคเกษตรในทุกพื้นที่ทั่วโลกหากไม่มีการรับมือจริงจัง การจัดอันดับดัชนีความเสี่ยงจากสภาพอากาศโลก ระหว่างปี ค.ศ. 1998 – 2017 ในรายงาน Global Climate Risk Index 2019 ระบุว่