ลูกอ็อด
การเปลี่ยนไปทำเกษตรกรรมแบบใช้น้ำน้อยเนื่องจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ทำให้วีระชัย ศรีสด หาทางออกด้วยการทำเกษตรกรรมผสมผสานที่รวมเอาด้านประมง ด้านเกษตรปลูกพืชไม้ผลและปศุสัตว์ไว้ในแปลงเดียวกัน เพราะมองว่าแนวทางนี้ช่วยให้มีอาชีพและสร้างรายได้ที่มั่นคง คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันทำเกษตรผสมผสานด้วยการเพาะขายพันธุ์ปลาและกบ ปลูกพืชไม้ผล และเลี้ยงสัตว์ พร้อมนำมูลสัตว์และเศษพืชผักมาผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กลับมาใช้ทุกกิจกรรม ทั้งยังแปรรูปปลาและกบเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสร้างมูลค่า เสริมรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน กิจกรรมด้านประมง เจ้าของฟาร์มรายนี้เริ่มต้นจากการเพาะพันธุ์ปลาขายก่อน เพราะมองว่าใช้เวลาเลี้ยงไม่นานก็มีรายได้แล้ว พันธุ์ปลาที่เพาะ-ขาย ได้แก่ ปลาหมอชุมพร ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาตะเพียน ปลานิลแปลงเพศ (จิตรลดา 4) และกบ พันธุ์ปลาที่เพาะขายจะเน้นชนิดที่คนอีสานตอนล่างรู้จักและนิยมกินเพราะตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยพันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือปลาดุก ปลาหมอ และปลานิล จะเพาะในบ่อซีเมนต์ก่อนแล้วย้ายไปอนุบาลในบ่อดิน ตอนนี้มีบ่อทั
คุณสุวรรณดี ขวัญเมือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตรัง ให้ข้อมูลว่า ทางศูนย์ได้มีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดหลายชนิด เพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและอีกส่วนส่งจำหน่ายให้กับเกษตรกร พร้อมกันนี้ยังมีการส่งเสริมเกษตรกรคือการให้องค์ความรู้ เพื่อให้สามารถผลิตและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้น การส่งเสริมของศูนย์วิจัยฯ จึงมีความสำคัญต่อการทำประมงของเกษตรกรในพื้นที่ “ศูนย์วิจัยแห่งนี้มีขอบเขตความรับผิดชอบหลายด้าน เพื่อให้การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำมีมาตรฐาน ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ยังต้องการพัฒนาอีกหลายด้าน ก็จะมีบางท่านหรือเกษตรกรบางรายเข้ามาเรียนรู้ ในเรื่องของการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจากทางศูนย์ จากนั้นนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด และปรับใช้กับอาชีพของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น อยากจะฝากถึงท่านใดที่มีความสนใจจะทำอาชีพประมง อยากให้ศึกษาข้อมูลในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำตลาด ถ้าสำรวจตลาดไว้เป็นอย่างดี สินค้าประมงที่ผลิตออกมา มีตลาดรองรับได้อย่างแน่นอน” คุณสุวรรณดี กล่าว คุณชวลิต วรรณบวร หรือ คุณปอ เจ้าของแสงบุญมา กบทองฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 128 หมู่ที่ 5
ที่บ้านน้อยจอมศรี อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจาก “เขื่อนน้ำอูน” สำหรับทำการเกษตร ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางไปจังหวัดสกลนคร จะพบพื้นที่เขียวชอุ่มไปด้วยข้าวนาปรัง พืชฤดูแล้ง ตลอดจนบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบ ห่างตัวเมืองสกลนคร ประมาณ 12 กิโลเมตร มีหมู่บ้านเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเมืองสกลนคร คือ บ้านน้อยจอมศรี ต.ฮางโฮง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย อาทิ กลุ่มทำหมอนขิด กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงกบ โดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร กว่า 10 ราย คุณรัตนา ศรีบุรมย์ และ คุณกมลชัย ศรีบุรมย์ อยู่บ้านเลขที่ 218 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สองสามีภรรยา เป็นหนึ่งในกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ว่า 3,000 ตัว โดยคุณรัตนา เล่าว่า ก่อนเลี้ยงกบเป็นอาชีพ ได้ทำนาและทำไร่มาก่อน รวมทั้งเป็นลูกจ้างกรรมกรในตัวเมือง “นอกจากทำนาปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านแห่งนี้ยังมีอาชีพเสริมคือ ทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนเลี้ยงกบ ขายพันธุ์กบเป็นส่วนน้อย เน้นขายตัวอ่อนของกบหรือฮวก (ลูกอ๊อด)
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวเดินทางที่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 12 บ้านธาตุสามัคคี ต.กุดจับ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี หลังจากที่ได้ทราบว่าได้มีชายหนุ่มคนหนึ่งได้เลิกจากไปขายแรงงานในโรงงานที่ จ.ชลบุรี กลับบ้านมาทำอาชีพ เลี้ยง “ลูกอ๊อด” หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า “ฮวก” ขาย ซึ่งทำให้มีรายได้ดี เนื่องจากตลาดยังขาดแคลน เมื่อไปถึงพบนายธนากร หอมดวง อายุ 26 ปี กำลังตักฮวกขายให้ลูกค้าในราคาขีดละ 40 บาท หรือกก.ละ 400 บาท ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ฮวกมีราคาแพง 1 ครั้ง เนื่องจากเข้าหน้าหนาวกบเลิกผสมพันธ์ เตรียมจำศีล ทำให้มีฮวกจำนวนน้อย นายธนากร เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้มีอาชีพเป็นช่างทำงานในโรงงานที่ จ.ชลบุรี มีรายได้ 9,000 บาท แต่ต้องเสียค่ารถ ค่าที่พัก จึงไม่มีเงินเหลือเก็บ จึงเดินทางกลับบ้านมาทำนา ทำไร่อ้อย และไร่มันสำประหลังรวม 15 ไร่ แต่เนื่องจากที่เป็นคนชอบใส่เบ็ดตกปลาตามทุ่งนาในเวลากลางคืน และไปหาซื้อลูกอ๊อดมาเป็นเหยื่อใส่เบ็ด ซึ่งมีราคาแพงและหาซื้อยาก จึงคิดมาเลี้ยงกบเพื่อเพาะลูกอ๊อดขาย ซึ่งก็พบว่ามีลูกค้าเป็นจำนวนมาก เพราะส่วนมากจะเป็นชาวบ้านที่นิยมใส่เบ็ด หรือตกปลา นอกจากนี้ยังมีผู้นิยมรับประทานหมกฮวกด้วย ซ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดนครพนม ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม ของทุกปี ถึงแม้หลายพื้นที่จะประสบปัญหาจากภาวะภัยแล้ง ขาดน้ำในการทำการเกษตร สร้างรายได้เสริม จนเกษตรกรบางรายต้องเดินทางไปขายแรงงานต่างถิ่น เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว รอจนกว่าจะถึงหน้าฝน และฤดูกาลทำนาปีมาถึง จึงจะกลับมาบ้านเพื่อทำนาตามปกติ เช่นเดียวกับชาวบ้านในพื้นที่ บ้านหนองแต้ และ บ้านนาขาม ต.นาขาม อ.เรณูนคร จ.นครพนม ส่วนใหญ่จะมีอาชีพหลักคือการทำนาปี พอถึงหน้าแล้งจะประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำการเกษตรหน้าแล้ง ไม่สามารถทำการเกษตรปลูกพืชผักได้ โดยเฉพาะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนภัยแล้งคุกคามหนัก ส่งผลกระทบหนักกว่าทุกปี ไม่สามารถทำนาปรัง หรือปลูกพืชหน้าแล้งได้ แต่ชาวบ้านหนองแต้ และ ชาวบ้านนาขาม ต.นาขาม อ.เรณูนคร จ.นครพนม ได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส นำอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำนากบ สร้างรายได้ช่วงหน้าแล้ง ด้วยการปรับพื้นที่นา นำตาข่ายเขียวมาขึงเป็นคอกเลี้ยงกบ ขายลูกอ็อด เนื่องจากมองว่า ลูกอ็อด เป็นที่ต้องการของตลาดสูง และหายาก โดยได้เริ่มจากการเลี้ยงตามภูมิปัญญาชาวบ้านลองผิดลองถูกมานานหลายปี จนกระทั่งเกิดความชำนาญ