ศรีวิชัย
2 ผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในงาน The 16th International Invention and Innovation show (INTARG 2023) ซึ่งจัดโดย Eurobusiness-Haller ณ เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยมีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงมากกว่า 30 ประเทศ โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับ 3 รางวัล ได้แก่ • รางวัล เหรียญทอง ผลงานวิจัย เรื่อง “เทคโนโลยีเฮอร์เดิลด้วยโอโซนและเคมีเพื่อลดปริมาณไวรัสโคโรน่าปนเปื้อนในทุเรียนส่งออก” โดย รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รศ. ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มากกว่า 5 แสนตัน/ปี ซึ่งเป็นผลไม้หลักในการส่งออก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ประเทศจีนมีนโยบาย Zero-CoVid ดังนั้นหากมีการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อ Covid-19 ที่ทุเรียน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไทยอย่างรุนแรง ทำให้ประเทศอาจสูญเสียรายได้ เกษตรกรได้รับผลกระทบ ซึ่งเทคโนโลยี
กิจกรรมการแข่งขัน Startup ระดับประเทศ Startup Thailand League ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในการประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ถูกต้องและสามารถนำไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ประดิษฐ์คิดค้นต่อยอดสู่การเป็นวิสาหกิจเบื้องต้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นในสถาบันการศึกษา สำหรับการจัดทำโมบายแอปพลิเคชั่น “หาหมอพื้นบ้าน” นั้น นางสาวปารฉัตร มาศเมฆ นักศึกษาสาขาการบัญชี กล่าวว่า วิถีของคนไทยในสมัยโบราณหรือแม้กระทั่งสังคมในชนบทยุคปัจจุบัน มีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องทางการแพทย์ เดิมการแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการบำบัดความเจ็บป่วย และปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกทางเลือกที่คนไทยเชื่อถือ รักษาตามแบบฉบับของแพทย์แผนไทย และที่ผ่านมาเป็นการจัดทำรวบรวมความรู้ในรูปแบบหนังสือ การเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างจะลำบาก การเป็นที่รู้จักของหมอพื้นบ้านยังทำได้ยาก กลุ่มนักศึกษาจึงเห็นคว
ถั่วงอก เป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ในเกือบทุกพื้นมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร มีการบริโภค วันละ 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 2-3 วัน เท่านั้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ การเพาะถั่วงอกนั้นมีวิธีการและขั้นตอนการเพาะหลากหลายวิธี แต่ละวิธีก็สามารถผลิตถั่วงอกได้คุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะของผู้เพาะแต่ละคน สำหรับเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติระบบน้ำหมุนเวียนควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รับการพัฒนา โดยใช้ข้อดีต่างๆ ของระบบการเพาะถั่วงอกที่มีการเผยแพร่ในท้องตลาด เช่น ถั่วงอกคอนโด ถั่วงอกรดน้ำอัตโนมัติ โดยเครื่องเพาะถั่วงอกอัตโนมัติระบบน้ำหมุนเวียนใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมการรดน้ำ โดยใช้ควบคุมทั้งอุณหภูมิและเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ใช้ระบบน้ำหมุนเวียน โดยนำน้ำที่รดไปแล้ว นำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอก โดยการใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ ชนิดต่างๆ มาทดลองใส่ในน้ำจนได้ปริมาณที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของถั่วงอกและไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย จึงสามารถตั้งเครื่อง
ปัจจุบัน เครื่องผลิตปุ๋ยที่ใช้ในท้องตลาด หรือตามชุมชนส่วนใหญ่ จะมีการผลิตแบบแยกเครื่อง คือ เครื่องผสม เครื่องอัดเม็ด ซึ่งการผลิตไม่มีความต่อเนื่องในสายการผลิต แต่มักจะมีเฉพาะในโรงงานผลิตปุ๋ยขนาดใหญ่เท่านั้น หากเกษตรกรต้องการใช้ปุ๋ยต้องนำวัตถุดิบมาเข้าเครื่องผสม ซึ่งจะเพิ่มขั้นตอนในการผลิตและใช้กำลังคนเข้ามาช่วย อีกทั้งต้องรอให้เครื่องผสมปุ๋ยเสร็จก่อนแล้วนำไปเข้าเครื่องอัดเม็ด จากเหตุผลข้างต้น อาจารย์วรพงค์ บุญช่วยแทน อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้ประดิษฐ์เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยการออกแบบเครื่องผสม เครื่องอัดเม็ด และเครื่องอบให้อยู่ในสายการผลิตเดียวกัน ซึ่งจะลดเวลาและขั้นตอนในการผลิตปุ๋ย ลักษณะด้านมิติของตัวเครื่อง มีความกว้าง 1.4 เมตร ยาว 1.80 เมตร และสูง 1.20 เมตร เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยมีลูกล้ออยู่ที่ฐานของเครื่องจักร ส่วนประกอบของเครื่องประกอบไปด้วย 1) ฐานเครื่องจักรและระบบส่งกำลัง ซึ่งประกอบไปด้วย เพลากำลังส่ง มอเตอร์ไฟฟ้า กระแสสลับ 220 โวลต์ 30HP สายพาน และล้อสายพาน แบริ่ง 2)