สถานการณ์ข้าว
การส่งออกข้าวของประเทศไทยในปี 2561 ได้เกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเดือดโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ส่งออกข้าวหน้าใหม่ที่พัฒนามาจาก”โรงสีข้าว” สามารถ คว้ายอดส่งออกข้าวไปเกือบล้านตัน ชิงเค้กเจ้าตลาดส่งออกข้าวกับ 3 ทหารเสือ “เอเซีย โกลเด้น ไรซ์-นครหลวงฯ-ธนสรรไรซ์” ที่ครองตลาดส่งออกมาอย่างยาวนาน สำหรับการส่งออกข้าวในปี 2561 ภาพรวมประเทศไทยสามารถส่งออกได้ 11.08 ล้านตันหรือลดลง 5% จากปีก่อนที่ส่งข้าวออกได้ 11.67 ล้านตัน แต่มูลค่าการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 8.3% หรือ 5,619 ล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2560 ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 5,187 ล้านเหรียญ โดยการส่งออกที่ลดลงเป็นผลมาจากตลาดหลักของ “ข้าวเก่า” ซึ่งเป็นสต๊อกของรัฐบาลโดยเฉพาะตลาดแอฟริกาลดลง เนื่องจากรัฐบาลระบายสต๊อกข้าวเก่าหมดแล้วไทยจึงไม่มีข้าวไปแข่ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผู้ส่งออกข้าวของไทยก็มีการแข่งขันราคากันเองอย่างรุนแรง ระหว่างผู้ส่งออกข้าวหน้าใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาจากโรงสีซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น กับผู้ส่งออกข้าวรายเดิม จากข้อมูลการส่งออกข้าวรายบริษัทที่ส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก (ดูตารางประกอบ) จะเห็นว่า ผู้ส่งออกรายเก่าหลายรายมียอดการส่งออกข้าวลดลง ยกตัวอย่าง
จับตาภาคเกษตรไทย ปี 62 ข้าวไปได้สวย- ‘ยาง’ ยังต้องลุ้น – “ภาคเกษตร” อำลาปี 2561 ด้วยอาการสะบักสะบอม ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แต่ภาครัฐยังคงเดินหน้าปฏิรูปภาคการเกษตร ภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น การขับเคลื่อนของภาครัฐ ภายใต้การกุมบังเหียนของ นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปี 2561 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร มีการขยายตัว 4.6% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาขาพืช ขยายตัว 5.4% สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% สาขาประมงขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.0% สาขาบริการด้านการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.0% และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.0% เมื่อเทียบกับปี 2560 ผลผลิตด้านการเกษตรหลายตัวดีขึ้น อาทิ ผลผลิตข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน และเงาะ โดย ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ยางพารา สินค้าปศุสัตว์ที่สำคัญทุกชนิดเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร โคเนื้อ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ สาข
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ข้าวเปลือกในประเทศราคาดีเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะข้าวเปลือกหอมมะลิราคาสูงตันละ 1.7 หมื่นบาท ก็เกรงว่าเกษตรกรจะแห่ปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่จนล้นตลาดและราคาตกลงเหมือนในอดีต ดังนั้น อยากส่งสัญญาณถึงเกษตรกรให้ติดตามสถานการณ์และคำเตือนจากภาครัฐ เพื่อป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นทางการผลิต ทั้งการเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2561 และนาปี 2561/62 ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประเมินว่าฤดูกาลผลิตข้าวนาปรัง 2561 จะมีพื้นที่รวมประมาณ 11 ล้านไร่ และมีผลผลิตข้าวเปลือกรวม 7 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 ที่มีพื้นที่เพาะปลูก 10.4 ล้านไร่ และผลผลิต 6.5 ล้านตัน ขณะที่ประเมินการส่งออกปีนี้ไว้9.5-10 ล้านตันข้าวสาร สำหรับความกังวลกรณีรัฐเตรียมระบายข้าวคงเหลือในสต็อกอีกประมาณ 2 ล้านตัน จะกดดันราคาข้าวนาปรังใหม่ที่จะออกสู่ตลาดในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านั้น ไม่ควรเป็นต้นเหตุให้ราคาข้าวในตลาดตกลง เพราะข้าวในสต็อกที่จะระบายนั้นเป็นข้าวเข้าอุตสาหกรรม ไม่ใช้เป็นการบริโภคทั่วไป โดยสัปดาห์หน้าคณะอนุกรรมการระบายข้าวที่มีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประ
