ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
สำนักงาน กปร. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ประชาชน สถานศึกษา ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ผนึกความรู้ตามแนวพระราชดำริ สู่รั้วโรงเรียนเป้าสร้างรากฐานความรู้แก่เยาวชน ผู้คนทั่วไป มีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพอย่างมั่นคง ประสบความสำเร็จน้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติใช้ จนเป็นศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มากถึง 80 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบโล่พร้อมเกียรติบัตร ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี 2567 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ และได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ที่รับโล่และเกียรติบัตร เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ว่าพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เลือกให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจาก
ธนาคารอาหารชุมชน “เกษตรวิชญา” แหล่งอาหารและเครื่องใช้ ที่เบิกถอนได้ตลอดปี การพัฒนาตามพระราชดำริ เพื่อสุขแห่งพสกนิกร เกษตรวิชญา หมายถึง ปราชญ์แห่งการเกษตร คือชื่อของศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร ตั้งอยู่ที่ บ้านกองแหะ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วันนี้ได้ก่อเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ประชาชนในพื้นที่ ในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเมื่อครั้งในอดีต ปฐมบทแห่งการพัฒนาตามพระราชดำริ เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มายังพื้นที่บ้านกองแหะ และทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้แนวทาง หรือวิธีการที่เหมาะสมต่อการเกษตร เลือกพืชปลูกให้เหมาะสม กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์ แ
นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ร่วมสืบสาน รักษา ต่อยอด ปวงประชาร่มเย็นเป็นสุข เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา” จัดโดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2567 การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งด้านการพัฒนาป่าไม้ แหล่งน้ำ การประมง และเกษตรกรรม รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีมีสุข และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความจงรักภักดีและร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยโดยพร้อมใจดำเนินการจัดงานภายใต้ชื่อ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ร่วมสืบสาน รักษา ต่อยอด ปวงประชาร่มเย็นเป็นสุข เฉลิมพระ
โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างแท้จริง ด้วยการลงมือทำกับกิจกรรมในห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 5,151 โครงการในพระราชดำริทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย พร้อมทั้งได้ซึมซับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงสร้างไว้เพื่อให้พสกนิกรได้นำมาพัฒนาเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข กิจกรรมครั้งที่ 25 นี้ ได้พาครูอาจารย์และผู้ร่วมกิจกรรม ลงพื้นที่ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น 1 ใน 6 ศูนย์ จาก 5,151 โครงการในพระราชดำริ ศูนย์นี้เป็นการศึกษาการพัฒนาป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ ผสานกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ
นายอุดร หมันมณี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เกษตรกรตัวอย่างด้านเกษตรผสมผสานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ปลูกสับปะรดเป็นพืชเชิงเดี่ยว ต้องใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงและใช้ยาฉีดฆ่าหญ้า ไม่นานดินเสื่อมโทรมเป็นกรดเป็นด่าง ร่างกายก็เริ่มเจ็บป่วย “พอได้เข้าร่วมเป็นเกษตรกรทำเกษตรแบบผสมผสานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี ซึ่งศูนย์ฯ ได้ให้ความรู้พร้อมแนะนำให้ปลูกพืชล้มลุกที่เหมาะสมกับพื้นที่ เป็นแคนตาลูป แตงโม เป็นการเริ่มจากที่พืชปลูกง่าย ๆ ขายได้ไว ๆ และเป็นพืชที่ช่วยปรับปรุงบำรุงดิน เมื่อดินฟื้นตัวจึงเอาพันธุ์ไม้อื่น ๆ มาปลูกเพิ่มเติม เช่น กล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง ฝรั่งไส้แดง อ้อยคั้นน้ำ ขุดสระเก็บน้ำในพื้นที่ ในสระปล่อยปลา ริมสระน้ำปลูกผัก ทำให้มีกินมีขายตลอดทั้งปี และดินก็สมบูรณ์ไม่ต้องใส่ปุ๋ย” นายอุดร หมันมณี กล่าว ในระหว่างรอต้อนรับนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วย นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการ กปร. คณะที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมควา