ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม
วว. โชว์นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตและคุณภาพลิ้นจี่พันธุ์ค่อมนอกฤดูกาล พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ผู้แทนจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส ศนก. และ ดร.สรวิศ แจ่มจำรูญ นักวิจัย ศนก. พร้อมคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ติดตามผลการดำเนิน โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีภายใต้การสนับสนุนโดยสภาพัฒน์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรมสู่ภูมิภาค ก่อให้เกิดการลงทุนของเกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค
วช. ช่วยเกษตรกรแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ไม่ออกดอกใน จ.สมุทรสงคราม พร้อมจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยชุมชนตำบลแควอ้อม” ชูเป็นต้นแบบรวบรวมองค์ความรู้ด้านลิ้นจี่จากเครือข่ายวิจัย ภาครัฐและปราชญ์ชุมชนแบบครบวงจร ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่แบบยั่งยืนดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม เป็นลิ้นจี่พันธุ์ที่ได้รับนิยมอย่างมากในจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรประสบปัญหาลิ้นจี่ไม่ติดผลอย่างต่อเนื่องทำให้ขาดรายได้ และบางรายตัดโค่นลิ้นจี่เปลี่ยนไปปลูกพืชอย่างอื่นทดแทน ในปี 2559 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับโครงการ “การแก้ปัญหาการไม่ออกดอกติดผลในลิ้นจี่พันธุ์ค่อม และการขยายผลในการสร้างเครือข่ายกลุ่มลิ้นจี่ในจังหวัดสมุทรสงคราม” ซึ่งมี รศ.ดร.คณพล จุฑามณี จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เป็นหัวหน้าทีมวิจัย เพื่อเข้าไปรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา และสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง
สวัสดีครับ ยินดีที่ได้พบกันผ่านคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ช่วงนี้คนไทยทุกคนทุกสาขาอาชีพต่างก็ต้องอดทนฝ่าฟันวิกฤติโรคระบาดไปพร้อมๆ กัน ธุรกิจบางอย่างบางอาชีพอาจจะถึงขั้นสิ้นเนื้อสิ้นตัว หากยังไม่มีวัคซีนมาเอาชนะเจ้าไวรัสร้ายตัวนี้ ในส่วนของมนุษย์เงินเดือน หลายคนอาจจะนอนร้อนๆ หนาวๆ ไม่รู้ว่าจะกลายเป็นมนุษย์เงินหมดจากการถูกเลิกจ้างกันหรือไม่ ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องคนไทยทุกคนผ่านวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกัน ดูแลตัวเองและคนรอบข้าง ทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้วยความมีสติและอดทน มาเข้าเรื่องของเราครับ คิดใหญ่แบบรายย่อยฉบับนี้ ผมจะพาท่านไปพบกับเกษตรกรคนเก่งที่ขยันขันแข็งในงานการเกษตร ปลูกนี่ปลูกนั่นมากมายหลายชนิดประสบความสำเร็จแบบที่หลายคนอิจฉา ลิ้นจี่ ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เขาทำได้ดีจนมีตลาดแน่นอนมารอรับผลผลิตทุกปี ตามผมไปชมกันครับ สวนลิ้นจี่ ในหุบเขา พาท่านมาพบกับ คุณอังคณา และ คุณเกียรติชัย โชสนับ 2 แม่ลูกเกษตรกรคนเก่ง ที่บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี คุณอังคณา ทำสวนผสมผสานแบบเกษตรอินทรีย์ที่ปลูกพืชผักหลายชนิดและเลี้ยงสัตว์เอาไว้ร
ลิ้นจี่เป็นพืชที่ชอบสภาพอากาศหนาวเย็นหรืออุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 10 วันขึ้นไป จึงจะติดดอก แต่ปีนี้จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่พันธุ์ค่อมเนื้อที่ปลูกรวม 7,500 ไร่เกือบ 2 แสนต้น ที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ เจอผลกระทบจากภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้ต้นลิ้นจี่ส่วนใหญ่ “ออกดอก แต่ไม่ติดผล” ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากการจำหน่ายลิ้นจี่กว่า 100 ล้านบาท ในปีนี้ คุณกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ตรวจสอบพบว่า ผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน มีอากาศร้อนสลับหนาวในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อฤดูการผลิตของต้นลิ้นจี่ โดยปกติทุกปีต้นลิ้นจี่จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพอุณหภูมิอากาศต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 15 วัน เอื้อต่อการติดดอกออกผลของต้นลิ้นจี่ แต่ภาวะอากาศแปรปรวนทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมแทน ทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกแต่ไม่ติดผลเกือบทั้งจังหวัด อย่างไรก็ตาม สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงครามตรวจสอบพบว่า ในปีนี้พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ทั้งจังหวัด มีต้นลิ้นจี่ที่ออกดอกและติดผลเพียง 4 ต้น ได้แ