ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี
ระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา มีงานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 15 (hortex 2018) ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ในงานมีนิทรรศการ การจำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร งานแสดงความก้าวหน้าทางด้านเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งงานสัมมนาวิชาการ งานสัมมนาที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “สวน 100 ไร่ทำได้คนเดียว” วิทยากรประกอบด้วยชาวสวนชั้นนำของจังหวัดจันทบุรีได้แก่ คุณชนันท์ เขียวพันธุ์ คุณสุเทพ นพพันธ์ คุณภานุศักดิ์ สายพานิชและอาจารย์ปราโมช ร่วมสุข ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันทุเรียนไทย และเป็นประธานการจัดงานพืชสวนก้าวหน้า ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินงานสัมมนาครั้งนี้ งานสัมมาสวน 100 ไร่ทำได้คนเดียว เป็นการพูดถึงทุเรียน เนื่องจากที่ผ่านมา ทุเรียนราคาดี คนหันมาปลูกกันมาก คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า เนื่องจากทุเรียนราคาดี เกษตรกรส่วนหนึ่งที่ก้าวหน้ามากๆ ไม่ได้พูดถึงเงินล้าน แต่พูดถึงรายได้จากการทำสวนระดับ 10 ล้านกันแล้ว หัวข้อสัมมนา “สวน 100 ไร่ทำได้คนเดียว” ไม่ได้หมายความว่า สวนที่มีอยู่จำนวนมาก มีคนเก่งทำสวน 100 ไร่ได้เพียงคนเดียว แต่หัว
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณภาพและมีลักษณะดีเด่นตรงตามความต้องการของตลาด และให้ผลผลิตสูง เป็นสินค้าทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่รักทุเรียน จะใช้ปลูกทดแทนทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม เพราะทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ มีศักยภาพการผลิตในเชิงการค้า แถมรสชาติของทุเรียนถูกใจผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย แปลงต้นแบบปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี คุณสุรินทร์ อัคคะรัตน์ เกษตรกรคนเก่งในพื้นที่ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นเกษตรกรรุ่นแรกที่มีโอกาสปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี ตั้งแต่เมื่อ 12-13 ปีก่อน ทำให้เขาเรียนรู้จุดเด่น จุดด้อย ของการปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจเรื่องการปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี นำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลจัดการสวนทุเรียนได้แบบมืออาชีพ คุณสุรินทร์ ได้ต้นพันธุ์ทุเรียนลูกผสมจันทบุรี 1, จันทบุรี 2, จันทบุรี 3 และจันทบุรี 10 รวมทั้งสิ้น 120 ต้น จากศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นำมาปลูกบนเนื้อที่ 6 ไร่ โดยขุดหลุมลึก 1 ฟุต ปลูกต้นทุเรียนในระยะห่าง 8×8 เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 20 ต้น ให
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณภาพและมีลักษณะดีเด่นตรงตามความต้องการของตลาด และให้ผลผลิตสูง เป็นสินค้าทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่รักทุเรียน จะใช้ปลูกทดแทนทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม เพราะทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ มีศักยภาพการผลิตในเชิงการค้า แถมรสชาติของทุเรียนถูกใจผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 1 เกิดจาก ชะนี +หมอนทอง ลักษณะเด่นคือ ผลผลิตออกต้นฤดู อายุเก็บเกี่ยวสั้น 105 วัน หลังดอกบาน ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ น้ำหนัก 2.65-3.61 กิโลกรัม ต่อผล สีเนื้อเหลือง รสชาติหวานมัน เนื้อค่อนข้างละเอียด กลิ่นอ่อนมาก เนื้อคงสภาพได้นานหลังปลิงหลุด พันธุ์แนะนำ : 09 ตุลาคม 2549 ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 2 เกิดจาก ชะนี+พวงมณี ผลผลิตออกต้นฤดู อายุเก็บเกี่ยวสั้น 95 วัน หลังดอกบาน ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนัก 1.52-2.27 กิโลกรัม ต่อผล สีเนื้อเหลือง เข้ม รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวละเอียด กลิ่นอ่อน พันธุ์แนะนำ : 09 ตุลาคม 2549 ทุเรียนลูกผสมพันธุ์จันทบุรี 3 เกิดจาก ก้านยาว+ชะนี ผลผลิตออกต้
ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีแหล่งดั้งเดิมในคาบสมุทรมลายู ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยคาดว่า ได้รับสายพันธุ์ทุเรียนมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จังหวัดนนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ในอดีตไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้า ประมาณ 60-80 พันธุ์ เท่านั้น ในปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลง และหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่นๆ ทุเรียนสายพันธุ์โบราณโดดเด่นเรื่องความทนทานโรค-แมลง และการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เพราะถูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์มาจากเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอดีต ช่วงที่นักวิชาการไปเก็บรวบรวมพันธุ์ทุเรียนโบราณจากแหล่งผลิตที่มีอายุการปลูก 40-50 ปี ขณะที่บางสวนมีทุเรียนต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก 100-200 ปี ก็เคยเจอมาแล้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ได้รวบรว
