สตรอเบอรี่80
ช่วงนี้ใครไปแอ่วเมืองเหนือ ย่อมจะได้ลิ้มชิมรสสตรอเบอรี่ที่มีวางขายอยู่ทั่วไปตามเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญของหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เชียงราย หรือแม่ฮ่องสอน ฯลฯ โดยเฉพาะบนดอยต่างๆ อย่างถ้าใครขึ้นไปดอยอ่างข่าง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะผ่านบ้านปางควาย ที่นี่ก็มีเกษตรกรหลายรายที่ปลูกสตรอเบอรี่ คุณธนพร พัฒนาวรกุล ก็เป็นเกษตรกรอีกรายที่ปลูกผลไม้ลูกสีแดงนี้ด้วย ในเนื้อที่ 3 ไร่ ชื่อไร่ชลธาร โดยมีหน้าร้านขายอยู่ติดกับตัวไร่ นอกจากลูกค้าจะได้ซื้อสตรอเบอรี่จากไร่สดๆ กันแล้ว ยังสามารถเข้าไปชมสวนและถ่ายรูปกันได้อย่างสนุกสนาน เน้นพันธุ์พระราชทาน 80 ทั้งนี้ ก่อนที่จะมาปลูกสตรอเบอรี่ คุณธนพรเคยปลูกลิ้นจี่และส้มมาก่อน แต่ช่วงหลังอากาศแปรปรวน ส้มมีปัญหาเลยโค่นทิ้ง แล้วหันมาปลูกสตรอเบอรี่แทน เพราะทางโรงงานหลวงที่ฝางส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำและยังรับซื้อผลผลิตอีกด้วย เจ้าของไร่ชลธาร วัยกว่า 40 ปี เล่าให้ฟังว่า ปลูกสตรอเบอรี่มา 4 ปีแล้ว ทั้งพันธุ์พระราชทาน 80 และมีอีกพันธุ์คือ พันธุ์ 329 แต่จะเน้นปลูกพันธุ์พระราชทาน 80 มากกว่า เพราะเป็นที่นิยมของลูกค้าที่ชอบรสชาติหวาน ไม่เปรี้ยว ผลผลิ
เวลานี้หลายจังหวัดในบ้านเราไม่ใช่เฉพาะภาคเหนือเท่านั้นที่มีการปลูกสตรอว์เบอร์รี่กัน ภาคอีสาน ภาคกลางก็ปลูก อย่างที่ปากช่อง เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ อุดรธานี และกาญจนบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อการท่องเที่ยวเสียมากกว่า โดยนำไหลที่ใช้ปลูกมาจากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย เรียกว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่ทำเงินจริงๆ แต่เชื่อว่าบางคนคงไม่เคยรู้มาก่อนว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสายพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ในเมืองไทย กระทั่งมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน วันก่อนทาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เชิญไปเยี่ยมชมโครงการงานวิจัย “การปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตแอนโทไซยานินและการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” ที่มี ผศ.พีระศักดิ์ ฉายประสาท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง สกว. และมูลนิธิโครงการหลวง โดยมีแปลงทดล