ศัตรูมะพร้าว
ปัจจุบัน คนในโลกมี 7,300 ล้านคน คาดว่า ปี ค.ศ. 2050 โลกจะมีประชากร 9,000 ล้านคน สถานการณ์อาหารสำหรับบริโภคอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤต องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า แมลงและหนอนจะถูกนำมาเป็นอาหารโปรตีนที่สำคัญ ในโลกมีแมลงเป็นล้านชนิด แต่มีแมลงที่กินกันอยู่ปัจจุบัน ราว 2,000 ชนิด ปริมาณโปรตีนในแมลงบางชนิดใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เช่น หมู และไก่ แต่บางชนิดก็มีมากกว่า หนอนบางชนิดให้ไขมันได้ดี เช่น หนอน สรุปได้ว่าคุณค่าทางอาหารที่ร่างกายต้องการมีครบถ้วนเหมือนเนื้อสัตว์ที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ และการผลิตแมลงเล็กๆ เหล่านี้ยังประหยัดทรัพยากรอาหารสัตว์ได้อีกมาก เพราะวัวน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ใช้อาหารถึง 8 กิโลกรัม ส่วนแมลง เช่น เนื้อจิ้งหรีดในปริมาณเท่ากัน ใช้อาหารแค่ 1.2 กิโลกรัม เท่านั้น วัฒนธรรมการกินแมลงของเรามีมานานแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดดเด่นที่สุดในเรื่องนี้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แมงกุดจี่ แมงอีนูน จิ้งโกร่ง บึ้ง เป็นอาหารยอดฮิต ในภาคเหนือแมลงก็เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารเช่นกัน ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้
ช่วงนี้เกิดสถานการณ์การระบาดของศัตรูมะพร้าว 5 ชนิด ได้แก่ หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง และไรสี่ขา ใน 29 จังหวัดทั้งประเทศ ในพื้นที่ภาคใต้ 12 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง จังหวัดตรังมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 3,662.10 ไร่ ปลูกมากที่สุดคือ อำเภอกันตัง จำนวน 802.89 ไร่ อำเภอเมือง จำนวน 602.83 ไร่ คุณวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัดตรัง จึงขอเตือนเกษตรกรและผู้ประกอบการ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ต ทุกแห่งที่ปลูกมะพร้าวเฝ้าระวังและแก้ปัญหาการจัดการศัตรูมะพร้าวตามแนวทางอย่างยั่งยืน ศัตรูมะพร้าวที่สำคัญและลักษณะการทำลาย มีดังนี้ หนอนหัวดำ ตัวหนอนจะทำลายจากใบล่าง โดยกัดกินผิวใต้ใบและสร้างอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวก หากการทำลายรุนแรงทำให้มะพร้าวตาย เกษตรกรควรใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ประกอบด้วย วิธีกล ได้แก่ การตัดทางใบที่ถูกหนอนทำลายและนำมาเผาทำลาย ใช้ศัตรูธรรมชาติแตนเบียนหนอน Bracon hebetor เพื่อควบคุมระยะหนอนของหนอนหัวดำ อัตราไร่ละ 200 ตัว กระจายทั่วทั้งแปลง โดยปล่อย 12 ครั้ง แต่ละครั้งห่า
ได้กล่าวไว้แล้วว่า น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสวนมะพร้าว มะพร้าวควรจะได้น้ำ 600 ลิตร/สัปดาห์ หรือ 90 ลิตร/วัน มะพร้าวไม่ควรรอน้ำจากฝนอย่างเดียว ควรมีการให้น้ำบ้าง เมื่อให้น้ำแล้วควรหาวัสดุ เช่น เปลือกมะพร้าว กะลามะพร้าว หรือใบมะพร้าว ที่อยู่ในสวนมาคลุมโคนต้น เพื่อป้องกันความชื้นในดินไม่ให้ระเหยออกมา การคลุมโคนต้น ควรจะคลุมเพียงชั้นเดียว ไม่ควรวางซ้อนกันหลายชั้น อาจเสี่ยงกับการที่ด้วงแรดมะพร้าวและด้วงงวงมะพร้าวจะมาวางไข่บนกองทางใบ และเป็นสาเหตุให้เข้าทำลายต้นมะพร้าวที่ปลูกได้ เมื่อถึงฤดูฝน ถึงแม้จะมีฝนตกลงมา วัสดุที่คลุมโคนต้นมะพร้าว ไม่ว่าจะเป็นเปลือกมะพร้าว กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว หรือใบมะพร้าว ที่คลุมโคนต้นไม่จำเป็นต้องรื้อออกมา ความชื้นที่อยู่ในดินจะช่วยย่อยสลายวัสดุดังกล่าวให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับต้นมะพร้าวอีกด้วย ใบมะพร้าวที่เหลืองแห้งติดอยู่บนต้นมะพร้าว จะไม่สร้างอาหาร คือไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เกษตรกรควรดึงออกจากต้น เพื่อเป็นการสงวนน้ำในลำต้นมะพร้าว จากการศึกษาวิจัย พบว่า มะพร้าวต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 40 กว่าใบ เมื่อเก็บเกี่ยวทะลายลงมาแล้ว ควรเกี่ยวหรือตัดเ
นายโชคชัย บุญยัง หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการปลูกมะพร้าวใน 19 อำเภอ รวม 164,349.83 ไร่ 14,131 ครัวเรือน เนื้อที่ปลูกมากที่สุดคือ อำเภอเกาะสมุย 66,132 ไร่ รองลงมาอำเภอเกาะพะงัน 63,759 ไร่ และอำเภอเมือง 17,487 ไร่ ซึ่งในปี 2560 พบการระบาดของศัตรูมะพร้าว โดยเฉพาะหนอนหัวดำ จำนวน 3,557 ไร่ คิดเป็นต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำทำลายรวมทั้งสิ้น 88,926 ต้น แบ่งเป็นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร จำนวน 73,558 ต้น และมะพร้าวที่มีความสูงต่ำกว่า 12 เมตร จำนวน 15,368 ต้น ทั้งนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสร้างการรับรู้และรณรงค์ให้มีการตัดทางใบที่มีหนอนหัวดำทำลายนำมาเผาทิ้ง ส่งเสริมการเลี้ยงแตนเบียนบราคอน ศัตรูธรรมชาติเพื่อควบคุมประชากรหนอนหัวดำ และถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้สารเค
ประเด็นร้อนในวงการมะพร้าว ตอนนี้คงหนีไม่พ้น ปัญหาการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูจำนวน 4 ชนิด คือ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว ลองมาทำความรู้จักแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ ว่ามีหน้าตา อุปนิสัย และลักษณะการทำลายเป็นอย่างไร รวมทั้งแนวทางป้องกันและการกำจัดแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิด หนอนหัวดำมะพร้าว ดร.พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท นักกีฏวิทยาชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-5583 ต่อ 249 ได้บรรยายในหัวข้อ “การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวแกงอย่างยั่งยืน” ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง เดินหน้าอุตสาหกรรมมะพร้าวไทยจากฐานชีวภาพ จัดโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่สำคัญในแถบเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน กัมพูชา เมียนมา อินโดนีเซีย หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูพืชต่างถิ่นที่เข้ามาระบาดในประเทศไทย โดยพบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2550 ปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของ
ปัญหาหนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว มุมมองของคุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม “หนอนหัวดำและแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาค อื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้น คือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป