วิทยาลัยประมงสมุทรสาคร
ปัจจุบันกระแสนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นมีปริมาณมากขึ้น โดยไข่ปลาแซลมอน หรืออิคุระ (ikura) ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดกลมขนาดเล็ก ด้านในเป็นน้ำเมื่อกัดจะแตกออก สามารถทานดิบซาชิมิ (sashimi) ส่วนใหญ่นำมาทำเป็นหน้าซูชิ (sushi) แบบกุงกังซูชิ หรือโรยหน้าดงบุริต่างๆ แต่ไข่ปลาแซลมอนมีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการทำไข่ปลาแซลมอนสังเคราะห์ขึ้นโดยใช้โซเดียมแอลจิเนตเป็นตัวที่ทำให้เกิดเจลหุ้มด้านนอก ส่วนด้านในของไข่จะใช้แคลเซียมคลอไรด์ สีผสมอาหาร ปรุงรสชาติ และมีการใช้น้ำมันสลัดเพื่อให้น้ำมันลอยตัวเห็นว่าเป็นไข่แดงแต่ยังขาดคุณค่าทางโภชนาการเมื่อเทียบกับไข่ปลาแซลมอนจริงทางการค้า ดังนั้น ทีมนักวิจัยวิทยาลัยประมงสมุทรสาคร จึงมีแนวคิดศึกษาปริมาณเมทอกซิลของเพคตินจากกระเจี๊ยบเขียวที่มีผลต่อคุณภาพของแอลจิเนตแคปซูลในการผลิตไข่ปลาแซลมอนเทียม เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบเขียวในรูปของสารสกัดเพคตินที่นำมาใช้เป็นสารก่อให้เกิดเจล และประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารแนวใหม่ให้มีคุณค่าทางโภชนาการและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ส่วนผสมการผลิตไข่ปลาแซลมอนเทียม ซุปปลาแซลมอน, เพคติน, โซเดียมแอลจิเนต,
“ สาหร่ายพวงองุ่น ” หรือ “ สาหร่ายไข่ปลาคาเวียร์ ” เป็นอาหารจานโปรดของใครหลายๆ คน เพราะมีรสชาติอร่อยโดนใจ สาหร่ายพวงองุ่นพบได้ตามธรรมชาติ ในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสาหร่ายชนิดนี้กันมาก แถมขายได้ราคาดี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมงจึงได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นและเผยแพร่องค์ความรู้ให้เกษตรกร นำไปใช้ประกอบอาชีพ ปัจจุบันเกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เชิงพาณิชย์ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบการเลี้ยงในบ่อพักน้ำแบบธรรมชาติ ระบบการเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น บ่อเลี้ยงกุ้ง หรือบ่อเลี้ยงปลา และระบบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต ถ้าเลี้ยงสาหร่ายในบ่อดิน การปลูกจะมีทั้งแบบหว่านและแบบปักชำ ระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่แสงส่องถึง ขึ้นอยู่กับความโปร่งแสงของน้ำ โดยมากรักษาระดับน้ำให้มีความลึก ประมาณ 60-100 เซนติเมตร แบบปักชำมีข้อดีกว่าแบบหว่าน เนื่องจากสาหร่ายจะมีอัตราความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกันและควบคุมความหนาแน่นได้ ทำให้สาหร่ายที่โตมีแขนงที่ยาวและมีขนาดสม่ำเสมอ นอกจากนี้ สามารถปลูกสาหร่ายบนแผงอวนหรือตาข่ายได้ ท