สกลนคร
นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดสกลนครมีสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่ สร้างรายได้ให้เกษตรกร และจังหวัดหลากหลายสินค้าด้วยกัน ซึ่ง “เนื้อโคขุนโพนยางคำ” เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและเป็นหนึ่งในสินค้า GI ของจังหวัด ได้มีการพัฒนายกระดับการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต เทคโนโลยีการจัดเก็บรวบรวมและแปรรูปสินค้า อุปกรณ์และเทคโนโลยีการยกขนสินค้า เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้า และเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ ในปี 2564 จังหวัดสกลนคร (ข้อมูลของกรมปศุสัตว์) พบว่า เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อครอบคลุมทั้ง 18 อำเภอ พบการเลี้ยงมากที่สุดในอำเภอเมืองสกลนคร โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรวมทั้งจังหวัด 43,830 ราย จำนวนโคเนื้อรวมทั้งจังหวัด 219,512 ตัว ประกอบด้วย โคพื้นเมือง 107,174 ตัว โคลูกผสม 106,634 ตัว โคขุน 3,835 ตัว และโคพันธุ์แท้ 1,869 ตัว โดยมี สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด เป็นหน่วยส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เริ่มดำเนินการปี 2523 ปัจจุบั
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เดินหน้าพัฒนาโครงการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ต้นแบบ 3 จังหวัดภาคอีสาน หวังให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตร ลดต้นทุนการเพาะปลูก ได้ผลผลิตสูงขึ้นและมีคุณภาพ พร้อมใช้เป็นตัวกลางสร้างระบบเกษตรอินทรีย์ สร้างเป็นผลผลิตปลอดสารพิษ เพิ่มมูลค่าพืชผลและลดการปนเปื้อนในดิน พร้อมต่อยอดขยายพื้นที่รวมตัวสู่สหกรณ์สมาร์ทฟาร์ม เพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันระยะยาว สร้างผลลัพธ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป รศ.ดร. เสถียร ธัญญศรีรัตน์ ที่ปรึกษาโครงการฯ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เผยถึงความเป็นมาของโครงการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ ว่า เราทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีจำนวนเกษตรกรราว 1 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด และถึงแม้ว่าพืชผลทางการเกษตรในประเทศจะค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ ที่ประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ สวนทางกับการใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับพื้นที่เหล่านี้ นอกจากต้องอาศัยความรู้ด้านระบบเพาะปลูกที่มีคุณภาพแล้ว ยังต้องเพิ่มการใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน มาช่วยควบคุมปัจจัยด้านต่างๆ เพื่อผลลัพธ์ของผลผลิตสูง มีคุณภาพดี เพิ
อำเภอกุสุมาลย์ จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี “การผลิตพริกปลอดภัย จากงานวิจัยสู่เกษตรกร” พร้อมมอบใบรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ที่บริเวณบ้านกุดฮู หมู่ที่ 16 ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร นายจำลอง ถกรัมย์ ผอ. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี่การผลิตพริกปลอดภัย จากงานวิจัยสู่เกษตร มี นายประหยัด ยุพิน ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร กล่าวรายงาน และ นางกัญญาภัค ศิลปะรายะ นายก อบต.โพธิไพศาล กล่าวรายงานให้ข้อมูลความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ โดยการจัดงานดังกล่าว มีเกษตรกรผู้ปลูกพริกในตำบลโพธิไพศาล จำนวน 80 ราย และชาวบ้านประชาชนที่สนใจกว่า 50 คน มาร่วมงาน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการทดสอบการผลิตพริกขี้หนูผลใหญ่เพื่อเพิ่มคุณภาพในพื้นที่นาดอน จังหวัดสกลนคร ช่วง ปี 2559-2563 มีเกษตรกรร่วมทดสอบ 12 ราย พบว่า ใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผลผลิตพริกเพิ่มขึ้นกว่าวิธีเดิมของเกษตรกร ร้อยละ 9.7 ผลผลิตเฉลี่ย 2,288 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 ผลผลิตมีคุณ
ปลาร้า เป็นการถนอมปลาไว้เป็นอาหารนอกฤดูกาล โดยมีข้อมูลเชิงสถิติจาก www.isangate.com ระบุว่า ประเทศไทยเรามีกำลังการผลิตปลาร้าทั่วประเทศ 20,000-40,000 ตัน ต่อปี มีครัวเรือนอีสานผลิตปลาร้าเฉลี่ย 27.09 กิโลกรัม ต่อปี มีอัตราการบริโภคปลาร้าเฉลี่ยประมาณ 15-40 กรัม ต่อคน ต่อวัน และมีปริมาณการซื้อขายปลาร้าทั่วประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 ล้านบาท ต่อวัน ปลาร้า หรือ ปลาแดก ปลาน้อย เป็นอาหารท้องถิ่นที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภาคอีสานของไทยและลาว รวมถึงบางส่วนของเวียดนาม โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีการทำปลาร้าเป็นเอกลักษณ์ของตน ปัจจุบัน ปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แต่ส่วนใหญ่ปลาร้าก็ยังคงนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายตามน้ำหนักจำหน่ายในตลาดสดทั่วไป ความหมายของ คำว่า แดก มาจาก คำว่า แหลก มีที่มาจากการนำปลาเล็กปลาน้อยมาทำเป็นปลาร้า หรือหากจะใช้ปลาตัวใหญ่ก็จะใช้วิธีสับให้แหลกก่อน เพื่อให้การหมักเกลือเข้าถึงตัวปลา แต่ชาวอีสานหลายพื้นที่ออกเสียงอักษร ร, ล กับอักษร ด กลับกัน ทำให้ปลาแหลกกลายเป็นปลาแดก ดังนั้น คำว่า แดก ในภาษาอีสานไม่ใช่คำที่ไม่สุภาพ นอกจา
เดิมชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นฐานที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า “ลือแจง” ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่า คุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพ หรือถูกกวาดต้อนออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม (เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย) ในชุมชนไทลื้อมีการปลูกเครือหมาน้อยเพื่อทำวุ้นเครือหมาน้อย โดยชาวไทลื้อเรียกว่า แองแทะ เพื่อนำไปทำเป็นอาหารหวานและอาหารคาว มีสรรพคุณเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ส่วนคนไทยเลยยังใช้น้ำคั้นจากรากและใบของเครือหมาน้อยใส่ในแกงหน่อไม้แทนใบย่านาง ปัจจุบัน กลุ่
ที่บ้านน้อยจอมศรี อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจาก “เขื่อนน้ำอูน” สำหรับทำการเกษตร ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางไปจังหวัดสกลนคร จะพบพื้นที่เขียวชะอุ่มไปด้วยข้าวนาปรัง พืชฤดูแล้ง ตลอดจนบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบ ห่างตัวเมืองสกลนคร ประมาณ 12 กิโลกรัม มีหมู่บ้านเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเมืองสกลนคร คือ บ้านน้อยจอมศรี ต.ฮางโฮง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย อาทิ กลุ่มทำหมอนขิด กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงกบ โดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร กว่า 10 ราย คุณรัตนา ศรีบุรมย์ และคุณกมลชัย ศรีบุรมย์ อยู่บ้านเลขที่ 218 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สองสามีภรรยา เป็นหนึ่งในกลุ่มเลี้ยงกบ ที่กบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ กว่า 3,000 ตัว โดยคุณรัตนา เล่าว่า ก่อนเลี้ยงกบเป็นอาชีพ ได้ทำนาและทำไร่มาก่อน รวมทั้งเป็นลูกจ้างกรรมกรในตัวเมือง “นอกจากทำนาปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านแห่งนี้ยังมีอาชีพเสริมคือการการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้งเลี้ยงสัตว์ และบางส่วนเลี้ยงกบ ขายพันธุ์กบเป็นส่วนน้อย เน้นขายตัวอ่อนของกบหรือฮวก (ลูกอ๊อด) เ
ดร.บุญร่วม คำจันทราช เกษตรจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยหน.กลุ่มฝ่ายฯพร้อมจนท.ประชุมตามระบบส่งเสริมการเกษตรT&V System เพื่อรายงานผล-แผนการปฏิบัติราชการ และฟังการประชุมถ่ายทอดระบบVDO Conference การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 38 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ โดยการเยียวยาและให้การช่วยเหลือในระยะยาวการผู้ที่ประสบภัย มีหน.กลุ่ม/ฝ่ายฯเข้าประชุม 20 คน และมอบเงินให้นายสุจินต์ มูลแอด และครอบครัว ซึ่งเป็นขรก.สนง.กษจ.สน.ที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลสกลนคร..โดยรับเงินบริจาคของเกษตรอำเภอ 18 อำเภอ และเกษตรจังหวัด หน.กลุ่ม ฝ่ายไปในส่วนแรกก่อน..โดยทำพิธีมอบที่ห้องประชุมสนง.กษจ.สกลนคร
วงศ์สถิตย์-บุปผา โมราษฎร์ อดีตข้าราชการครูลาออก วางชอล์กและไม้เรียว หันมาทำธุรกิจหวังรวย สุดท้าย ล้มเหลว ถูกยึดทรัพย์ จากชีวิตที่แทบหมดตัวหันมาทำเศรษฐกิจแบบพอเพียง สามารถมีทรัพย์สินส่งลูกเรียนหนังสือจนประสบผลสำเร็จได้ มีโอกาสพบกับ คุณร่มไม้ นวลตา เกษตรจังหวัดสกลนคร คุณร่มไม้ แนะนำว่า มีเกษตรกรรายหนึ่ง อยู่ที่ 148 หมู่ที่ 7 บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร อดีตเป็นข้าราชการครูทั้ง 2 คน สามี-ภรรยา ได้ลาออกจากข้าราชการครู หันมาทำธุรกิจหลายอย่าง แต่สุดท้าย มาเจอพิษเศรษฐกิจฟองสบู่แตก เมื่อประมาณ ปี 2540 ทำให้ล้มเหลวและถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ชีวิตเร่ร่อน ไม่นอนบ้านกว่า 4 ปี สุดท้าย ได้คิดและหันกลับมาทำเกษตรผสมผสานแบบพอเพียง ในผืนดินที่ร้องขอจากผู้ยึดทรัพย์ ให้โอกาสพลิกพื้นแผ่นดิน 43 ไร่ ของตนเอง ปัจจุบันเป็นศูนย์เรียนรู้ งานเกษตรผสมผสาน หมู เห็ด เป็ด ไก่ นา สวน บ้านเซือม ไปไม่ยาก ออกจากตัวจังหวัดสกลนคร มุ่งหน้าไปตามถนนสาย สกลนคร-อุดรธานี ยามหน้าแล้งสองข้างทางมีคลองส่งน้ำจากเขื่อนน้ำอูน ตัดเป็นบางช่วง แต่ไม่มีน้ำในคลอง เนื่องจากเป็นช่วงงดปล่อยน้ำ ทำให้พื้นที่แห้งแล้ง เห็นนาป