วิจัยกัญชาทางการแพทย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนโยบายมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชา เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการแพทย์เป็นหลัก โดยมีการวางแผนดำเนินการตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของการใช้ประโยชน์กัญชาเพื่อการแพทย์ ตั้งแต่ต้นน้ำทำการวิจัยสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกกัญชาเพื่อให้ได้สารสำคัญที่ต้องการในปริมาณสูงสุดโดยคณะเกษตรศาสตร์ กลางน้ำทำการพัฒนาศึกษาวิธีการสกัดและแยกสารสำคัญให้ได้คุณภาพ วิเคราะห์และควบคุมคุณภาพสารสำคัญ และพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์โดยคณะเภสัชศาสตร์ ส่งต่อกระบวนการปลายน้ำเพื่อทดลองประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางคลินิกโดยคณะแพทยศาสตร์ โดยความร่วมมือกับ บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เรื่อง วิจัย พัฒนา เพื่อผลิตสารสกัดกัญชาระดับ Medical Grade เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ดร.ภก.สุพัฒน์ จิรานุสรณ์กุล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา บริษัท แอตแลนต้า เมดดิคแคร์ จำกัด ได้มอบห้องปฏิบัติการวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ให้กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยห้องปฏิบัติการดังกล่าวได้มาตร
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นพยานลงนาม พร้อมกับ นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดี กับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา โดย นางสาวสิริน ชะเอมเทศ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ณ ห้อง 902 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี ว่า ต้องขอขอบคุณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้กรุณาลงมาสัมผัส มาศึกษาวิจัยเรื่องกัญชาร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพราะส่วนตัวเชื่อว่าสายพันธุ์ดีๆ ของกัญชาในประเทศไทยยังคงมียู่เยอะ และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพมากพอที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เด่นๆ ของเราเองได้ และเชื่อมั่นเช่นกันว่า เราสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาจากการขายเมล็ดพันธุ์กัญชา แทนที่จะซื้อสายพันธุ์นำเข้ามาในประเทศ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ลงนามบันทึกความร่วมม