ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
“ไก่ฟ้าโกลเด้น” (GOLDEN PHEASANT) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไก่ฟ้าสีทอง” เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางพื้นที่ในปากีสถาน, อินเดียและศรีลังกา เป็นต้น มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี ลักษณะที่โดดเด่นของไก่ฟ้าโกลเด้น ( ตัวผู้ ) มีสีสันสวยงาม จึงทำให้ไก่ฟ้าโกลเด้นแตกต่างจากไก่ฟ้าสายพันธุ์อื่นๆ คือ มี 5 สีในตัวเดียวกัน ได้แก่ สีเหลือง-ทอง, สีแดง ,น้ำเงิน ,เขียว และส้ม (เฉพาะตัวผู้เท่านั้น) ขนด้านบนหัวจะเป็นสีทอง ไล่โทนตั้งแต่ท้ายทอยเป็นสีส้มทองตัดด้วยวงแหวนเป็นคลื่นสีดำ ตรงด้านหลังคอมีลักษณะเป็นขนสีทองลายขีดสีดำยาวปกคลุมลงมาถึงหลัง ขนปีกสีดำจุดน้ำตาล และที่ใต้ปีกมีสีเหลืองทองอยู่ด้านใน ขนหางคู่กลางยาวมาก โคนหางสีน้ำตาลแดงอ่อนจุดดำไปจนถึงปลายหาง ด้านล่างของลำตัวใต้ท้องมีสีแดงเพลิงเลือดหมู ไม่มีหงอนบนหัวแข้งขาสีเนื้อ ขนาดตัวเล็กกว่าไก่ฟ้าสายพันธุ์ไทย ส่วนไก่ฟ้าตัวเมีย สีขนทั่วทั้งลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีลายขีดสีน้ำตาลดำ ลำตัวด้าน
กองทัพบก และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมพัฒนาความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบก และ วช. : พอเพียงเพิ่มพลังชุมชน มั่นคงด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดย พล.ท.สุเชษฐ์ ตันยะเวช ผู้อำนวยการศูนย์ประสานความมั่นคง กอ.รมน.ภาค3 และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมเปิดกิจกรรมการขยายผล ครั้งที่ 10 ในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก กิจกรรมมีขึ้นระหว่าง วันที่ 17-18 มิถุนายน 2562 กิจกรรมครั้งนี้ได้จัดองค์ความรู้ตามความต้องการของพื้นที่ ได้แก่ เรื่อง “เกษตรปลอดภัย : การแปรรูปพริกแห้ง” โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก และ “การสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวด้วยมูลกระบือและการผลิตปุ๋ยชีวภาพ” จากมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ภายใต้แผนงานการจัดการความรู้การวิจัยและนวัตกรรม กองทัพบกและ วช. ร่วมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้องค์ความรู้จากงานวิ
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามความร่วมมือ กับกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ในการฝึกอาชีพให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศ เช่น “เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ” อ.เขาสมิง จ.ตราด ได้มีทักษะความรู้ ประสบการณ์เรื่องการปลูกหม่อนและเเปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม เพื่อเป็นแนวทางสร้างอาชีพเลี้ยงตนเอง พบว่า ผู้ต้องขัง ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อพ้นโทษออกไปแล้ว ส่วนใหญ่สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพการเกษตร โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหม ได้ร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม โดยจัดอบรมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่ผู้ต้องขังก่อนการปลดปล่อย เพื่อมีความรู้ติดตัวไปสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สำหรับเรือนจำที่มีพื้นที่ว่างเพียงพอ กรมหม่อนไหมจะเข้าไปส่งเสริมความรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกหม่อนผลสด สาวเส้นไหม ฟอกย้อมสีเส้นไหม ทอผ้าไหม และแปรรูปผลิตภัณฑ์ หลายอย่าง อาทิ ชาหม่อน แปรรูปหม่อนผล ผลิตรังไหมสดเพื่อจำหน่าย ฯลฯ