ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)
น้ำผึ้ง มีความสัมพันธ์กับอาชีพเลี้ยงผึ้ง การเลี้ยงผึ้งมีทั่วประเทศ เพราะความต้องการใช้น้ำผึ้งในเชิงพาณิชย์มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากคุณประโยชน์ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ ความสวยงาม อาหาร ขนม เครื่องดื่ม เกิดเป็นอาชีพที่สร้างเม็ดเงินจำนวนมากมายในแต่ละปี ผลักดันให้ผู้เลี้ยงผึ้งพัฒนารูปแบบวิธีผลิตน้ำผึ้งเพื่อป้อนสู่ตลาดได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ผู้ยึดอาชีพเลี้ยงผึ้งทั้งรายใหม่และเก่าควรมีความรู้และแนวทางเลี้ยงตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานที่ดูแล และส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคอีสาน ทั้งการอบรม ถ่ายทอดความรู้ กระบวนการเลี้ยงให้แก่ผู้สนใจทั้งรายใหม่และรายเก่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงผึ้งให้สอดคล้องกับสภาวะอาชีพ คุณวชิระ จิตรดาธำรง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ศูนย์มีบทบาทและหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทางด้านเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่รับผิดชอบรวมทั้งสิ้น
ดาหลา เป็นไม้ดอกท้องถิ่นทางภาคใต้ชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกอยู่มากในเขตจังหวัดยะลา นราธิวาส เป็นระยะเวลานาน ในอดีตดาหลามีการนำหน่ออ่อนและดอกมาใช้เป็นผักประกอบอาหาร เหมือนผักทั่วไป การนำไปใช้เป็นผักประกอบอาหารบางประเภทเพื่อบริโภคในพื้นที่ ในขณะที่ไม่ได้มีการส่งเสริมให้ปลูก ส่งผลทำให้ปริมาณต้นดาหลาในพื้นที่ภาคใต้เริ่มลดน้อยลงทุกปี บางสายพันธุ์ที่มีปลูกอยู่ในพื้นที่ถึงกับเกือบจะสูญพันธุ์ ดังนั้น ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) จึงได้เก็บรวบรวมพันธุ์มาเพาะเลี้ยงไว้ที่ศูนย์ เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่กำลังจะสูญสิ้นไป ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ระบุว่า ดาหลาเป็นไม้ดอกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งการนำไปประกอบอาหารและปลูกเป็นไม้ตัดดอก เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ดอกดกในฤดูร้อน ประกอบกับดอกที่มีขนาดใหญ่ สีสดใส รูปทรงแปลกตา ทำให้เป็นที่สนใจของผู้พบเห็นและเป็นที่ต้องการของตลาด สายพันธุ์ดาหลาที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ เริ่มมีแนวโน้มและปริมาณลดลง บางสายพันธุ์มีปลูกอยู่ไม่กี่จังหวัด ทางศูนย์จึงเข้าร่วม “
ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมเยียนถิ่นบ้านเกิดเมืองชากังราว จังหวัดที่เป็นตำนานเมืองประวัติศาสตร์ ที่เล่าลือถึงวัฒนธรรมประเพณีมาช้านาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงเรื่องราวในอดีตของโบราณสถาน การกลับมาครั้งนี้ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองที่แทบจะจดจำเรื่องราวในอดีตไม่ได้เลย สมัยผู้เขียนเล่าเรียนหนังสือ มีอำเภอเพียง 4 อำเภอ และเป็นอำเภอที่เจริญที่สุดในขณะนั้น ปัจจุบัน ได้มีอำเภอใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย บางอำเภอเคยเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เปลี่ยนมาเป็นอำเภอ ชื่อแสนจะไพเราะ ไม่รู้ใครตั้งชื่อให้จนเกิดมาร่วม 10 อำเภอ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจในบ้านเกิดของตัวเอง กำแพงเพชร เป็นจังหวัดเล็กๆ ในอดีต…ได้มีโอกาสสอบถามท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด เดี๋ยวนี้กำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำลังพัฒนา ในรอบจังหวัดใกล้เคียง อาทิ ตาก สุโขทัย พิจิตร ยังสู้กำแพงเพชรไม่ได้ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและความเจริญของบ้านเมือง เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาล มันสำปะหลัง กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมการเกษตร ที่มาจากอาชีพทำไร่กล้วยไข่มาก่อน พัฒนามาปลูกอ้อยโรงงาน ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง โรงงานมันเส้น โรงงานแป้งมัน ที่สมัยก่อนผู้เขียนไม่เคยเห็นมั
คำว่า “น้ำผึ้ง” จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คนทุกชาติทุกภาษายอมรับว่าเป็นยาอายุวัฒนะขนานแท้ สำหรับคนไทยเรารู้จักผึ้งและคุณค่าของน้ำผึ้งมาแต่โบราณกาล ที่เป็นหลักฐานเด่นชัดก็คือ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีตัวอักษร “ผ” ปรากฏอยู่ และนอกจากนี้ ในประวัติศาสตร์ศาสนาต่างๆ เกือบทุกศาสนาทั่วโลกก็ได้มีการจารึกถึงคุณประโยชน์ของผึ้ง และน้ำผึ้งไว้ด้วย “น้ำผึ้ง” เป็นอาหารที่ให้ความหวานที่เก่าแก่ที่สุด เป็นน้ำตาลบริสุทธิ์จากธรรมชาติ ปราศจากเชื้อโรค ปลอดภัยต่อการบริโภค สรรพคุณของน้ำผึ้งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษายอมรับถึงคุณประโยชน์ของการใช้ เป็นอาหารบำรุงสุขภาพ และมีความเชื่อถึงสรรพคุณทางยาแตกต่างกันไป เช่น สถาบันแพทย์แผนไทย ระบุว่า น้ำผึ้ง เป็นสารที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย บำรุงประสาทและสมองให้สดชื่นแจ่มใส เป็นต้น ในสมัยโบราณถือว่าน้ำผึ้งเป็นยาอายุวัฒนะที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นของกำนัลที่มีมูลค่าสำหรับผู้ให้และผู้รับเสมอมานับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จากน้ำหวาน…เป็นน้ำผึ้ง น้ำผึ้ง คือ น้ำหวานที่ผึ้งงานเก็บจากต่อมน้ำหวานของดอกไม้ หรือต้นไม้ ที่ผ่านกระบวนการย่อยภายในตัวผ
