วัวนม
เดนมาร์ก มีชื่อเสียงในด้านการผลิตนมและผลิตภัณฑ์นมมาเป็นร้อยปี เป็นเจ้าแห่งวงการนมเนยว่างั้น เกษตรกรวัวนมในเดนมาร์กส่วนใหญ่จัดเป็นรายย่อย แต่ละรายก็เป็นเจ้าของฟาร์มวัวไม่ใหญ่ มีวัวหลักสิบหลักร้อย แต่ละคนก็ดูแลฟาร์มตัวเองไป ช่วยกันเองในครอบครัว ไม่ค่อยมีลูกจ้าง เพราะค่าจ้างแพง แต่มีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยเพื่อเบาแรงแบบจัดเต็ม พื้นที่ผลิตวัวนมของเดนมาร์ก กระจายไปทั่วทั้ง ภาคกลาง (Jylland) มีฟาร์มโคนมจำนวน 10,500 แห่ง และโคนมจำนวน 600,000 ตัว, ภาคตะวันตก (Vestjylland) มีฟาร์ม 6,500 แห่ง วัวนม 350,000 ตัว, ภาคตะวันออก (Østjylland) มีฟาร์ม 5,000 แห่ง วัว 250,000 ตัว และภาคเกาะ (Sjælland) มีฟาร์ม 2,000 แห่ง วัวนม 100,000 ตัว เดนมาร์กมีอากาศอบอุ่นชื้น แต่ฝนน้อย อันนี้ก็มีปัญหากับวัวเขาไม่น้อย แต่เขาแก้ปัญหาโดยการพัฒนาระบบโรงเรือนที่ทันสมัย ควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับวัว มีระบบให้อาหารอัตโนมัติ ระบบจัดการสุขภาพวัว ระบบติดตามการผลิต ทั้งหมดเป็นระบบอัตโนมัติ ประหยัดแรงงาน และแม่นยำ ต้นทุนการผลิตนมของเขาสูงกว่าเรา และกว่าคู่แข่งในตลาดนมของโลกมาก ต้นทุนอาหารสัตว์ ยารักษาโรค และค่า
หลายปีมาแล้ว ที่คนไทยไม่รู้จักกินนมดังเช่นพวกฝรั่ง ที่เรารู้จักนมวัวเริ่มแรกแต่เดิมทีก็คือ นมกระป๋อง เราเรียกกันว่า นมข้นหวาน เป็นนมชนิดเดียวที่เรากินกัน ในรูป “กาแฟชงนม หรือกาแฟใส่นม” กินกันมานานโข จนเป็นพฤติกรรมของคนชอบนั่งจิบกาแฟยามเช้าตามร้านกาแฟทั่วๆ ไป ทั้งในบ้านนอกและเมืองกรุง สมัยนั้นยังไม่มีนมสดๆ มาขายกันหรอก ยกเว้นแขกที่เลี้ยงวัวรีดนมเอามาขาย ใครซื้อไปกินก็ต้องเอาไปผ่านการฆ่าเชื้อ ต้มเอาเอง จะไม่ขอพูดประวัติพวกนี้นะครับ ใครสนใจประวัติคร่าวๆ เกี่ยวกับการเริ่มวัวนมในประเทศไทย ก็ต้องขอความกรุณาหาอ่านเอาเอง เรื่อง การผลิตวัวนมและการจัดการ เขียนโดย สุพจน์ ศรีนิเวศน์ และ ปิยะศักดิ์ สุวรรณี กรมปศุสัตว์ เริ่มเขียนเมื่อราว 12 ธันวาคม 2551 ซึ่งเคยลงนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ของมติชน (ฉบับเทคโนโลยีชาวบ้าน) รายปักษ์ ออกทุกๆ วันที่ 1 และวันที่ 15 ของเดือน (ยกเว้น เดือนกุมภาพันธ์ ดูเอาเองก็แล้วกันนะครับ) หนังสือเล่มที่กล่าว มีข้อมูลความรู้อยู่มากมาย ถ้าท่านมีโอกาสได้อ่านจะเข้าใจทั้งวิธีปฏิบัติ เข้าใจการใช้พันธุ์วัวนม สำหรับประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวซ้ำซาก แต่จะขออนุญาตจากท่า
ผมรู้จักกับ คุณคมสัน มุมแดง ในการประกวดกุ้งแห่งหนึ่ง จากลักษณะเป็นคนเงียบๆ ถามคำ-ตอบคำ ส่วนมากจะยิ้มมากกว่าพูด แต่ในคำตอบที่ได้มักสร้างความแปลกใจระคนตื่นเต้นกับเรื่องเล่านั้นด้วย อดีตนักศึกษาระดับประโยควิชาชีพชั้นสูง สาขาสิ่งทอ จากวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม จังหวัดราชบุรี วันหนึ่งเขากลับมายืนอยู่ในกลุ่มผู้ประกวดกุ้งสายสวยงาม หรือที่เรียกกันว่า สายพัฒนาได้อย่างไร ที่สำคัญ ในวงการให้การยอมรับว่ากุ้งที่เขาพัฒนาขึ้นมาได้เป็นสีใหม่ ไม่กล้าเคลมว่าของโลกหรือไม่ เพราะยังไม่รู้ว่ามีใครมีเช่นนี้อีกหรือไม่ แต่รับรองว่าเพิ่งได้เจอนี่เอง แรกเริ่มเดิมทีคุณคมสันก็เหมือนกับคนหนุ่มทั่วไป จบการศึกษาก็หางานทำในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับที่เรียนมา งานช่างเทคนิคในบริษัท แรกๆ ก็สร้างความตื่นเต้น สนุก และเพลิดเพลินกับชีวิตพนักงานบริษัทไม่น้อย จนวันหนึ่งมรสุมเศรษฐกิจก็มาเยือน เขาถูกจ้างออก และไม่นานบริษัทก็ปิดตัวลง ช่วงนั้นก็ยอมรับว่าชีวิตเคว้งไม่น้อย เพราะไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมาก่อน แต่ความจริงก็คือความจริง จะหยุดนิ่งเพื่อเสียใจอย่างเดียวคงไม่ได้ ด้วยพื้นเพของคนโพธาราม อาชีพหนึ่งที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันคืออาชีพเ
สุพิชญา ฟาร์ม ผู้เลี้ยงวัวนมรายย่อยกับความอยู่รอดที่รอท้าทาย สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำในคอลัมต์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” ฉบับนี้ยังอยู่กับเกษตรกรรายย่อยที่คิดต่าง คิดเยอะ ทำมาก และก้าวหน้ามาก ที่ “สุพิชญา ฟาร์ม” ฉบับที่แล้วผมพาท่านไปชมธุรกิจวัวนมของ สุพิชญา ฟาร์ม กันมาแล้ว เห็นและทราบกันแล้วว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนมรายย่อยนั้นยังอยู่ได้ แต่อาการก็ค่อนข้างย่ำแย่ เพราะสถานการณ์หลายอย่างบีบบังคับ วันนี้เกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงวัวนมอย่าง คุณบัณฑิตย์ จองปุ๊ก เขาปรับตัวอย่างไร เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่น่ากลัวในอนาคต มีอะไรที่คุณบัณฑิตย์สร้างเอาไว้เป็นอาชีพเสริมบ้าง ตามผมไปดู ไปพบข้อคิด และไปเรียนรู้พร้อมๆ กันเลยครับ “สุพิชญา ฟาร์ม” แพะพันธุ์แท้ ทางเลือก ทางรอด พาท่านกลับมาที่ สุพิชญา ฟาร์ม ที่หมู่ 9 บ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่มี คุณบัณฑิตย์ จองปุ๊ก เป็นเจ้าของ นอกจากธุรกิจวัวนมที่ผมพาท่านมาเรียนรู้ไปเมื่อ ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2562 คุณบัณฑิตย์ เกษตรกรรายย่อยคนเก่งของเรายังมีธุรกิจอื่นๆ ที่ทำขึ้นเพื่อลดคว
ความเป็นมา ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายๆ ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรไม่ได้บริโภคนมมาแต่ก่อน แต่เรามีอาหารอื่นๆ โดยธรรมชาติชดเชยให้ เราจึงไม่ได้คิดถึงนมกันเท่าไร จึงไม่มีวัวนมเลี้ยงกันในเขตเหล่านี้แต่อย่างใด สำหรับประเทศไทยไม่เคยรู้จักนม และวัวนมมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง วัวนมพันธุ์ขาวดำ ที่ทหารญี่ปุ่นเอามารีดนมกินกันในช่วงสงคราม จึงเหลือตกทอดมาสู่คนบางกลุ่มเท่านั้น โดยเฉพาะแขก (ชาวอินเดีย-ปากีสถาน) เอาวัวพวกนี้มาเลี้ยงและผสมพันธุ์กับวัวบังกาลา ของตน จนมีวัวลูกผสมเลือดจางๆ ของวัว ขาว-ดำที่ญี่ปุ่นทิ้งไว้ ชาวอินเดียซึ่งเขากินนมกันอยู่แล้ว ถ้าเอาวัวพวกนี้มารีดนมขายด้วย มีมากแถวๆ ท่าดินแดง บุคคโล ดาวคะนอง ฝั่งธนบุรี ฝั่งพระนครก็มีมาก แถวสะพานควาย ถนนตก (สีลม) นอกจากนมวัวแล้ว เขายังรีดนมแพะมาขายด้วย นมที่แขกเอามาขาย ผู้ซื้อจะเอามาต้มให้เดือดเสียก่อน จึงจะใช้ดื่ม หรือเติมผิวหน้ากาแฟ ร้านกาแฟที่ใช้ครีมนมสด และกาแฟนมสด ชื่อดังที่สุดในสมัยเมื่อ 50 กว่าปีมา คือร้าน กาแฟนายปอ เวิ้ง นครเกษม ต่างจังหวัดก็มีมากหน่อย ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา