สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น พื้นที่ทำการเกษตรที่เคยอุดมสมบูรณ์ต่างประสบปัญหาภัยแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำ ชะงักการเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลงกว่าเดิม ในสภาวะที่โลกเข้าสู่วิกฤตโลกร้อน “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตร นับว่าเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาน้ำไม่เพียงพอให้แก่เกษตรกร สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มาใช้แก้วิกฤตขาดน้ำทำเกษตร โดยนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ผนวกกับแนวคิด พลังงานทดแทน ระบบเกษตรอัจฉริยะ การให้น้ำตามความต้องการของพืช และคาร์บอนเครดิต จนประสบความสำเร็จในการประยุกต์เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เข้ามาใช้ในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ เช่น ระบบให้น้ำทุเรียนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเรือนผักพรางแสงอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยให้ใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต และยังช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย เทคโนโลยีการให้น้ำแบบแม่นยำ สำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
“มันสำปะหลัง” เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจทำเงินที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง 8.9 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 20.9 ล้านตัน ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อันดับ 1 ของโลก มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท แรงจูงใจสำคัญที่เกษตรกรนิยมปลูกพืชชนิดนี้กันอย่างแพร่หลายก็คือ มันสําปะหลัง ปลูกได้ตลอดทั้งปี ทนแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ในแหล่งดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่จํากัดเวลาการเก็บเกี่ยว เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีแรงงานพอ และทิ้งไว้ในแปลง รอเก็บผลผลิตออกขายในราคาที่ต้องการได้ ในอดีต เกษตรกรไทยจำนวนมากปลูกมันสำปะหลังแบบให้เทวดาเลี้ยง ทำให้ได้ผลผลิตน้อย คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับแหล่งปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เป็นกลุ่มดินร่วนปนทราย (ดินชุดโคราช ชุดวาริน ชุดยโสธร ชุดห้วยโป่ง ชุดมาบบอน) และกลุ่มดินทราย (ดินชุดสัตหีบ ชุดพัทยา และชุดน้ำพอง) ซึ่งสภาพดินดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และง่ายต่อการชะล้างพังทลาย หากปลูกมันสําปะหลังต่อเนื่องกันนานๆ หลายฤดู โดยขาดการใส่ปุ๋ยชดเชยการสูญเสียธาตุอาหาร ทําให้ผลผลิตของมันสําปะหลังลดต่ำลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินร่วนปนทราย มีผล
“ประเทศไทย” ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารชั้นนำของโลก แต่เกษตรกรไทยกลับมีหนี้สินจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมุ่งสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศ โดยเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจาก “ผัก” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญและเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมสูง แต่การผลิตผักให้มีคุณภาพดี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผักทุกชนิดอ่อนไหวต่อโรคและแมลง เกษตรกรจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รวมไปถึงยาฮอร์โมนเร่งโตหรือปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชผัก ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง และหากเกษตรกรบริหารจัดการผลผลิตได้ไม่ดี ผู้บริโภคก็เสี่ยงเจอปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักที่ซื้อมาทำอาหาร ทั้งมอบหมายให้ 22 หน่วยงาน ในสังกัดทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมการพัฒนาเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ ตลอดจนส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศเกษตร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญคือ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต ไม่ต่ำกว่า 60% ตามยุทธศาสต
ในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันนั้น จะมีทั้งที่เป็นปาล์มทะลาย และผลปาล์มร่วงอยู่ในสวน การที่ผลปาล์มน้ำมันร่วงมีหลายสาเหตุด้วยกัน เมื่อปาล์มมีการสังเคราะห์น้ำมันในชั้นเปลือกถึงจุดสูงสุด ผลปาล์มก็จะร่วงลงมา ทะลายปาล์มสุกหนึ่งทะลายต้องมีผลปาล์มร่วงอย่างน้อย 10 ลูก และทะลายปาล์มกึ่งสุกจะมีผลปาล์มร่วง 1-9 ลูก ต่อทะลาย นอกจากนั้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลปาล์มร่วงได้ เนื่องจากปาล์มผ่านการพัฒนาในช่วงแล้งมานาน และมีฝนตกลงมากะทันหัน หรือตกลงมาในปริมาณมาก ส่งผลให้เซลล์ขั้วผลขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลปาล์มร่วงหล่นจากขั้วทันที ทั้งๆ ที่ผลปาล์มเพิ่งอยู่ในภาวะสะสมน้ำมัน คุณวิชนีย์ ออมทรัพย์สิน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ผลผลิตปาล์ม เฉลี่ยประมาณ 3,000 กิโลกรัม ต่อไร่ หากน้ำหนักทะลายเฉลี่ย 15 กิโลกรัม จะมีจำนวน 200 ทะลาย ต่อไร่ ต่อปี หากเกษตรกรตัดทะลายปาล์มสุกทั้งหมด จะมีผลปาล์มร่วงเฉลี่ย 10-15 ลูก ต่อทะลาย หรือประมาณ 2,000-3,000 ผล ต่อไร่ ต่อปี ถ้าคิดเป็นน้ำ
การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ในพื้นที่ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง หรืออ้อย ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ส่งผลให้ชั้นดินมีลักษณะแน่นทึบและแข็งมากขึ้น เนื้อดินมีช่องว่างสำหรับน้ำและอากาศน้อย มีโอกาสทำให้เกิดชั้นดินดานสูง ซึ่งเป็นปัญหาต่อการปลูกพืช โดยช่วงฤดูฝนเมื่อมีฝนตกลงมา น้ำจะซึมลงไปในดินชั้นล่างไม่ได้ ขณะเดียวกันในหน้าแล้งดินดานจะกั้นไม่ให้ความชื้นที่อยู่ข้างล่างขึ้นมาถึงรากพืช อาจทำให้พืชขาดน้ำและตายได้ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องไถระเบิดดินดาน แต่ปัจจุบันค่าจ้างในการไถระเบิดดินดานมีราคาค่อนข้างสูง และยังขาดเครื่องมือไถระเบิดดินดานที่มีประสิทธิภาพด้วย จากปัญหาดังกล่าว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร จึงได้วิจัยและพัฒนา “ไถระเบิดดินดานสำหรับติดพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง” ขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณยุทธนา เครือหาญชาญพงค์ วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การไถระเบิดดินดานนับว่ามีความจำเป็นต่อการปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งหลักของการไถระเบิดดินดานคือ ไถต้องจิ