ล้ง
กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2564 – คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เดินหน้าสร้างความเป็นธรรมพร้อมดูแลเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ทั่วประเทศ รับฤดูกาลผลไม้ไทยหลากหลายชนิดที่มีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก พร้อมเตือนผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) ห้ามมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการกระทำความผิด ไกด์ไลน์แนวทางการพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจการรับซื้อผลไม้ ประกอบด้วย 1. การไม่ระบุวัน หรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ 2. การต่อรองราคารับซื้อผลไม้ลดลงจากที่กำหนดไว้ในสัญญา 3. ปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดความเสียหาย และ 4. การฮั้วกันกำหนดราคารับซื้อผลไม้ ซึ่งหากเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ประสบปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) สามารถร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือช่องทางเว็บไซต์และอื่นๆ ได้ทันที นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า ฤดูกาลผลไม้หลากหลายชนิดที่ผลผลิต
จากลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตราด ที่อยู่ปลายสุดแผ่นดินของประเทศไทย และมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ทำให้สภาพของอากาศ ความชื้นและสภาพดินเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชกลุ่มไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง เกษตรกรที่นี่จึงทำสวนไม้ผลกันมายาวนานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมีสับปะรดตราดสีทองที่เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของเกษตรกรจังหวัดตราด เป็นพืชที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรค่อนของสูง มีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดปี ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จัดเป็นสับปะรดบริโภคผลสดพันธุ์เดียวของไทย ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ด้วยลักษณะเด่นที่รูปทรงผล สีผิวเหลืองส้ม รสชาติหวานมาก เนื้อเหลืองทองสม่ำเสมอ เนื้อแห้งกรอบและมีกลิ่นหอมกว่าสับปะรดทุกสายพันธุ์ จุดเด่นสับปะรดตราดสีทอง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรดพันธุ์นี้ จัดเป็นสับปะรดกลุ่มควีน (Queen) ลักษณะเด่นภายนอก คือ ขอบใบที่ต้นและขอบใบที่จุกผลมีหนามสั้นๆ แหลมคม ทรงโค้งสีน้ำตาลแดง ผลเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเมื่อแก่สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองส้ม ตาใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกหนาตาลึก
ผู้ส่งออก-ล้งผลไม้ภาคตะวันออกป่วน ชะลอรับออร์เดอร์ หยุดเหมาซื้อยกสวน เหตุราคา “ทุเรียน-มังคุด-เงาะ” แกว่งตัวหนักในรอบ 10 ปี หลังปริมาณผลผลิตลดฮวบ เฉพาะ “มังคุด” หายไป 60-70% กำลังซื้อตก ทำราคาดิ่งลงสวนทาง แถมมีคู่แข่งอินโดฯ-มาเลย์เตรียมนำผลไม้ราคาถูกขย่มซ้ำ แนะผลิตสินค้าคุณภาพ ดึงราคาตลาดขึ้น ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานสถานการณ์ปริมาณไม้ผลภาคตะวันออก 4 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ปี 2561 ของสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ณ เดือนเมษายน 2561 ว่า มีปริมาณรวมลดลงทุกตัว (ดูตาราง) “มังคุด” ยอดวูบ 60-70% นายสุชาติ จันทร์เหลือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนนี้ ผลผลิตผลไม้หลัก 4 ชนิดกำลังออกสู่ตลาด ประมาณการผลผลิตปี 2561 คาดว่าจะมีปริมาณรวม 412,907 ตัน หรือลดลง 18.68% เมื่อเทียบกับปี 2560 มีผลผลิตรวม 507,772 ตัน โดยทุเรียนลดลง 2.03% มังคุด มีผลผลิต 36,356 ตัน ลดลง 67.62% เทียบกับปี 2560 ที่มีปริมาณ 112,309 ตัน ส่วนเงาะ ลดลง
“ทุเรียนอ่อน” เป็นปัญหาระดับชาติเพราะเป็นผลไม้เศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุว่า ปี 2558 ไทยมีผลผลิต 601,884 ตัน ทำรายได้ 28,317 ล้านบาท ภาคตะวันออกเป็นแหล่งผลิตที่มีปริมาณผลผลิตมากเกือบ 50% โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งผลิตทุเรียนมากที่สุดในประเทศไทย ข้อมูลปี 2559 สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 171,092 ไร่ ผลผลิต 187,790 ตัน มูลค่า 11,615 ล้านบาท และคาดว่าปี 2560 ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 281,373 ตัน ในแวดวงผู้ประกอบการค้าทุเรียนฟันธงว่า ปีนี้มูลค่าการค้าไม่น่าจะต่ำกว่า 35,000 ล้านบาททีเดียว เพราะปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นราคาสูงขึ้นและแนวโน้มตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการเพิ่มขึ้น นับวันราคาทุเรียนจะพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกจิวงการผลไม้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หมดยุคผลไม้ราคาถูก” ความสำคัญของทุเรียนที่เป็นผลไม้เศรษฐกิจส่งออกถึง 90% บริโภคภายในประเทศเพียง 10% แต่มีปัญหาเรื่องการตัด “ทุเรียนอ่อน” สร้างปัญหาด้านการตลาดภายในและส่งออกต่างประเทศ ที่ผ่านมาระยะเวลา 3-4 ปี รัฐบาลได้พยายามหาทางป้องกันแก้ไข ยกระดับแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนเป็นปัญหา