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง สนองนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร ในโครงการ “บ้านพอเพียง เลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19” ผลิตพันธุ์พืชดีแจกจ่ายเกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการดำรงชีพในยามวิกฤติช่วงระบาดของเชื้อโควิด-19 พร้อมแจกเมล็ดพันธุ์พืชดีเพื่อเพาะปลูกรุ่นต่อไปได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวระหว่างตรวจเยี่ยมศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง ต่อการดำเนินงานใน โครงการบ้านพอเพียง เลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 ว่า เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการบ้านพอเพียง เลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19 ขึ้น เพื่อดูแลช่วยเหลือและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ตลอดถึงสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตร ทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ที่สำคัญเพื่อให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการโควิด-19 ได้มีพืชอาหารบริโภค สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน มีความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชน ตลอดจนแก้ปั
สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลพบุรี สนับสนุนต้นพันธุ์พืชผักและสมุนไพร 54,208 ต้น ให้แก่เกษตรกรโครงการบ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิต สู้โควิด- 19 จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและความเป็นอยู่ของเกษตรกร เกิดปัญหาการกระจายสินค้าและขาดแคลนพืชอาหารเพื่อการบริโภค สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี จึงได้ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลพบุรี ได้จัดทำโครงการ “บ้านพอเพียงเลี้ยงชีวิตสู้โควิด-19” เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ให้เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบมีพืชอาหารบริโภค สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยสนับสนุนพืชผักและสมุนไพรหลัก จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ฟ้าทลายโจร มะละกอ พริก มะเขือ มะรุม กุยช่าย และแคบ้าน ให้กับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 3,366 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ ของจังหวัดลพบุรี ครัวเรือนละ 16 ต้น นายธีระศักดิ์ ขุมเงิน เกษตรจังหวัดลพบุรี กล่าวเพิ่มเต
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวหลังจากการนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ในการเยี่ยมชม ศูนย์ขยายพันธ์พืชที่ 1 จ.ชลบุรี ว่า ปัจจุบันปัญหาหนึ่งของการเกษตร คือเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์ดี และ พันธุ์ดียังมีราคาแพง ในขณะที่พืชหลายชนิดเรายังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศอยู่มาก กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดจัดตั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืช 10 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการผลิตและขยายพันธุ์พืชในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายไปสู่ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน Young Smart Farmer แปลงใหญ่ ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่มีความต้องการ ผ่านกลไกงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และยังผลิตรองรับพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหาโรคพืชแฝงติดไปกับต้นพันธุ์ เช่น ท่อนมันสำปะหลัง กรมส่งเสริมการเกษตรได้ปรับพื้นที่ของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 10 ศูนย์ (เดิม ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ซึ่งมีภารกิจหลักในการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออยู่แล้ว และปรับปรุงให้เป็นศูนย์ขยายพันธุ์พืชให้ครบทุกวิธี ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์ การใช้ท่อนพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อสู่เก