วัสดุทดแทนกระดูก
“ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ผนวกกับศาสตร์ด้านวิศวกรรม เพื่อประดิษฐ์สิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน คือมุมมองที่ผมคิดว่าเป็นการเรียนวิศวกรรมยุคใหม่ โดยเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล ที่เราอยากเปลี่ยน mindset ของเด็กที่มักคิดว่า วิศวกรรมเรียนแล้วไปทำอะไร เรียนไปทำไมยากๆ เรียนไปไม่ได้ใช้ประโยชน์ จนกลายเป็นสิ่งที่ฝังใจคนเรียนวิศวะ” “ออสซีโอแล็บส์” จัดตั้งขึ้น ณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นบริษัท Spin-off ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งเกิดจากแนวคิดของ ผศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มองเห็นโอกาสในการนำศาสตร์ความรู้ด้านวิศวกรรมมาพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเทคโนโลยีหลักที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรูพรุนพิเศษแบบ Triply Periodic Minimal Surface (TPMS) ในการออกแบบอุปกรณ์การแพทย์หรือวัสดุปลูกถ่ายประเภทโลหะที่น้ำหนักเบา ความแข็งแรงสูง และมีลักษณะภายในที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของกระดูก โดยโครงสร้าง TPMS เป็นโครงสร้างรูพรุ