วัชพืชกินได้
“วัชพืช” หรือพืชที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติในไร่และสวน อาทิ ผักยาง ผักโขม หญ้าตีนนก หญ้าแพรก และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าพืชเหล่านี้ล้วนแล้วไม่เป็นที่ต้องการ และจำเป็นต้องกำจัดทิ้งเสียทุกครั้งที่มันขึ้นมากวนใจ แต่ก่อนที่จะกำจัดวัชพืชเหล่านี้ทิ้งไป เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดู 5 วัชพืชที่สามารถเก็บมารับประทานได้ แถมยังเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณนานัปการ 1.ส้มกบ ส้มกบคือวัชพืชขนาด 2-3 นิ้ว มักเลื้อยปกคลุมหน้าดิน ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจ โดยมีสรรพคุณในการให้สารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดมาลิก กรดซิตริก แคลเซียม วิตามินซี และแคโรทีน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาโรคนอนไม่หลับ แก้อาการหวัด และรักษาโรคดีซ่าน วิธีรับประทาน ใบของส้มกบนั้นจะให้รสเปรี้ยว หวาน และเค็ม จึงสามารถนำมาใช้แทนน้ำมะขามเปียกในเมนูต่างๆ ได้ หรือจะนำใบอ่อนและยอดอ่อนมาปรุงอาหารก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง เนื่องจากกรดออกซาลิกที่อยู่บริเวณใบของต้นส้มกบอาจสร้างพิษให้กับร่างกาย เมื่อบริโภคได้ปริมาณมากหรือติดต่อกันหลายวัน 2.วอเตอร์เครส วอเตอร์เครส หรือชื่อที่คุ้นหูอย่างสลัดน้ำ เป็นพืชใบเขียวในตระกู
เพื่อนพ้องในวงการเกษตรอินทรีย์ เก็บของป่า มักปรับทุกข์กันบ่อยๆ ว่า ปัญหาใหญ่ของการรณรงค์ความรู้สู่ทางการมีสุขภาพดีผ่านพืชผักอินทรีย์ ก็คือ ผู้บริโภคไม่รู้ว่าจะเอาวัตถุดิบดีๆ ปลอดสารเคมี ที่อุตส่าห์ปลูก อุตส่าห์เก็บหากันมาอย่างยากลำบากเหล่านี้ ไปทำกับข้าวอะไรกินกัน เรื่องทำนองนี้คงโทษใครไม่ได้นะครับ ในเมื่อเราเคยมีพืชผักกระแสหลักในตลาดมากมายเกินพอ ความรู้บางส่วน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผักบ้านๆ ก็ย่อมหดหายไปบ้างเป็นธรรมดา ไหนจะตำราทำกับข้าวเกือบทั้งหมดในเวลานี้ก็ย่อมผูกวิธีปรุงอาหารอยู่กับวัตถุดิบตลาด ทำให้การเลือกปรุง เลือกใช้วัตถุดิบแบบอื่นๆ ดูเป็นเรื่องยากเย็นผิดปกติไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมาได้จนทุกวันนี้ ก็คือความสามารถในการปรับตัวเมื่อเผชิญปัญหาต่างๆ สำหรับเรื่องวัตถุดิบอาหารตอนนี้ ถึงจะยังไม่เข้าขั้นทุพภิกขภัยอดอยากยากแค้น แต่ก็อาจเป็นโอกาสดี ที่จะลองทบทวนความรู้ และหนทางการได้มาซึ่งพืชผักสดตามธรรมชาติ ซึ่งในสภาพภูมิประเทศบางแห่งยังสามารถหาเก็บหากินได้อยู่ เหมือนอย่างคำอธิบายเรื่องผักจิ้มน้ำพริกของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้เขียนและพิมพ์หนังสือตำราแม่ครัวหัวป่าก์ เมื่อ