ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ มะพลับเจ้าคุณ ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros winitii ชื่อวงศ์ EBENACEAE ณ เวลานี้ จะเขียนเรื่องต้นไม้ต้นไหน คงไม่น่าภาคภูมิใจไปกว่าเรื่องของ “มะพลับเจ้าคุณ” เพราะต้นไม้ต้นนี้ผู้เขียนได้ทำวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นงานที่ผู้เขียนถนัด และมีโอกาสได้มานำเสนอ ใน “งานประชุมการป่าไม้ประจำปี 2562” ซึ่งจัดที่สถาบันคชบาล หรือศูนย์ฝึกช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ระหว่าง วันที่ 19-21 สิงหาคม 2562 ช่างโชคดีจริงๆ ที่…นอกจาก เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มะพลับเจ้าคุณ จนสำเร็จ…(อาจจะเป็นคนแรกด้วยกระมัง) ยังได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์อีกด้วย จะหาว่าโม้ก็ยอมนะ…มารู้จัก มะพลับเจ้าคุณ กันก่อนดีกว่า มะพลับเจ้าคุณ (Diospyros winitii) อยู่ในวงศ์ EBENACEAE สกุลเดียวกับ มะพลับ (ไม้สกุลมะพลับ ได้แก่ มะพลับ มะเกลือ ตะโก สาวดำ มะริด ฯลฯ) เป็นไม้ชั้นกลาง สูงได้ 10-15 เมตร เลยทีเดียว มะพลับเจ้าคุณ เป็นพืชถิ่นเดียว และมีสถานะเป็นพืชหายาก พบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2465 โดย หมอคาร์ ชาวไอริช ที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ชื่อสปีชีส์จึงตั้งตามชื่อ
ดอกขจร หรือ ดอกสลิด (Cowslip creeper) ชื่อวิทยาศาสตร์ Telosma minor Craib. วงศ์ ASCLEPIADACEAE หน้าร้อนปีนี้กว่าจะคืบคลานผ่านไปได้ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดเกือบโดนแดดแผดเผา…โชคดีที่หยาดน้ำจากฟากฟ้าได้รินรดพรมให้โลกคลายร้อนทันท่วงที พร้อมกันนั้นดอกไม้ป่าก็ผุดดอกออกมาชูช่อกันสลอน สิ่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วดินแดนอันเงียบสงบ …เจ้าช่อดอกไม้เอย เจ้าดอกขจร นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนที่ไหนเอย เจ้าช่อดอกไม้เอ๋ย เจ้าดอกขจร ฉันร่อนเร่พเนจร ไม่รู้จะนอนไหนเอย… (บทเพลงนกขมิ้น) ดอกขจร หรือ ดอกสลิด เป็นพืชที่คุ้นเคยที่เกิดขึ้นตามป่า เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยเราอีกชนิดหนึ่ง และเป็นพืชทางเลือกใหม่ของเกษตรกร “สลิด” เป็นชื่อที่คนไทยใช้เรียกกันทั่วไป แต่ชื่อ “ขจร” เป็นชื่อทางการ หรือชื่อใช้ในการเขียน เพราะถือว่าเป็นคำสุภาพ ยอดอ่อนและผลอ่อนของดอกขจร ใช้กินเป็นผักได้ ทั้งเป็นผักจิ้ม ผัด หรือแกง ปัจจุบัน ยังพบว่ามีการขายในตลาดผักทั่วไป แสดงว่าคนไทยยังนิยมกินดอกขจรกันอยู่เช่นในอดีต ดอกขจรปลูกง่าย แข็งแรง ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบแดดจัด จึงใช้ปลูกเลื้อยคลุมนั่งร้าน หรือตามรั้ว มักออกดอกช
“ผักหวานป่า” ชื่อวิทยาศาสตร์ Melientha suavis Pierre วงศ์ OPILIACEAE …ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำพรำ กบมันก็ร้องงึมงำ ระงมไปทั่วท้องนา ฝนตกทีไร คิดถึงขวัญใจของข้า… ฤดูกาลที่ร้อนอบอ้าว…แห้งแล้ง ย่างกรายหนีห่างจากเราไป พร้อมๆ กับสายฝนพรำที่คืบคลานเข้ามาแทนที่ ตามธรรมชาติเริ่มเดือนหกฝนก็ตกแล้ว พอพูดถึงฝน…ภาพของกบออกมาเล่นน้ำฝนน่าจะยังอยู่ในจินตนาการของคนเมืองกรุง แต่ถ้าเป็นชาวบ้านแถบอีสาน ป่านนี้คงนอนยิ้มหวานนึกถึงภาพตัวเองออกไปจับอึ่งกับเพื่อนฝูงมาต้ม มาลาบ ไม่ก็หาแหย่ไข่มดแดง หลังจากฝนตกมากพอ “ผักหวานป่า” ก็จะแตกยอดอ่อน ใบอ่อน ชูช่อเล่นน้ำฝน ณ เวลานี้ คงไม่มีผักใดที่ฮอตฮิตไปกว่า “ผักหวานป่า” อีกแล้ว ราคาก็ช่างดีเหลือหลาย ยิ่งสรรพคุณเกือบไม่ต้องพูดถึงเลย เพราะมีมากมาย คนไทยคนต่างชาติรู้จักกันดี ถ้าเอ่ยถึง ผักหวานป่ากับไข่มดแดง เพราะเป็นอาหารยอดนิยม ผักหวานป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง และเป็นพืชประจำถิ่นที่นิยมรับประทานในแถบภาคอีสาน สมัยโบราณผักหวานป่าเป็นของมีค่าและราคาแพง ผักหวานป่ามีความสามารถในการขยายพันธุ์ต่ำ จึงทำให้ผักหวานป่าปลูกยากไปด้วย แต่ก็ไม่พ้นความพยายาม