สถาบันเกษตรกร
“รมช.มนัญญา” เปิดงาน Kick Off โครงการส่งเสริมการผลิตฟ้าทะลายโจรในสถาบันเกษตรกร จ.ขอนแก่น เร่งขยายพื้นที่ปลูกฟ้าทะลายโจร พร้อมแจกพันธุ์กล้าฟ้าทะลายโจร เพื่อเร่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 18 กันยายน2564 รมช.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน Kick Off โครงการส่งเสริมการผลิตฟ้าทะลายโจรในสถาบันเกษตรกร ณ บ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นางวันเพ็ญ เศรษฐรักษา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นางสาวปารีณา ซักเซ็ค คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายกฤษฎา ซักเซ็ค สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุทัยธานี เขต1 โดยมีนายองอาจ ฉัตรชัยพลรัตน์ โฆษกประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพิทักษ์ชน ช่างเหลา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เขต 7 ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดขอนแก่น ให้การต้อนรับ ยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายการขยายพื้นที่ปลูกฟ้าทะลายโจร เพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบในกระบวน
จากผลการประเมินรางวัลเลิศรัฐฯ สาขาบริการภาครัฐและสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2564 ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการหรือสำนักงาน ก.พ.ร. จัดขึ้น มีหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลงานเข้าประกวดในแต่ละสาขาหลายร้อยผลงาน และทางสำนักงานกพร.ได้ประกาศผลรางวัลในระดับดีเด่นรางวัลระดับดี ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับรางวัลผ่านระบบออนไลน์จากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ในส่วนของกรมส่งเสริมสหกรณ์นั้นคว้ารางวัลเลิศรัฐทั้งสาขาบริการภาครัฐและสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ทั้งหมด 5 ผลงาน ประกอบด้วยรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดีเด่น ได้แก่ “โครงการสร้างรายได้ ขายผลผลิต พิชิตหนี้สมาชิกสหกรณ์” ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำปาง รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดีเด่น ได้แก่ “โครงการวิถีแก้จนของคนสหกรณ์บ้านหนองบัว” ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดี จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ “โครงการส่งเสริมเล
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมตัวแทนสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร ที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมยางพารา ปาล์มน้ำมัน โคนม และโคเนื้อ เกือบ 2,000 คน ชี้แจงนโยบายประกันรายได้และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบายรัฐบาล หวังใช้กลไกสหกรณ์ขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้บรรลุเป้าหมาย ช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรทั่วประเทศ (วันนี้ 13 กันยายน 2562) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการ “การสร้างการรับรู้นโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลผ่านสถาบันเกษตรกร” และปาฐกถาพิเศษ “ภาพรวมนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล” โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้นำสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินธุรกิจด้านยางพารา ปาล์มน้ำมัน โคนม และโคเนื้อ เกือบ 2,000 คน เข้าร่วมรับฟังเพื่อสร้างการรับรู้นโยบายด้านการเกษตรส่งผ่านสถาบันเกษตรกร โดยมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ และ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมชี้แจงนโยบายด้านการเกษตรภายใต้ภารกิจของหน่วยงานที่กำกับดูแลด้วย ณ อาคารอิมแพคฟอรั่ม ชั้น 2 ห้องประชุมแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเ
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดประชุมสัมมนาการจัดทำแผนธุรกิจสำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมความพร้อมทำธุรกิจร่วมกันระหว่าง กยท. กับสถาบันเกษตรชาวสวนยาง เพื่อขับเคลื่อนตลาดยางพาราในประเทศให้เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมสัมมนาในพื้นที่เขตภาคใต้ครั้งนี้ เป้าหมายหลักคือการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการดำเนินธุรกิจระหว่าง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อร่วมกันพัฒนาและให้องค์ความรู้เรื่องการจัดทำแผนธุรกิจ ในเบื้องต้น กยท.จังหวัด กยท.สาขา จะทำการสำรวจปริมาณผลผลิตยางในพื้นที่ว่ามียางประเภทใด ปริมาณเท่าไร โกดังที่มีอยู่มีความพร้อมในการจัดเก็บสินค้าหรือไม่ เพื่อเตรียมการหากมีความจำเป็นต้องจัดเก็บยางที่ออกมาในช่วงฤดูฝนเพื่อขายในช่วงฤดูแล้งต่อไป จากนั้นจะนำปริมาณผลผลิตที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาด กยท.ในพื้นที่จะทำหน้าที่ประสานงานกับโรงงานเอกชนเพื่อตกลงราคา และทำสัญญาการซื้อขาย
โครงการไทยนิยม ยั่งยืน สัมฤทธิ์ผล หลังรัฐบาลอุดหนุนงบกลางปี 2561ให้สถาบันเกษตรกร วงเงิน 1,786.781 ล้านบาท สร้างโกดัง ฉาง ลานตาก และจัดซื้ออุปกรณ์รวบรวมและแปรรูปผลผลิตการเกษตร ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 700,000 ตันต่อปี ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จทันรองรับผลผลิตในฤดูกาลปีนี้ สหกรณ์ใช้ประโยชน์เก็บชะลอและดูดซับสินค้าเกษตร ทั้งข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ไม่ให้ทะลักล้นตลาด พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้แปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพและราคาผลผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบกลางปี 2561 วงเงิน 1,786.781 ล้านบาท อุดหนุนให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อนำไปสร้างอุปกรณ์การตลาด พร้อมเครื่องมือในการรวบรวมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1. โครงการจัดเก็บพืชผลทางการเกษตร หรือแก้มลิง วงเงิน 1,074.98 ล้านบาท ใช้ก่อสร้างโกดัง ฉาง ลานตาก ไซโลและเครื่องอบลดความชื้น รวบรวมผลผลิตไม่น้อยกว่า 700,000 ตันต่อปี 2. โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร วงเงิน 415.441 ล้านบาท ใช้สร้างอุปกรณ
กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจับมือ ธ.ก.ส. ปล่อยแคมเปญสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ดันยอดผลิต ‘ปุ๋ยสั่งตัด’ ผ่านสถาบันเกษตรกร หวังลดต้นทุนให้เกษตรกรพร้อมแก้วิกฤตธาตุอาหารในดินต่ำ ส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพที่ลดลง นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมระบบการผลิตปุ๋ยสั่งตัด ของสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี ณ โรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรเมืองสุพรรณบุรี จำกัด ต.ดอนกำยาน อ.เมืองสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี ว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้และสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิตและใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารพืชเหมาะสมตามค่าการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินในแต่ละพื้นที่ หรือที่เรียกว่า “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยถูกชนิดและถูกปริมาณ ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยจึงสูงขึ้น สามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้ โดยปัจจุบันมีสถาบันเกษตรกรที่สามารถผลิตและดำเนินการจัดทำปุ๋ยสั่งตัดเพื่อบริการให้กับสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปได้ ประมาณ 100 แห่ง มีกำลังการผลิตอยู่ประมาณ 20,000 ตัน ต่อปี แต่ยังมีหลายสถาบันเกษตรกรที่ยังมีความต้องการผลิต และจำหน่ายปุ๋ยสั่งตัดให้กับสมาชิกอีกมาก ซึ่งมีข้อจำ
การยางแห่งประเทศ เปิดรับสมัครเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประจำปี 2561 จัดอบรม 2 หลักสูตร เน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง โดยนำนวัตกรรมการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมาถ่ายทอดแก่ผู้เข้าอบรม เพื่อเพิ่มรายได้และทางเลือกในการประกอบอาชีพ นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กล่าวว่า กิจกรรมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดขึ้นโดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจตอบรับเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดีมาตลอด เนื่องจากหลักสูตรนี้ เป็นการให้ความรู้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และบุคคลทั่วไปที่สนใจในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมไปต่อยอดในการทำธุรกิจแปรรูปยางเป็นสินค้าจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้เข้าอบรมและกลุ่มสถาบันเกษตรกร ทั้งนี้ ยังสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาและส่งเสริมการนำผลผลิตยางที่มีในประเทศมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่หลากหลาย กระตุ้นให้เกิดการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้น นางณพรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประจำปี 2561 นี้ จัด