ลพบุรี
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสำเร็จการรวมกลุ่มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ข้าวโพดช็อป ตำบลหัวลำ อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ในการปลูกข้าวโพดต้นสดพร้อมฝักและนำไปผลิตเป็น “ข้าวโพดช็อป” จำหน่ายแบบครบวงจรเพื่อส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทางกลุ่มได้มีการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านองค์ความรู้ของสมาชิกและเกษตรกรเครือข่าย การนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด จากการลงพื้นที่ของ สศท.7 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ข้าวโพดช็อป พบว่า เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 โดยมี นางสุริยา เลิศสรานนท์ เป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกรวม 3,000 ไร่ สมาชิกเกษตรกรและเครือข่ายรวม 227 ราย ด้านการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดซื้อเครื่องม้วนข้าวโพดหมัก รถคี
จากพืชที่สร้างปัญหาให้กับคนในชุมชนบ้านกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เกือบทำให้ชุมชนล้มละลาย แต่ปัญหานั้นได้กลายเป็นโอกาสเมื่อคนในชุมชนหันมาพูดคุยปรึกษาระดมความคิดในยกระดับให้ถั่วดาวอินคา จนปัจจุบันกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ติดตามความสำเร็จได้ในสารคดีเสียงจากแผ่นดิน เวลา 20.00 น.
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แพะ แกะ โคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี เกิดจากการรวมตัวของผู้เลี้ยงแพะ แกะ ในพื้นที่ ปัจจุบัน มีสมาชิก 38 ราย มีพ่อพันธุ์ 31 ตัว แม่พันธุ์ 1,331 ตัว แยกเป็นแพะขุน 211 ตัว ที่เหลือจะเป็นแกะ และแพะเล็ก 420 ตัว รวมแพะทั้งกลุ่มทั้งสิ้น 1,995 ตัว โดยการเลี้ยงแพะของกลุ่ม สามารถแบ่งประเภทการเลี้ยงได้ 2 ประเภท คือ 1. เลี้ยงเพื่อขุน และ 2. เลี้ยงเพื่อเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ คุณศักดา พานสายตา ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ แพะ แกะ โคกเจริญ กล่าวว่า หลังจากเกิดวิกฤตภัยแล้งในพื้นที่ ส่งผลให้สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยก่อนหน้านี้ เกษตรกรในอำเภอโคกเจริญส่วนใหญ่ทำอาชีพหลัก คือการปลูกพืชไร่ อาทิ ข้าวโพด และมันสำปะหลัง แต่ด้วยวิกฤตภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตพืชไร่ไม่ดี จึงหันมาเลี้ยงแพะเป็นรายได้เสริม “นอกจากแพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายแล้ว สภาพพื้นที่ของอำเภอโคกเจริญยังมีความเหมาะสม เพราะมีสภาพที่แห้งแล้ง ซึ่งแพะชอบและสามารถเจริญเติบโตได้ดี” “ก่อนหน้านี้มีเกษตรกรในพื้นที่เพียง 2 ราย เท่านั้น ที่เลี้ยงแพะอยู่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตภัยแล้งจึงได้เชิญชวนเพื่อนบ้านให้เลี้ยงแพะดู เนื
เสียงเห่าขรมดังหนักหน่วง ทำเอากลุ่มผู้ร่วมงานที่เดินทางมาด้วย กรูไปอยู่รวมกันเป็นก้อนประหนึ่งขนมปังก้อนกลมๆ อย่างไรอย่างนั้น แต่ทันทีที่เสียงเจ้าของบ้านจุ๊ปาก เสียงเห่าขรมที่ได้ยินชัดในตอนแรก กลับเบาเสียงลงเรื่อยๆ และเงียบไปในที่สุด “เด็กๆ ที่นี่ ว่าง่าย ไม่ดุเหมือนอย่างที่ใครเข้าใจหรอก” ความหมายของคำว่า “เด็ก” ในที่นี้ คือ “สุนัขพันธุ์บางแก้ว” ที่คุณฤทธิรงค์ ม่วงแสง เจ้าของบ้านเลี้ยงไว้ และให้ความสำคัญพิเศษเสมือนหนึ่งบุคคลในครอบครัว เรื่องราวของสุนัขพันธุ์บางแก้ว ที่คุณฤทธิรงค์ปั้นสร้างมากับมือ ตั้งแต่เลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น เพื่อนรัก เพื่อนกินและเพื่อนนอน กระทั่งปัจจุบันเติบโตขึ้นเป็นฟาร์มสุนัขเล็กๆ อย่างที่ใฝ่ฝัน เริ่มต้นจากที่คุณฤทธิรงค์ชื่นชอบ และนิยมในสุนัขที่มีลักษณะเป็นผู้นำ ซึ่งระยะแรกตั้งใจเลี้ยงสุนัขพันธุ์อัลเซเชียล แต่ครั้งหนึ่งที่เห็นสุนัขพันธุ์อัลเซเชียลถูกข่มด้วยสุนัขพันธุ์บางแก้ว จึงจุดประกายความชอบในสายพันธุ์บางแก้วขึ้นมาทันที คุณฤทธิรงค์ พูดหยอกกระเซ้าว่า คุณเชื่อไหมว่า…เจ้าสี่ขา ที่แม้มันจะพูดไม่ได้ ยิ้มไม่ได้ หัวเราะไม่ได้ แต่มันสามารถทำให้เรามีความสุขได้ สุนัขสา
การใช้สารเคมีในการทำการเกษตรที่ผ่านมาหลายสิบปี กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ สารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผัก อากาศ ดิน และแหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เกิดปัญหาการเจ็บป่วยเนื่องจากบริโภคอาหารที่มีสารพิษตกค้าง การใช้เคมีนานๆ ทำให้ดินเสื่อมไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก โมกิจิ โอกาดะ นักปรัชญาชาวญี่ปุ่นได้ริเริ่มทำเกษตรธรรมชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 หลักการของเกษตรธรรมชาติของโมกิจิ คือการทำให้ความสมดุลและวิวัฒนาการของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมีความถาวร ด้วยการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่สอดคล้องกับธรรมชาติและให้ความสำคัญต่อดินเป็นพื้นฐาน โมกิจิ โอกาดะ กล่าวไว้ว่า “ตัวธรรมชาติเองซึ่งบริสุทธิ์และไม่มีการแต่งเติมนั่นแหละคือสัจธรรม ฉะนั้น ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดก็ตาม มนุษย์ควรยึดธรรมชาติเป็นหลัก การเรียนรู้จากธรรมชาติเป็นเงื่อนไขสูงสุดแห่งความสำเร็จ” “พลังที่เป็นหลักสำคัญในการเจริญเติบโตของพืชนั้นมาจากธาตุดิน โดยมีพลังของธาตุน้ำและธาตุไฟเป็นส่วนเสริม เนื่องจากการเจริญเติบโตของพืชขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน ซึ่งเป็นพลังหลักเป็นสำคัญ ดังนั้น เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของการเพาะปลูกจึงต้องอยู่ที่ต้องปรับปรุ
จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำป่าสัก มีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งยังมีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านทางฝั่งตะวันตกของจังหวัด รวมทั้งมีระบบคลองชลประทานที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรม สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดลพบุรี ประกอบอาชีพด้านการเกษตรทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การผลิตปศุสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร โคนม โคเนื้อ ทั้ง 4 ชนิดสัตว์สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดลพบุรีไม่น้อยกว่า 19,917 ล้านบาท ต่อปี และแม้ว่าที่ผ่านมา แพะ จะไม่ได้จัดอยู่ในปศุสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี แต่จากตัวเลขการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ พบว่า จำนวนแพะ