หลายปีที่ผ่านมาเมืองไทยประสบเจอสภาวะอากาศแปรปรวน ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากฤดูกาลคลาดเคลื่อนไปหมด ฤดูหนาวก็มีฝนตก ฤดูร้อนก็มีฝนตก จำนวนวันที่อากาศร้อนในรอบปีก็จะเพิ่มมากขึ้น ความแปรปรวนระหว่างฤดู ระหว่างปีต่อปี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หลายพื้นที่โดนทั้งลมพายุ ภัยหนาว น้ำท่วม สภาพอากาศร้อนจัดจนเกิดภัยแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาวะอากาศแปรปรวนเหล่านี้ ทำให้เกษตรกรวางแผนจัดการสวนไม้ผลได้ยากขึ้นเรื่อยๆ รู้ทันสภาวะอากาศแปรปรวน งานวิจัยเรื่องรูปแบบการแปรปรวนภูมิอากาศต่อการผลิตทุเรียนจังหวัดจันทบุรี ของนางสาวศิริพร วรกุลดำรงชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเน้นศึกษาข้อมูลสภาวะภูมิอากาศในรอบ 30 ปีของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น การเปลี่ยนอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการผลิตทุเรียน เพื่อนำผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอดีตมาใช้เป็นบทเรียนสำหรับวางแผนการรับมือสภาวะอากาศในปัจจุบันและอนาคต ผลการศึกษาวิจัยในเบื้อ
กรมวิชาการเกษตรโชว์ผลงานวิจัยทุเรียน 3 พันธุ์ใหม่ จันทบุรี 7 จันทบุรี 8 จันทบุรี 9 อายุเก็บเกี่ยวสั้น ปานกลาง ยาว ลดปัญหาทุเรียนล้นตลาด เพิ่มโอกาสพันธุ์ให้เกษตรกรเลือกปลูก เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคทั้งตลาดเดิมและใหม่ ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตทุเรียนรายใหญ่ของโลก โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศไทย พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ คือ หมอนทอง กระดุม ชะนี และก้านยาว ปัญหาทุเรียนในอดีตพบว่า บางปีมีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกัน ซึ่งมากเกินความต้องการของตลาด เป็นสาเหตุให้ราคาทุเรียนตกต่ำลงมาก ส่งผลให้เกษตรกรบางรายเปลี่ยนสวนทุเรียนเป็นไม้ผลอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น ในการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนเพื่อให้ได้พันธุ์ที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและมีผลผลิตสูงออกสู่ตลาดก่อนพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าหลักคือพันธุ์หมอนทอง จะช่วยกระจายการผลิตและแก้ไขปัญหาผลผลิตกระจุกตัว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านงานวิจัยทุเรียนซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพทุเรียนให้ตรงตามความต้องการของตลาด แต่ยังขาดการวิจัยนำร่องทดสอบการปลูกทุเรีย
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกทุเรียนคุณภาพ รายใหญ่ที่สุดของโลก ตามด้วยประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ในปี 2560 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียน 581,659 ไร่ มีผลผลิต 517,955 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 เนื่องจาก 3-4 ปีที่ผ่านมา ราคาขายของเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ดี แถมมีการขยายพื้นที่การปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับเกษตรกรดูแลเอาใจใส่สวนทุเรียนมากขึ้น มีการปรับปรุงดิน เกิดการรวมกลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น การส่งออกทุเรียนของไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ราคาส่งออกทุเรียนสด ทุเรียนแช่แข็ง และทุเรียนกวน เพิ่มขึ้นตลอด สำหรับปี 2561 คาดว่า ประเทศไทยจะมีพื้นที่ปลูกทุเรียนจำนวน 611,186 ไร่ มีผลผลิตอยู่ที่ 760,032 ตัน ซึ่งเกิดจากการขยายพื้นที่ปลูกใหม่ในปี 2556 จะเริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ส่วนสถานการณ์ส่งออกคาดว่า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา อนุรักษ์ทุเรียนโบราณก่อนสูญพันธุ์ ภารกิจเพื่อชาติ ของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ประเทศไทยได้เป
ในอดีตประเทศไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้าประมาณ 60-80 พันธุ์เท่านั้น แต่ปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลงและหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์พันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่นๆ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ในฐานะหน่วยงานหลักของกรมวิชาการเกษตร ที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนาทุเรียน ได้เห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายเชื้อพันธุกรรมทุเรียน จึงได้ทำการรวบรวมพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านกว่า 600 สายพันธุ์ไว้เป็นแหล่งพันธุกรรมทุเรียนเพื่อการอนุรักษ์และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนในอนาคต ตลอดระยะเวลา 51 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ยังเป็นศูนย์วิจัยพืชสวนพลิ้ว เมื่อปี 2510 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีได้ปลูกรวบรวมพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองโบราณไว้ไม่น้อยกว่า 600 สายพันธุ์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมทุเรียน ทำให้ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีกลายเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ทุเรียนมากที่สุดของประเทศไทย ทุเรียนโบราณสามาร