ศูนย์เรียนรู้
เชื่อว่า คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก “จังหวัดชายแดนภาคใต้” อย่างผิวเผิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในที่นี้หมายถึง 5 จังหวัดใต้สุดของประเทศไทย ที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แม้จังหวัดปัตตานีจะเป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แต่จัดว่าเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นเดียวกัน เพราะประเพณี วัฒนธรรม ของคนใน 5 จังหวัดนี้จะคล้ายๆ กัน ประชาชนจะมีการเคลื่อนย้ายไปมาใน 5 จังหวัด และมีการออกไปประกอบอาชีพติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่กับประชาชนในประเทศมาเลเซียเหมือนๆ กัน จึงได้รวมจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย วิถีชีวิตชายแดนใต้ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะทางสังคมของประชาชน หลายๆ อย่างแตกต่างไปจากสภาพในภาคอื่นๆ มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม และจะเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจ มีความละเอียดอ่อนเปราะบาง และเกิดปัญหาได้ง่าย หากเจ้าหน้าที่หรือส่วนราชการที่ไม่เข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมของประชาชนที่นี่เข้าไปปฏิบัติงานได้อย่างยากลำบาก สภาพเศรษฐกิจทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนส่วนใหญ่จะมีฐานะค่อนข้างยากจน วัดจากตัว
สำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี ต้อนรับและพบปะคณะศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา จาก กศน.อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 นายอุดร สิทธิพาที ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรในสังกัด ร่วมต้อนรับและพบปะคณะศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา จาก กศน.อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ณ บริเวณลานไผ่ลานกิจกรรม สำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี
สวัสดีครับ คอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้เต็มใจพาท่านไปพบกับชุมชนที่เข้มแข็ง ผู้นำชุมชนและลูกบ้านก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน ในงานสายพัฒนา ที่ทำได้ดีจนถูกยกให้เป็นตัวอย่างในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน ตามผมไปดูกันครับ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ พาท่านมาพบกับ คุณพิเชษฐ์ เจริญพร ผู้ใหญ่บ้านหนองสามพราน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เริ่มต้นเล่าว่า “ผมเองไม่ใช่คนกาญจนบุรี แต่มาอยู่ที่นี่นานแล้ว ตั้งแต่ผมเรียนจบจากคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็มาอยู่ที่กาญจนบุรีเรื่อยมา เมื่อก่อนที่นี่ร้อน แห้งแล้งมาก ผมก็ทำมาหากินอยู่ที่นี่ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องการพัฒนาชุมชนจากผู้หลักผู้ใหญ่ จนถึงวันนี้ที่ต้องรับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้นำชุมชนที่ต้องช่วยพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของลูกบ้านอีกหลายชีวิต” ผลจากการพัฒนาหมู่บ้านของผู้นำชุมชนรุ่นเก่ารวมทั้งผลงานของผู้ใหญ่พิเชษฐ์ ได้ทยอยออกดอกผลให้คนในชุมชนชื่นใจแล้ววันนี้ พัฒนาแหล่งน้ำ หัวใจสำคัญสำหรับการเ
เมื่อวันนที่ 20 มิถุนายน 2562 เจ้าหน้าที่กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการจัดอบรมการพัฒนาเกษตรกรผู้นำ ศพก.เครือข่าย ปีงบประมาณ 2562 ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับเกียรติจาก นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมฯ และ นายอรุณ เหมือนตา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ กล่าวรายงาน โดยการดำเนินงานอบรมฯ ในวันนี้ เป็นการดำเนินงานจัดอบรมจากนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยเน้นให้มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในชุมชน เพื่อให้เป็นจุดถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรของชุมชนและเป็นที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการเกษตร ประกอบด้วย สภาวะปัจจุบัน สถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรมีปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ปัญหาโรคแมลง พื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อยและมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงประสบกับปัญหาการขาดทุน เกิดหนี้สินและไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ กระทรวงเกษตรและสหกร
ศูนย์เกษตรธรรมชาติแม่ออน ของ ครูอินสอน สุริยงค์ ที่ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ คือแหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรมธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องของอินทรีย์ชีวภาพที่แสดงให้เห็นทุกขั้นตอนของการผลิตอาหารพืช อาหารสัตว์ เพื่อการอยู่กับธรรมชาติอย่างสมดุล หลังจากถอดบทเรียนและประสบการณ์การปลูกพืชที่ใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงอย่างหนักมานานนับสิบปี เคยผิดหวังและล้มเหลวกับการปลูกพืชผัก ไม้ผล โดยเชื่อมั่นในสารเคมีชนิดไม่เปิดใจรับอินทรีย์ชีวภาพจนมีหนี้สินท่วมตัว ก่อนตัดสินใจขายที่ดินแปลงใหญ่เหลือไว้ไม่กี่ไร่และเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตใหม่ที่ไม่ทำลายทั้งดิน น้ำ ตัวเองและผู้บริโภค ครูอินสอน ตัดสินใจบุกเบิกที่ดินผืนสุดท้ายที่เหลืออยู่ เปลี่ยนเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์เมื่อปี 2530 หลังจากศึกษา และลงมือปฏิบัติเรื่องจุลินทรีย์จนลึกซึ้ง รวมถึงการแปรความหมายของเกษตรกรทฤษฎีใหม่สู่เกษตรธรรมชาติจนประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างเครือข่ายสมาชิกจากการไปอบรมให้ความรู้ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคน มีทั้งการให้ความรู้ด้านการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านการศึกษานอกโรงเรียน จนถึงให้ความรู้กับเยาวชนที่อยู่ในระบบ และถ่ายทอดความรู