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กล่าวถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในปี 2560 ที่ผ่านมา ว่า ส่งออกได้มาถึง 11.48 ล้านตัน ถือเป็นการส่งออกข้าวที่สูงสุดในประวัติการณ์ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.88% จากปีก่อน รวมมูลค่ากว่า 5,106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะทำให้ไทยสามารถเป็นผู้นำการส่งออกข้าวของโลกได้ ส่วนในปี 2561 นี้ คาดว่าการส่งออกข้าวน่าจะได้ถึง 9.5 ล้านตัน รวมมูลค่า 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีนี้ผลผลิตข้าวมีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากสภาพอากาศ ประกอบกับรัฐได้ระบายข้าวในสต๊อกออกหมดแล้ว ทำให้ลดแรงกดดันด้านราคาได้ นอกจากนี้ ในปีนี้กรมยังมีแผนจะขยายตลาดข้าวไปต่างประเทศ ด้วยการเจรจาเพื่อซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ โดยขณะนี้ ไทยกับรัฐบาลจีนมีสัญญาซื้อขายข้าวกับ COFCO ปริมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งได้ส่งมอบไปแล้วกว่า 4 แสนตัน และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงราคาข้าวงวดที่ 5 ปริมาณ 1 แสนตัน ส่วนของบังคลาเทศนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมการลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวปริมาณ 150,000 ตัน และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ในต้นปีนี้ และการรักษาความสัมพันธ์ทางการค้าเพื่อรักษาตลาดเดิมและเพิ่
“พาณิชย์” เคาะขายข้าวนึ่งจีทูจีให้บังคลาเทศ 150,000 ตัน 69.75 ล้านเหรียญสหรัฐ จัดสรรผู้ส่งออกส่งมอบ-ก.เกษตรฯ ประชุมระดมสมองรับมือผลผลิตข้าวนาปี 6 พ.ย .นี้ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า บังคลาเทศได้เจรจาซื้อขายข้าวนึ่ง 5% แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (GtoG) จำนวน 150,000 ตัน มูลค่า 69.75 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจากปัจจัยดังกล่าวก็มั่นใจว่าราคาข้าวปีนี้จะดีขึ้น และทำให้การส่งออกทั้งปีทำได้ถึง11 ล้านตัน แม้ว่าหลายพื้นที่จะประสบปัญหาน้ำท่วม แต่พื้นที่นาดอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้ผลดี โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ประกอบกับการที่ภาครัฐมีโครงการสินเชื่อชะลอการขายให้กับชาวนา และโครงการประกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติก็จะบรรเทาความเสียหายให้กับชาวนาที่ได้รับผลกระทบได้มาก รายงานข่าวระบุว่า เมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศทำสัญญาขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (GtoG) ให้กับรัฐบาลบังคลาเทศ โดยกำหนดราคาพร้อมค่าส่งมอบถึงโกดังภายในประเทศ (ซีแอนด์เอฟ) ตันละ 465 เหรียญสหรัฐฯ โดยหลังจากนี้กระทรวงจะจัดสรรให้ผู้ส่งออกที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เริ่มดำเนินการส่งมอบในเดือนนี้ นาย
