สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน
มาตรฐาน ‘RSPO’ ยกระดับผู้ผลิตปาล์มน้ำมันไทยสู่มาตรฐานสากล ตอกย้ำเกษตรกรสวนปาล์มกว่า 5 ล้านไร่ สร้างผลผลิตที่ยั่งยืน น้ำมันปาล์มเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวันทั้งอุปโภคและบริโภค ดังนั้น การผลิตน้ำมันปาล์มให้เกิด ‘ความยั่งยืน’ จึงเป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก และในประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งน้ำมันปาล์มเป็นพืชน้ำมันที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลก โดยประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เอง และปลูกปาล์มมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ในการปลูกปาล์มมากกว่า 5 ล้านไร่ ทั้งยังมีแนวโน้มในการใช้น้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศสูงขึ้นทุกปี สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากเราจะใช้ในการบริโภคในชีวิตประจำวันแล้ว ยังนำไปใช้ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องสำอาง และต่อยอดไปอีกในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ เรียกได้ว่า ตื่นเช้ามาทุกคนจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์ม ตั้งแต่สบู่ ยาสีฟัน แชมพู และเครื่องสำอางที่ใช้ทุกวัน หรือขนมขบเคี้ยวและของทอด ก็อาจมีน้ำมันปาล์มเป็นส่วนหนึ่งในนั้น ยังไม่นับการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอีกหลายอย่าง ไม่ว่
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า เนื่องจากสภาวะอากาศเอื้ออำนวย ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันในปี 2560-2561 มีมากขึ้นและออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค.) ของปี 2560 ในขณะที่ความต้องการใช้ยังคงทรงตัว ส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนมี.ค.61 มีสต็อกน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือสูงกว่าระดับสต็อกที่เหมาะสมซึ่งส่งผลให้ราคาผลปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องไปถึงไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) จากสถานการณ์ดังกล่าวคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ในคราวประชุมวันที่ 11 พ.ค.61 มีมติเห็นชอบมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยเร่งผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบจำนวน 300,000 ตัน ภายในระยะเวลา 5 เดือน (จนถึง 31 ต.ค.61) เพื่อลดสต็อกน้ำมันปาล์มให้เข้าสู่ระดับปกติ และช่วยรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ตามที่คณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มด้านการตลาดเสนอ ซึ่งจะได้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติใช้งบประมาณจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจ
กนป. ระบุ ปี 2561 น้ำมันปาล์มดิบรวม 3.15 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้ภายในประเทศอยู่ที่ 2.34 ล้านตัน สูงกว่าระดับสต็อกที่เหมาะสมอยู่ 0.56 ล้านตัน ย้ำ ต้องผลักดันส่งออกอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาราคาให้มีเสถียรภาพเป็นธรรมทั้งระบบ ด้าน สศก. เตรียมสรุปรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป.ชุดใหม่ ที่หมดวาระลงภายใน 26 มีนาคมนี้ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ถึงผลการประชุม กนป. ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ที่ประชุมได้มีมติรับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม โดยในปี 2561 มีผลผลิตปาล์มน้ำมัน 15.18 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 14.24 ล้านตัน ในปี 2560 หรือร้อยละ 7 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมารายได้จากการปลูกปาล์มสูงกว่าพืชทางเลือกอื่น ส่งผลให้เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตต่อไร่ เฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 2.67 ล้านตัน