ฉบับที่แล้ว เราได้ไปดูการพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพดีที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งเป็นดินเค็มที่จังหวัดซ็อคตรัง ฉบับนี้ผมจะพาท่านไปพบกับการพัฒนาพันธุ์ข้าวและเทคโนโลยีการทำนาแบบลดต้นทุนการผลิตแบบง่ายๆ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เวียดนาม คณะของเราได้เดินทางไปดูงานการพัฒนาและผลิตพันธุ์ข้าว ของ บริษัท ล็อค เจ่ย กรุ๊ป (Loc Troi Group Jiont Stock Company) หรือ บริษัท อันยาง อารักขาพืช (An Giang Plant Protection Joint Stock Company) เดิม ที่จังหวัดอันยาง ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยือง วัน จิ๋น (Assoc. Prof. Dr. Duong Van Chin) เพื่อนเก่าแก่กว่า 15 ปี อดีตรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง (Cuu Long Delta Rice Research Institute) ปัจจุบันท่านเกษียณราชการแล้ว และมาปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเกษตรดิ่นห์ ถั่นห์ บริษัท ล็อค เจ่ย กรุ๊ป จังหวัดอันยาง ได้ให้การต้อนรับ บรรยายสรุปและนำคณะดูงานการวิจัย ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี และการวิจัยพัฒนารูปแบบการทำนาเพื่อลดต้นทุนการผลิต ดร. จิ๋น กล่าวว่า ปัจจุบัน ล็อค เจ่ย กรุ๊ป มีพื้นที่ผลิตขยาย และแปลงทดลองพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ของบริ
แม่ฮ่องสอน – นายพิศิษฐ์ บุญกิจอนันต์ นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เผยว่า จากกรณีที่ราษฎรชนเผ่าในพื้นที่อำเภอเมือง รับผลกระทบอย่างหนักจากผลผลิตข้าวที่ตกต่ำ เก็บเกี่ยวข้าวไร่ได้ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดทางอำเภอได้สั่งการให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายเพื่อหาแนวทางในการให้การช่วยเหลือ ซึ่งในเบื้องต้นอาจจะมีการจัดซื้อข้าวเปลือกทดแทนให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยดังกล่าวแล้ว ด้าน นายสุทธิพันธ์ เครือสุข ปลัดอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ที่บ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยผา เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงแดง พบว่า ผลผลิตที่ตกต่ำหลังจากการตีข้าวเมล็ดข้าวลีบ และปริมาณเมล็ดข้าวน้อยกว่าทุกปี แต่ไม่เกี่ยวข้องกับข้าวในนาซึ่งให้ผลผลิตตามปกติ และปัจจุบันมีราษฎรปลูกข้าวไร่ไม่เกิน 20 ครัวเรือน แต่ผลผลิตข้าวในนาปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ข้าวไร่อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น น้ำน้อย ติดโรค หรือความชื้น และข้าวไร่นั้นปลูกบนดอย ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ทำกิน ส่งผลให้ชาวบ้านบางส่วนไม่กล้าแจ้งร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ ขอบคุณข้อมูลจากข่าวสด
ต้องยอมรับว่า “ถ้อยแถลง” อันมาจาก พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินไปในแบบ “ย้อนแย้ง” “นักการเมืองรวมทั้งสื่อมวลชนบางกลุ่มพยายามใช้ความเดือดร้อนของประชาชนสร้างกระแสความเข้าใจผิด สร้างข้อมูลเท็จโดยไม่มีการตรวจสอบ “ถือเป็นการทำร้าย ซ้ำเติมสังคมในช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีความ ทุกข์ใจอยู่แล้ว” เหมือนกับเป็น “ความหงุดหงิด” เหมือนกับ“ไม่พอใจ” กระนั้น หากติดตาม “ถ้อยแถลง”ต่อไป “ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีมาตรการหลายอย่างเพื่อสนับสนุนพี่น้องชาวนา และในวันที่ 31 ตุลาคม จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว “เชื่อว่าจะมีมาตรการดูแลพี่น้องเกษตรกรเพิ่มเติมออกมาอีก ขอให้รอฟังผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการต่อไป” เป็นความหงุดหงิด แต่ก็มี”มาตรการดูแล” ลักษณะ”ย้อนแย้ง”เช่นนี้ “สะท้อน”และสำแดง”นัยยะ”อะไรในทางการเมือง คำตอบอันมาจาก 1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานเข้ากับ 1 กระทรวงพาณิชย์ แจ่มชัดใน “มาตรการ” นั่นก็คือ มาตรการที่มีความเห็น”ร่วม”ในการดำเนินโครงการ“จำนำยุ้งฉาง” กำหนดราคาเอาไว้ที่ตันละ 11,000 บาท เมื่อนำเอา “ถ้อยแถลง”ของ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ผนวกเข้ากับโครงการ”จ